25 ธ.ค. 2019 เวลา 06:00 • การเมือง
รีวิวหนังสือ :
ประชาธิปไตย หลากความหมาย หลายรูปแบบ
3
ประชาธิปไตย หลากความหมาย หลายรูปแบบ
เกริ่น :
ต้องย้อนความก่อนว่า
เมื่อวันที่ 15 ธ.ค. ผมได้ไปงานเปิดตัวหนังสือ
เล่มนี้ที่ห้องศิลป์ ใกล้ๆ MBK มาครับ
และได้ไปนั่งฟังเสวนาเกี่ยวกับหนังสือเล่มนี้
พอฟังไปสักพักก็สนใจและซื้อหนังสือเล่มนี้ครับ
ซึ่งแน่นอนครับว่าหนังสือเล่มนี้
เกี่ยวกับการเมืองโดยไม่ต้องสงสัยเลยครับ
และมุ่งเน้นเกี่ยวกับ "ประชาธิปไตย"
ต้องการจะสื่ออะไร :
หนังสือเล่มนี้ จะเน้นเรื่อง "ภาษา" มากๆ
เพราะอะไรหล่ะ?
เพราะว่า เรากำลังมาดูมาค้นหา
ความหมายของคำว่า "ประชาธิปไตย"
การนิยามว่า ประชาธิปไตยมีความหมาย
ว่ามันคืออะไรกันแน่...
ซึ่งการนิยามก็มีเยอะแยะมากมายไปหมด
"การปกครองของประชาชน
โดยประชาชน และ
เพื่อประชาชน"
"การปกครองที่เลวน้อยที่สุดที่
มนุษย์คิดค้นขึ้นมาได้"
"ระบบการปกครองของรัฐบาลที่
ประชาชนทุกคนในประเทศมีสิทธิ
ลงคะแนนเสียงเลือกตั้งตัวแทนของตน"
"ระบอบการปกครองที่ถือมติปวงชน
เป็นใหญ่, ถือเสียงข้างมากเป็นใหญ่"
"ลดอำนาจรัฐ เพิ่มอำนาจประชาชน"
ซึ่งการที่มีการนิยามแตกต่างกันออกไป
แต่ละคนก็ยึดถือในนิยามในแบบของตน
เมื่อนิยามแตกต่างกัน ก็ย่อมมีคน
เห็นด้วยกับการนิยาม หรือไม่เห็นด้วย
กับการนิยาม "ประชาธิปไตย" นั้นๆ
และบางครั้ง "ประชาธิปไตย" ก็ถูกบิดเบือน
ใส่ไข่ เติมแต่ง ไม่ก็กลายเป็น สติ๊กเกอร์ติดรถ
"ประเทศฉันประชาธิปไตย" "มีการเลือกตั้งนะ"
ทั้งๆที่ด้านในก็ยังเป็นเผด็จการ อำนาจนิยม
และ "ประชาธิปไตย" ก็ถูกแปลจากภาษาอังกฤษ
"Democracy" เป็นภาษาอื่นๆแล้วความหมาย
ก็ไม่ได้เหมือนกัน 100% เช่น ในประเทศเซเนกัล
ในเซเนกัล ใช้คำว่า "Demokraasi"
ซึ่งความหมายของคำนี้ แม้จะพูดว่า
"การปกครองที่ประชาชนกำกับควบคุมรัฐ"
แต่...ก็เน้นความสัมพันธ์แบบอุปถัมภ์
และสวัสดิการของส่วนรวม มากกว่า
เน้นสิทธิประโยชน์และเสรีภาพของปัจเจกชน
พอเมื่อมันนิยามแตกต่างไปมา นักวิชาการก็เลย
ใส่ ADJECTIVE หรือ คำคุณศัพท์ ระบุไปเลย
ซึ่งสามารถบ่งบอกว่า คำนิยามนี้มีชื่อเรียกว่าอะไร
เช่น ประชาธิปไตย(แบบไทย) ประชาธิปไตย(ครึ่งใบ)
ประชาธิปไตย(แบบสังคมนิยม) เป็นต้น
ตัวอย่างจากสารบัญ
ตัวอย่างจากสารบัญ
ดังนั้นหนังสือเล่มนี้คือการ อธิบาย
ประชาธิปไตย ที่มีคำ คุณศัพท์ ล้วนๆ
ตัวอย่าง :
ประชาธิปไตยแบบชี้นำ หน้า 103 - 104
( Guided - Democracy )
( ถูกชี้นำ - ประชาธิปไตย )
เป็นระบอบประชาธิปไตยที่แสดงให้เห็นถึงการมี
ประชาธิปไตยในเชิงรูปแบบ แต่อำนาจที่แท้จริง
รวมศูนย์อยู่กับผู้นำหรือกลุ่มคนบางกลุ่ม
เช่น การมีจำนวนที่นั่งในสภาสงวนไว้
ให้คณะบุคคลโดยไม่ต้องมาจากการเลือกตั้ง,
การตัดสินใจเชิงนโยบายจะต้องได้รับอิทธิพล
จากคณะบุคคลดังกล่าวอยู่เสมอ
ถ้าจะให้ทำความเข้าใจง่ายๆ
ให้นึกถึงโรงเรียนบ้านเราที่
ไม่ว่าจะมีพรรคการเมืองของนักเรียนยังไงก็ตาม
คุณครูก็ต้องกำหนดว่านโยบายไหน
