เป็นประโยคที่ผมได้ยินจนชิน เวลาคนไข้มาขอซื้อยานี้
เรียกว่าแก้อักเสบ เอาสะไม่เกรงใจคุณหมอ Alexander Fleming ผู้ค้นพบเลย 555+ ....
.
มา ! วันนี้ ผมจะเล่าให้ฟังสนุก เกี่ยวกับ ไอ้เจ้า เม็ดฟ้าๆเขียวๆนี่แหละ ที่ชอบซื้อกิน ติดบ้านไว้หน่อย ให้ฟังกัน ว่า มันไม่ควรกินพร่ำเพื่อนะ . . . ถ้าได้รู้ว่า มันสกัด(isolate) แยกมาจากเชื้อรา ! .... ใช่แล้ว มันคือส่วนหนึ่งของเชื้อรา !!
. . .
มาดู time line ของมันกันก่อนนะครับ
ผมเล่าง่ายๆเลย
. . .
#ยาฆ่าเชื้อ #Antibiotics #BacteriaKiller #penicilin
Time line ความเป็นมา ...
.
ประมาณปี ค.ศ. 1928-1929.
Alexander Fleming นายแพทย์ชาวสก๊อต สังเกตเห็นบริเวณใส (clear zone) รอบๆ โคโลนี(บริเวณเติบโต)ของเชื้อรา Penicillium notatum ที่ปนเปื้อนบนจานเลี้ยงเชื้อแบคทีเรีย Staphylococcus sp. ((สรุปเห็นโดยบังเอิญซะงั้น !))
.
เมื่อนำมาศึกษาพบว่ามีฤทธิ์ยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรีย......ว่าง่ายๆคือ ตรงไหนมีเชื้อรา Penicillium notatum โต ตรงนั้นจะไม่มีเชื้อแบคทีเรีย Stapp.
_ _ _ _
เพิ่มเติมนะ : Staphylococcus sp. เป็นเชื้อแบคทีเรีย ที่อยู่บนผิวหนังมนุษย์ครับ ถ้าเรามีแผล และ ดูแลไม่ดี มันจะติดเชื้อตัวนี้ได้ครับ
.
ต่อมา
.
ปี 1930.
(ช่วงนั้น เริ่มมีสัญญาณตึงเครียดของการเกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 แล้วนะครับ)
Ernst Boris Chain และ Howard Walter Florey สองนักวิทย์ ของ มหาวิทยาลัยอ๊อกฟอร์ด นำงานวิจัยของ เฟรมมิ่ง มาวิจัยต่อยอด สามารถ แยก Isolate เอาเฉพาะส่วนที่ยับยั้งการเติบโต ของแบคทีเรีย ที่อยู่ในเชื้อราออกมาได้ ทำให้ เราได้มี ยาฆ่าเชื้อ ตัวแรกของโลก สำคัญ นั่นคือ ยากลุ่ม "เพน-นิ-ซิ-ลีน" Penicillin.
.
ต่อมา า
.
การค้นพบดังกล่าว ส่งผลให้ทั้ง 3 คน
Alexander Fleming
Ernst Boris Chai
Howard Walter Florey
ได้รับรางวัลโนเบลสาขา Medicine and physiology ในปี ค.ศ. 1945.
. . . . . . . . . . .
การค้นพบยิ่งใหญ่นี้ มาได้ตรงจังหวะพอดี๊ พอดี .... ช่วงนั้น เกิดสงครามโลกคร้งที่ 2 พอดี ทำให้ ยาฆ่าเชื้อที่พบนั้น ช่วยชีวิต ผู้ได้รับบาดเจ็บน้อยลงกว่าสงครามโลกครั้งที่ 1 มากเนื่องจากนำ Penicillin ที่ได้ไปใช้ในการรักษาบาดแผลและนำไปรักษาปอดบวมทำให้อัตราการเสียชีวิตจากโรคปอดบวมในสงครามโลกครั้งที่ 2 ลดลงเหลือ 1%
(อัตราการเสียชีวิตจากโรคปอดบวมในสงครามโลกครั้งที่ 1 18%)
. . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . .
หากจะเปรียบเทียบการทำงาน กลไกของยาฆ่าเชื้อกลุ่มนี้ ... ก็คงเหมือนสำนวนไทยที่ว่า *หนามยอก เอาหนามบ่ง*
. . . อารมณ์ประมาณว่า ติดเชื้อมาใช้ไหม?! ได้ !! ก็เอาเชื้อไปฆ่าสิ !!! 5555+ เห็นภาพเลย
. . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . .
ผมจะขออธิบาย โดยเอาโครงสร้างหลักของยา มาเล่าง่ายๆ นะครับ . . . .อันดับแรก ต้องเข้าใจก่อนนะ ว่า ยาก็คือ เคมีประดิษฐ์ อยากได้ฤทธิ์อะไร? ยังไง? แบบไหน? สร้างสรรค์ได้หมด ตามวิทยาการไปถึง (^,^)
.
ยากลุ่มนี้ เริ่มแรก เดิมที ไม่ทนต่อสภาวะกรด ในกระเพาะอาหาร จึงออกมาเป็น ยาฉีด อย่างเดียว นั่นคือ Penicillin G ... ปัจจุบันนี้ ก็ยังมีข้อบ่งใช้อยู่นะ หลายโรคเลย เช่น ซิฟิลิส เป็นต้น . . . . ตรงโครงสร้างยา ข้างซ้ายสุด นั่นคือ Benzyl gr.(วงหกเหลี่ยม นั่นละครับ) ตรงนี้แหละ ที่ไม่ทนต่อกรด จึงทำออกเป็นยาฉีด
.
..
...ต่อมา
..
.
มีการพัฒนาต่อยอด ตัดเปลี่ยนแปลงโครงสร้างด้านซ้ายให้ทนต่อกรดได้มากขึ้น โดยทำเป็น Phenoxyl gr.(เป็น e-withdrawing gr. ตัวยาคงทนต่อกรดมากกว่า Pen G
สามารถให้โดยการกินได้) เลยกลายเป็นยา Penicillin V ในที่สุด
. . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . .
แต่ ไม่ว่าจะเป็น ทนกรด หรือ ไม่ทนกรด ตัวยาทั้งสอง ก็มีโอกาสดื้อยาสูงมาก เพราะ โครงสร้างยา ไม่ทนต่อ น้ำย่อยยา (Penicillinase) เนื่องจากเชื้อแบคทีเรียสามารถสร้าง น้ำย่อยมาทำลายยา ในตำแหน่ง amide bond ใน β-lactam ringได้
.
(β-lactam ring เป็นป้อมปืนใหญ่ พื้นที่สีเหลืองๆ ที่ผมไฮไลท์ไว้ ตรงนี้ สำคัญมาก เพราะเป็นพื้นที่ออกฤทธิ์ของยา จะโดนทำลายไม่ได้....ถ้าโดนทำลาย จะเกิดดื้อยาทันที)