16 ม.ค. 2020 เวลา 11:48
- นักบุญแห่งป่า นักฆ่าแห่งพงไพร -
2
คำนี้ฟังดูแล้วย้อนแย้งในตัวเองใช่ไหมครับ เป็นทั้งนักบุญและนักฆ่าในคราวเดียวกัน...
.
ชื่อนี้เป็นฉายาของ "ต้นไทร" ต้นไม้ใหญ่ที่เป็นร่มเงาแห่งป่านั่นเอง
Cr. LovePik
ไทรพบได้ทั่วไปในป่าเขตร้อน ลำต้นเป็นร่างแหเลื้อยพันไม้ชนิดอื่น และมีรากอากาศห้อยย้อยลงมา ทั่วโลกมีไทรอยู่มากถึง 900 ชนิด ส่วนในประเทศไทยพบได้ประมาณ 88 ชนิด
.
ต้นไทรที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก ถูกบันทึกไว้ใน Guinness Book of World Record โดยมีรากค้ำยันถึง 1,000 ราก และมีทรงพุ่มครอบคลุมพื้นที่ถึง 10 ไร่!!!
ไทรจัดเป็นต้นไม้ชนิดหนึ่งที่เติบโตช่วงแรกในรูปแบบของต้นไม้ ที่เป็นกาฝาก
ที่มาของชื่อ "นักบุญแห่งป่า" ได้มาจากเมื่อผลไทรสุก จะเป็นแหล่งอาหารชั้นดีของสัตว์น้อยใหญ่ เช่น กระรอก ลิง ชะนี และนกนานาชนิด สัตว์เหล่านี้จะมารวมตัวกันที่ต้นไทรเพื่อกินอาหาร ส่วนลูกไทรที่หล่นลงสู่พื้นดินก็จะเป็นอาหารให้เหล่าเก้ง กวาง และหมูป่า เนื่องจากมีผู้มาใช้บริการการต้นไทรมากขนาดนี้จึงมีคนขนานนามให้ต้นไทรว่าเป็น "7-11 แห่งป่า" อีกด้วย
แต่ในขณะเดียวกันเมล็ดไทรที่ถูกกินโดยนก เมื่อมูลของนกไปตกลงที่พื้นที่ใดหรือต้นไม้ต้นใด ไทรก็จะเจริญขึ้นไปเป็นต้นไม้อิงอาศัยบนต้นไม้ต้นนั้น และค่อยๆ เจริญเติบโตขึ้นจนยืนได้ด้วยตนเอง ทั้งยังแผ่ขยายลำต้นรัดพัน แตกพุ่มและใบปกคลุมต้นไม้ที่ไปอาศัย และหยั่งรากอากาศลงสู่ดิน ทำให้เกิด
การบีบรัด แย่งแสงแดดและธาตุอาหารจากต้นไม้ผู้ให้อาศัย จนต้นไม้ต้นนั้นตายลงในที่สุด จึงเป็นที่มาของฉายา "นักฆ่าแห่งพงไพร"
ผลไทร Cr. OK Nation
ต้นไทรนักเป็นต้นไม้ที่สำคัญต่อระบบนิเวศเป็นอย่างมาก หากขาดไทรไป
ระบบนิเวศอาจพังทลายเนื่องจากสูญเสียสัตว์ที่มีวงจรซับซ้อน...
.
นอกจากนี้ไทรยังมีส่วนเกี่ยวข้องกับคนไทยในเรื่องของความเชื่อ คนโบราณเชื่อว่าต้นไทรเป็นต้นไม้ศักดิ์สิทธิ์ มีเทพารักษ์อาศัยอยู่คอยคุ้มครองให้อยู่ร่มเย็นเป็นสุข ทั้งนี้ความเชื่อก็คงมีสาเหตุมาจากลักษณะภายนอกของต้นไทรที่มีขนาดสูงใหญ่ สง่างามเป็นร่มโพธิ์ ร่มไทร ให้กับที่ที่ไปอยู่ นั่นเอง...
โฆษณา