27 ธ.ค. 2019 เวลา 02:39 • การศึกษา
"คนที่รัก อยู่ไกล ยังใฝ่คิด
คนไม่รัก ใกล้ชิด ไม่หวั่นไหว
คนที่รัก สุดฟ้ากว้าง ไม่ห่างไกล
คนไม่รัก นั่งใกล้ใกล้ ใจยังเมิน"
วันนี้มาทบทวนกลอนแปดกันนะคะ เนื่องจากคุณ
นิคค่อนขอให้ทำแผนผังให้ เป้ยก็นำมาลงในบล็อกด้วยเลยละกัน แต่รูปไม่สวยนะคะต้องขออภัย เป้ยก็จะรีบมาวาดรูปของเป้ยแท้ ๆ งานเข้า 😅
กลอนแปดเป็นคำประพันธ์รูปแบบหนึ่งที่เป็นที่นิยมอย่างกว้างขวาง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสมัยที่ท่านสุนทรภู่ยังมีชีวิตอยู่
ทำไมเราต้องเรียนรู้กลอนแปด
เพราะนอกจากกลอนแปดจะเป็นที่นิยมในวงกว้างแล้ว ยังมีความไพเราะ แต่งง่าย อ่านง่ายในตัวบทกลอนเอง โดยเฉพาะนักเขียนเรา ถ้าเพิ่มสำนวนหรือถ้อยคำกินใจลงในบทความ เป้ยว่าจะทำให้งานคุณมีมิติขึ้นมามากเลยค่ะ
ตามหลักแล้ว กลอนแปด 1บทมี 2บาท
บาทละ 2วรรค เราเรียกทั้ง 4 วรรคนี้ว่าสดับ-รับ-รอง-ส่ง ซึ่งไม่ต้องจำก็ได้ค่ะ
ที่ต้องจำคือเสียงสัมผัสค่ะ กลอนแปดประกอบไปด้วยสัมผัสนอก ตรงนี้เราจะพลาดไม่ได้เด็ดขาด และสัมผัสใน ซึ่งไม่บังคับ แต่แนะนำว่าควรมีค่ะ
เพราะเป็นเสน่ห์ในงานของเรา
เปรียบดังผู้หญิง แค่สวยอย่างเดียวก็ไม่ประทับใจใครได้เท่าไร คนอื่นเค้าก็สวย แต่ถ้าเรามีอะไรสักนิดที่เป็นตัวตนของเรา ตรงนี้แหละจุดชี้ขาด
ซึ่งอะไรที่ว่าก็คือสัมผัสในนี่เองค่ะ
เข้าหลักกันเลย
(เป้ยจะเรียกวรรคเป็น 1-2-3-4นะคะจะได้ไม่งง)
เริ่มที่สัมผัสนอก
🌸คำสุดท้ายของวรรคแรก ให้สัมผัสกับคำที่3 ของวรรคที่2
🌸คำสุดท้ายของวรรคที่ 2 สัมผัสกับคำสุดท้ายของวรรคที่ 3
🌸 คำสุดท้ายของวรรคที่ 3 สัมผัสกับคำที่ 3 ของวรรคที่ 4
ในรูปยกตัวอย่างบทกลอนของท่านสุนทรภู่บทนี้ พอดีเป้ยจำได้ ดูที่เป้ยวงสีชมพูนั้นคือสัมผัสในค่ะ
สัมผัสใน คือคำคล้องจองที่อยู่ในวรรคเดียวกัน เป็นได้ทั้งสัมผัสสระ และสัมผัสอักษร
สัมผัสในจะช่วยทำให้บทกลอนของเราโดดเด่น
และน่าสนใจขึ้นค่ะ
อีกนิด ถ้าเราแต่งกลอนแปดมากกว่าหนึ่งบท อย่าลืมที่จะเชื่อมแต่ละบทเข้าด้วยกันนะคะ การเชื่อมนี้ก็ทำได้โดยการนำเสียงคำสุดท้ายของแต่ละบท สัมผัสกับคำสุดท้ายของวรรคที่ 2 ของบทต่อไปค่ะ
เป็นไงบ้างคะ ไม่งงเน้อะ 😅
เป้ยหวังว่าบทความนี้จะมีประโยชน์กับทุกคนนะคะ
(โดยเฉพาะคุณนิคค่อน) พูดถึงค่อนแล้วขอเผาหน่อย จะเห็นว่าแต่งกลอนก็มั่ว แต่ขยันจัง เพิ่งมาในบล็อกแท้ ๆ แต่โพสต์ทุกวัน ตรงนี้ชื่นชมค่ะ รู้สึกดีด้วยมากเลย ก็ขอให้สู้ ๆ นะ
วันนี้ขอตัวเท่านี้นะคะ เสียไปเป็นชม.เลยแง 😅
เป้ยจะรีบวาดรูป 🎨
เป้ย 27 Dec 2019
โฆษณา