27 ธ.ค. 2019 เวลา 01:01 • ถ่ายภาพ
[How to] แกะโทน The Witcher แต่งภาพยังไงให้ได้ลุคเหมือนในซีรีย์
[How to] แกะโทน The Witcher แต่งภาพยังไงให้ได้ลุคเหมือนในซีรีย์
ช่วงนี้พวกเรากำลังติดซีรีย์เรื่องหนึ่งอยู่ เป็นซีรีย์ที่ถูกต่อยอดมาจากเกมส์ที่พวกผมเคยเล่นมา ทำให้พวกเราอินกันแบบสุด ๆ ซีรีย์ เรื่องนี้มีชื่อว่า " The Witcher " ถูกฉายอยู่ขณะนี้บนแพลตฟอร์มดูภาพยนต์และซีรีย์ อย่าง Netflix
พอพวกเราดูไปแต่ละ EP. ก็เลยรู้สึกคันไม้คันมือ อยากจะทำภาพโทนเหมือนในซีรีย์บ้าง เลยอยากจะเอามาแบ่งปันกันเผื่อเพื่อนอยากทำโทนแบบนี้บ้าง
ภาพตัวอย่างจากในซีรีย์ The Witcher ที่เราจะเอามาเป็นแบบ
สำหรับภาพที่พวกเราเอามาเป็นตัวอย่างคือภาพนี้เลยครับ อย่างเท่ ! มาดูกันว่าผมจะแกะออกมาได้เหมือนหรือคล้ายแค่ไหน ก่อนเราจะเริ่มแต่งภาพ เรามาวิเคราะห์ แกะโทนกันก่อนครับ
วิเคราะห์ภาพ : ส่วนมืดไม่ดำสนิท ส่วนสว่างไม่ขาวหลุดเกินไป
คนที่เริ่มต้นแกะโทนภาพถ่าย ให้ลองสังเกตส่วนมืด (Shadow) กับ ส่วนสว่าง (Highlight) และ สีที่เป็นโทนกลาง (Mid tone) ซึ่งในภาพตัวอย่างที่เราเอามา ส่วนสว่างให้ลองสังเกตจุดที่แสงตกกระทบ เช่น ใบหน้า แขนผม ว่ามีสีอะไรเจือปนอยู ขาวจริงไหม
ต่อมาเรามาดูส่วนมืด สังเกตจากส่วนที่อยู่ฝั่งตรงข้ามกับส่วนสว่าง มักจะอยู่ใกล้กัน หรือ ถ้าให้เข้าใจง่าย ๆ ก็คือ ส่วนของเงานั่นแหละครับ ซึ่งในภาพก็จะเป็นบริเวณใบหน้าอีกฝั่ง ส่วนของดาบ เงาใต้คางเป็นต้น
หลังจากที่เรารู้จุดแล้ว เราก็มาวิเคราะห์เรื่องของความเข้มของส่วนสว่าง และ ส่วนมืด ถ้าภาษาทางการถ่ายภาพก็จะเรียกว่า ความเปรียบต่างระหว่างส่วนมืด และ ส่วนส่วนสว่าง" Contrast " โดยดูว่า มันเป็น ขาวแบบสุด ๆ หรือ ดำแบบทึบไปเลยมั้ย ซึ่งในภาพจะแบบ Low contrast คือ ไม่ดับทึบ หรือ ขาวสว่างจ้าจนหลุดไม่เห็นรายละเอียดบนสีขาว
วิเคราะห์ภาพ : ส่วนสว่างและส่วนมืด มีสีฟ้าแกมเขียวนิดหน่อย
หลังจากที่เรารู้เรื่องส่วนทืดส่วนสว่างแล้ว เรามาดูสีที่เจือปนกันดีกว่า ซึ่งในภาพตัวอย่าง พวกเราก็วิเคราะห์ว่า มันเป็นสีออกฟ้า ๆ แกมสีเขียวนิดหน่อย ปนอยู่ทั้ง ส่วนมืด และ ส่วนสว่างอยู่
ถ้าหากเพื่อน ๆ คนไหนยังดูสีไม่ออก อันนี้พวกเราแนะนำให้ลองดูภาพเยอะ ๆ ครับ แล้วเราจะดูออดเองว่าภาพนี้มีสีอะไรเจืออยู่ ในส่วนนี้ไม่มีสูตรตายตัว ต้องอาศัยประสบการณ์ล้วน ๆ ครับ แต่ในหลายครั้งคนดูภาพเดียวกันแต่วิเคราะห์สีแตกต่างกันก็มีครับ อันนี้ขึ้นอยู่กับมุมมองเรื่องสี และ การอ่านค่าสีของดวงตาเรา ว่าจะอ่านออกมาแบบไหน
