26 ธ.ค. 2019 เวลา 06:42 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
หม้อแปลงไฟฟ้า
หม้อแปลงไฟฟ้าไม่ใช่เป็นตัวสร้างกำลังไฟฟ้า แต่เป็นเพียงเครื่องมือที่ถ่ายเทกำลังไฟฟ้าจากขดลวดหนึ่งไปยังอีกขดหนึ่ง ทำให้เกิดแรงเคลื่อนเหนี่ยวนำทางไฟฟ้าเกิดขึ้น โดยจะมีค่าความสูญเสียในรูปสนามแม่เหล็กในแกนเหล็ก (Core loss) และเมื่อต่อโหลดก็จะเกิดกระแสไฟฟ้าไหลผ่านขดลวดในหม้อแปลงทำให้เกิดความสูญเสียในขดลวด (Copper loss หรือ Wiring loss)
แม้ว่าประสิทธิภาพของหม้อแปลงจะไม่ถึง 100% เต็ม แต่ก็นับว่าใกล้เคียงมาก (คือกำลังงานสูญเสียจะมีค่าน้อยมาก ปกติจะไม่เกิน 1.5% ของพิกัดหม้อแปลง) ดังนั้นในทางปฎิบัติเราจึงถือว่ามันมีประสิทธิภาพ 100% หรือนิยมเรียกกันว่าในทางอุดมคติเมื่อมีค่าน้อยมากๆ จึงละที่จะไม่นำมาคิดได้
ดังนั้นจะได้สูตรง่ายๆของกำลังทางไฟฟ้าของหม้อแปลงไฟฟ้า ว่า...
กำลังไฟฟ้าปรากฎ (Apparent power) ; S = V x I ( VA ) ทั้งทางด้านไฟเข้าและไฟออกจะเท่ากัน
โดยมีสัดส่วน Ratio ของทั้งด้านไฟเข้าและไฟออก ขึ้นอยู่กับจำนวนขดลวด ( N) ที่ใช้พันแต่ละข้าง ซึ่ง N จะแปรผันตรงกับค่าแรงดันไฟฟ้าเหนี่ยวนำ (E) และ N จะแปรผกผันกับกระแสไฟฟ้า (I) หรือพูดอีกอย่างคือ กระแสไฟฟ้าของแต่ละด้านจะแปรผกผันกับค่าแรงดันไฟฟ้าในด้านนั่นๆ
คือเมื่อ พิจารณาจากด้านเดียวกันหากแรงดันไฟฟ้าสูงค่ากระแสจะต่ำ และเมื่อค่าแรงดันไฟฟ้าต่ำกระแสจะสูง เพราะกำลังไฟฟ้าปรากฎ (Apparent power) ; S = V x I ( VA ) ของทั้งสองข้างจะต้องเท่ากันเสมอนั้นเอง
คำถาม...ทำไมเราถึงใช้หน่วยเรียกขนาดของหม้อแปลงไฟฟ้า เป็น วีเอ (S : Apparent power กำลังไฟฟ้าปรากฎ มีหน่วยเป็น VA ) แต่เครื่องใช้ไฟฟ้าอื่นๆ เช่น มอเตอร์ ถึงใช้หน่วยเรียกขนาดเป็น วัตต์ ( P : Real power คือกำลังไฟฟ้าจริง มีหน่วยเป็น Watt )
Reference :
Electrical Room
โฆษณา