เหมาะสมหรือไม่เหมาะสมอยู่ดี
ผู้ชี้ขาดก็คือคุณครู ผู้อำนวยการอยู่ดี
มันถูกชี้นำไว้ตั้งแต่แรกแล้ว
ความรู้สึกที่อ่านหนังสือเล่มนี้ :
มันตลกร้ายนิดนึงที่ว่า บางครั้งการนิยาม
ประชาธิปไตยมันถูกบิดมากๆในการนิยาม
จนมันไม่เหลือแก่นแท้
หรือ หัวใจ ของ ประชาธิปไตย
บางครั้งการนิยามก็ทำเพื่อเข้าข้างตนเอง
ให้ฝ่ายที่ผู้มีอำนาจใช้กันอยากสบายใจว่า
ฉันมีชื่อประชาธิปไตยติดแล้วนะ ดูสิ
แต่ที่จริงด้านในมันกลับไม่ได้เป็นอย่างนั้นเลย
แต่บางครั้งการนิยามก็มีผลดีเหมือนกัน
เช่น ประชาธิปไตยเชิงสีเขียว/เชิงนิเวศ
หรือที่เรียกว่า Green Democracy
ที่พรรคการเมือง และ ระบอบ มีการให้
ความสำคัญกับสิ่งแวดล้อมมากขึ้น
เช่น พรรค Green ในเยอรมัน
บางครั้งการนิยามก็เหนือกว่าที่เราคิดไปมาก
เช่นฝ่ายประชาธิปไตยแบบปรึกษาหารือ
ก็จะเน้นหาจุดร่วม ความเห็นพ้องต้องกัน
การหาฉันทามติ พูดคุยประณีประณอมกัน
แสดงออกความคิดเห็น แล้วเดินไปด้วยกัน
มองความขัดแย้งเป็นลบ
ข้อเสียคือถ้ามีใครชักจูงโน้มน้าวใจ
พูดมีวาทศิลป์ที่เก่งก็ย่อมกุมจุดร่วมได้
ส่วนฝ่ายประชาธิปไตยแบบถอนรากถอนโคน
ก็บอกว่า ความขัดแย้งเป็นธรรมชาติของ
ประชาธิปไตย คนย่อมมีความคิดเห็นแตกต่าง
มีเชื้อชาติ ศาสนา ความคิด สีผิวที่ไม่เหมือนกัน
มองข้าม "เสรีภาพ" "ความเสมอภาค" ไปได้เลย
แล้วมามองที่ "ความขัดแย้งและแตกต่าง"
ปัญหาจะไม่ถูกขจัด หรือ ให้มันหายไป
ให้มันดำรงอยู่ไว้ เปิดให้วิจารณ์กัน
ทะเลาะกันให้สุดๆไปเลย ไม่ต้องไปหลบเลี่ยง
เผชิญกับมันเลย เราจะได้รู้และตระหนักถึง
ปัญหาทีืมีอยู่แล้วแก้ไขมัน
ซึ่งเมื่ออ่านหนังสือนี้จนจบผมบอกได้เลยว่า
มนุษย์เรา ไม่ว่าจะคำความหมายใด
เราย่อมตีความแตกต่างกันไป
บางคนเอาเข้าข้างตนเอง
บางคนตีความเอาแบบบริสุทธิ์ PURE!!!
บางคนก็ไม่ได้ตีความอะไรเลย
มีความคิดเห็นที่ไม่เหมือนกัน
มุมมองที่แตกต่างกัน แต่สิ่งนึงที่เหมือนกัน
คือความเป็นคน ความเป็นมนุษย์
ไม่ว่าจะพิการ เพศ สีผิว ชนเผ่าใด
เราก็มนุษย์เหมือนกันครับ
และ มีสิทธิเท่าเทียมกัน
ความคิดผมจะออกแนวซ้ายนิดๆ
ดังนั้นอย่าฟังผมนักเลย ผมค่อนข้างเอียง
ตัวอย่างการจัดวาง ตัวอักษร
หนังสือเล่มนี้ อ่านสบายตาดีครับ ตัวอักษรไม่แน่น
และเนื้อหาค่อนข้างกระชับเข้าใจได้ง่าย
และมีอ้างอิงเพียบเลยครับ เผื่อใครอยากอ่านเชิงลึก
ว่าคำนี้ ความคิดนี้มาจากที่ไหน หนังสืออะไร
ดังนั้นผมค่อนข้าง โอเคกับหนังสือเล่มนี้เลยครับ
และเนื้อหาค่อนข้างจะให้ความรู้สึก
"อันนี้เหมือนเกิดขึ้นกับบ้านเราเลย"
อ่านทีก็ขนลุกนิดๆเหมือนกัน 5555
และได้รู้ประวัติศาสตร์การเมือง นิดๆเหมือนกัน
ให้คะแนนนนนนนนนนนนน!!!
8/10ไปเลยยยยยยยยยยย!!!
เพราะต้องพอมีพื้นฐานศัพท์
ทางการเมือง และ เศรษฐกิจถึงจะเข้าใจ
แต่มันก็ไม่ยากอะไรหรอก ลองหา google ดู
ตามท่านผู้นำได้กล่าวไว้ อิอิ จุ๊บุๆ
โดยรวมอ่านสนุกดีครับ ( ในมุมมองผมนะ )
-CourAge
หนังสือ :
ประชาธิปไตย หลากความหมาย หลายรูปแบบ
ประจักษ์ ก้องกีรติ
โฆษณา