ซึ่งไม่มีผิดถูกนะครับ พวกเราเคยเอาภาพตัวอย่างนี้ไปให้บางคนดู บางคนก็บอกเขียว บางคนก็บอกฟ้า บางคนบอกสีน้ำเงิน เราอาจจะลองเอาสิ่งที่ถาม ๆ คนอื่นนี้มาสรุปวิเคราะห์เป็นข้อสรุปของภาพนี้ได้นะครับ ก็จะทำให้เราวิเคราะห์สีได้แม่นขึ้น
ภาพที่ผมเลือกเอามาเป็นภาพต้นแบบในการแต่งภาพ เครดิตภาพ : Freepik.com
ขั้นตอนการแต่งภาพโทน " The Witcher "
เอาหละ มาเริ่มแต่งภาพของเราเลยดีกว่า ภาพที่พวกเราเอามาคือภาพนี้เลยครับ เป็นผุ้ชายถือดาบเท่ ๆ เหมือนกัน เทคนิคเล็ก ๆ ถ้าหากใครอย่างแต่งภาพให้เหมือนกับโทนที่เราอยากได้
ให้ลองหาภาพที่มีความใกล้เคียงกับสิ่งที่เราวิเคราะห์ภาพมาเป็นภาพตั้งต้นนะครับ จะหาภาพจากอินเทอร์เน็ตมา หรือ จะถ่ายเองก็พยายามหาที่มีส่วนมืดส่วนสว่างใกล้เคียงนะครับ จะทำให้ภาพหลังแต่งออกมาคล้าย และ เหมือนมากขึ้น
Process on Ligtroom : ปรับแต่งภาพในส่วนของ Basic
1.ปรับค่า Basic : Exposure +0.24 , Contrast -80 , Texture +10 , Clarity +20 , Vibrance -10 , Saturate -10
สำหรับการแต่งภาพ พวกเราขอใช้โปรแกรมแต่งภาพที่พวกเราใช้เป็นประจำนะครับ คือ โปรแกรม Lightroom ที่เป็น Desktop mode ครับ ถ้าใครมีโปรแกรม หรือ แอพแต่งภาพอื่น ๆ ก็ใช้ได้เหมือนกันนะครับ โดยพื้นฐานการแต่งภาพก็จะคล้าย ๆ กัน
เริ่มแรกจะเริ่มแต่งในส่วนของ Basic กันก่อน !
ในส่วนความสว่างของภาพ (Exposure) พวกเรา +0.24 เพิ่มความสว่างภาพนิดหน่อย เพราะ จะได้เห็นรายละเอียดภาพในส่วนมืดมากขึ้น
ส่วนของ Contrast -80 เลยเพื่อให้ภาพเป็น Low contrast จะออกซีด ๆ หน่อย ปรับในส่วน Texture ขึ้น +10 , Clarity ขึ้น +20 เพื่อเพิ่มรายละเอียดให้ชัดขึ้น และ สุดท้ายในส่วนนี้ ลด Saturate รวมลง เพราะภาพต้นฉบับออกไปทางซีด ๆ
Process on Ligtroom : ปรับแต่งภาพในส่วนของ Split tone
2. ปรับค่าสีใน Split Tone : Highlight Tone Hue +94 / Saturate 10 , Shadow Tone : Highlight Tone Hue + 180 / Saturate +11 ละ ปรับ Balance -20
ต่อมาเรามาที่ Split tone เพราะสีในภาพส่วนให้เป็นสีฟ้าอมเขียว เราเลยมาเลือกเติมสีฟ้าเพิ่มเข้าไปในส่วนมืด โดยมีค่าสี คือ 180 Saturatr 11 และ เพิ่มสีออกเขียวเหลือง เข้าไปในส่วนสว่างมีค่าสี 94 Saturate 10 ซึ่งก็จะได้โทนสีออกมาตามภาพ
Process on Ligtroom : ปรับแต่งภาพในส่วนของ Tone Curve
3. เพิ่มจุดบนเส้น Tone Curve และทำปรับให้เป็นรูปเหมือนตัว S เล็กน้อย
ต่อมาเรามาปรับในส่วนของ Tone Curve ซึ่งการปรับตัวนี้ผมปรับ mark จุดเพิ่ม 3 จุด และ ดึงจุดที่เป็นมืดขึ้นแล้วน้อย และ ลดตุดที่เป็นส่วนสว่างลงเพื่อไม่ให้ส่วนสว่าง สว่างจ้าเกินไปจนเสียรายละเอียด
Process on Ligtroom : ใช้ Radial Filter เพิ่มแสงและรายละเอียดให้กับภาพ
4. เพิ่ม Radial filter ให้กับจุดที่จะเน้น Brightness +1.65 , Contrast 10 , Saturate -10 , Clarity +10
จุดนี้สำคัญมาก เป็นการเพิ่มแสงเฉพาะจุดเข้าไปให้กับภาพ โดยเราจะวางวงกลมนี้ไว้ที่ตัวแบบ เพื่อเพิ่มจุดสนใจให้สว่างขึ้น ในภาพนี้ผมจะปรับค่าเพิ่มขึ้น ประมาณ +1.65 ปรับ Contrast ขึ้น +10และ ลด Saturate ลง -25 เพื่อไม่ให้สีของแบบสุดมากไป
Process on Ligtroom : ปรับแต่งภาพในส่วนของ Calibration
5. Calibration : Green Primary (Hue -10,Saturate +26) , Blue Primary (Saturate -26)
มาในส่วน Calibration กันต่อ เพื่อเพิ่มโทนสีให้คล้ายคลึกมากขึ้น โดยในภาพส่วนใหญ่จะมีสีออกโทนฟ้าออกเขียว เราก็ดึงโทนเขียวให้ออกไปทางเหลืองนิด ๆ ซัก -10 และ ดัน Saturate ขึ้น +36 เพื่อให้สีผิวของแบบเด่งขึ้นมา และ ลด Saturate สีฟ้าลง -26 เพื่อไม่ให้สีฟ้าโดดเด่นเกินไป
Process on Ligtroom : เก็บรายละเอียดในส่วนของ Effect
6. Effect : Amount Vignette -25 , Grain (Amount 5,Size 5,Roughness 65)
ท้ายที่สุดเราก็มาเก็บรายละเอียดอีกซักนิดให้คล้ายคลึงภาพในซีรีย์มากขึ้น โดยการปรับในส่วน Effect ในส่วนของ Vignette ประมาณ -25 ให้ขอบภาพดูมืด ๆ นิดหน่อยให้อารมณ์ภาพยนต์และใส่ Grain หยาบ ๆ อีกนิดหน่อย
Final image : The witcher style หลังจากการปรับแต่งโทนภาพ
และแล้วเราก็ได้ภาพสุดท้ายที่มีโทนคล้ายคลึงกับโทน The Witcher ที่เราอยากได้ พวกเราพยายามแกะให้เหมือนที่สุดเท่าที่จะทำได้ ถ้าใครชอบโทนแนวซีรีย์ The Witcher ลองเอาวิธีเหล่านี้ไปทำตามกันได้ได้นะครับ
เปรียบเทียบภาพต้นฉบับในซีรีย์กับภาพที่เราแต่งเสร็จเรียบร้อย
หากเพื่อน ๆ มีคำถามสงสัยตรงไหนทิ้งคอมเมนต์ถามกันเข้ามาได้เลยนะครับ ผมจะเข้ามาตอบให้แน่นอนครับ
ถ้าหากบทความนี้พอจะเป็นประโยชน์กับเพื่อน ๆ ฝากกดแชร์ติดตามเป็นกำลังให้พวกเราด้วยนะครับ
แล้วเรื่องกล้องและการถ่ายภาพจะไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป " Camera So Easy เรื่องกล้องเรื่องง่าย "

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา