27 ธ.ค. 2019 เวลา 13:49 • การศึกษา
บทความสิ่งแวดล้อม : เมื่อสายน้ำส่งสัญญาณ ปรากฏการณ์แม่น้ำโขงเปลี่ยนสี
ภาพแม่น้ำโขงที่เปลี่ยนสีจากสีน้ำตาลเป็นสีฟ้าในประเทศลาวนี่คือสัญญาณถึงคุณภาพที่แย่ลงจนเข้าขั้นวิกฤติของแม่น้ำโขง
ประเภท : บทความสิ่งแวดล้อม
เมื่อแม่น้ำส่งสัญญาณ ปรากฏการณ์แม่น้ำโขงเปลี่ยนสี
วันนี้ขอนำเสนอเรื่องแม่น้ำโขงซึ่งเป็นอะไรที่ใกล้ตัวเราเข้ามาหน่อย
แม่น้ำโขงเป็นแหล่งน้ำที่มีความสำคัญที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และเป็นแม่น้ำที่จัดว่ามีความหลากหลายทางชีวภาพสูงเป็นอันดับสองของโลก
สีของน้ำที่เปลี่ยนไปเป็นสีฟ้าสะท้อนให้เห็นคุณภาพของน้ำที่แย่ลง สีฟ้าเกิดจากการไม่มีตะกอนในน้ำ
ซึ่งเกิดจากสถานการณ์ภัยแล้งในปีนี้และส่งผลต่อเขื่อนในแม่น้ำและสาขาของแม่น้ำ
ในจังหวัดคำม่วนของประเทศลาว เมื่อวันที่ 19 ธันวาคม แม่น้ำโขงได้แห้งแล้งจนสามารถมองเห็นโขดหินและทรายในแม่น้ำอย่างชัดเจน
ช่วงนี้เป็นเดือนธันวาคม หากแม่น้ำโขงอยู่ในสภาพที่แห้งแล้งแล้ว เมื่อถึงฤดูแล้งที่ใกล้เข้ามาในเมษายน สถานการณ์จะเลวร้ายเพิ่มมากขึ้น
ผู้เชี่ยวชาญเรื่องน้ำให้ความเห็นว่า ว่าสีสันที่ผิดปกติของแม่น้ำในปัจจุบันเป็นปัญหาที่สำคัญอย่างยิ่ง
แม่น้ำสีฟ้าอาจดูดีในแง่สีสัน
แต่นั้นเป็นสัญญาณที่ไม่ดีอย่างแน่นอน
2
สีของแม่น้ำเป็นตัวบ่งชี้อนาคตที่น่ากังวลของแม่น้ำโขง
1
แม่น้ำโขงเปลี่ยนสี มองเห็นได้ที่ นครพนม 📷 Pattanapong Sripiachai
ผู้เชี่ยวชาญและ หน่วยงาน NGO สิ่งแวดล้อมไทยได้ศึกษาการปรับตัวภายในแม่น้ำโขงตั้งแต่เดือนมกราคมถึงเดือนธันวาคมปีนี้
สรุปว่า "เขื่อน" เป็นองค์ประกอบสำคัญในการแก้ไขปัญหาภัยแล้งที่ทำให้น้ำในแม่น้ำไหลผ่าน
และเหตุผลหลักที่ทำให้แม่น้ำโขงแห้งเกิดจากเขื่อนเหนือน้ำ
📷 weather.com
ประเทศจีน
จีนมีแผนที่จะสร้างเขื่อนมากถึง 37 เขื่อนและได้สร้างเสร็จ 10 หรือ 11 เขื่อน
เขื่อนเหล่านี้กักเก็บน้ำได้มากกว่า 40 ล้านล้านลูกบาศก์เมตรหรือ 90% ของการเคลื่อนไหวทั้งหมดในแม่น้ำโขง
และความเป็นจริงคือ มีน้ำเพียง 10% เท่านั้นที่ถูกปล่อยออกมา
ซึ่งนอกเหนือจากเขื่อนที่จีน ทางลาวเองก็กำลังสร้างเขื่อนเพิ่มขึ้นเช่นกัน
ปัจจุบันทางลาวมีเขื่อนไซยะบุรี ซึ่งใหญ่โตระดับหนึ่งในห้าเขื่อนที่ใหญ่ที่สุดในแม่น้ำโขงและเริ่มดำเนินการในปลายเดือนตุลาคม
นอกจากนี้ทางลาวได้ลงทุนเพิ่มเติมในเขื่อนขนาดเล็กจำนวนมากที่กั้นน้ำในแม่น้ำโขงและแม่น้ำสาขาของแม่น้ำโขง
ไหนๆก็พูดถึงเขื่อนไซยะบุรีแล้ว ทราบไหมว่าลูกค้าที่รับซื้อพลังงานจากเขื่อนรายใหญ่ที่สุด ก็คือ "การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย"นี่เองค่ะ
1
เขื่อนไซยะบุรี ประเทศลาว 📷 laotiantimes.com
บทสรุปที่ชัดเจน เรื่องแม่น้ำโขงแห้ง เกิดจากเขื่อนทุกแห่งในแม่น้ำโขงและแม่น้ำสาขา ที่กักเก็บปริมาณน้ำจำนวนมหาศาลไว้
สาเหตุที่น้ำเปลี่ยนเป็นสีฟ้าเนื่องจากไม่มีตะกอนในน้ำและเขื่อนเหล่านี้ได้กั้นตะกอนเอาไว้ทั้งหมด
การขาดแคลนตะกอนในน้ำทำให้เกิดความเสียหายต่อฟาร์มและการประมง
ซึ่งคาดการณ์กันว่าปลาหลายชนิดรวมทั้งปลาตัวเล็กและใหญ่กำลังจะสูญพันธุ์ไปจากแม่น้ำโขงในไม่ช้า
กลับไปที่ลาว
ลาวได้สร้างเขื่อนไฟฟ้าพลังน้ำหลายสิบแห่งบนแม่น้ำโขงและแม่น้ำสาขาเพื่อพัฒนาให้เป็น แบตเตอรี่ของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
และเตรียมการส่งออกพลังงานไฟฟ้าที่ได้ไปยังประเทศเพื่อนบ้าน
แม้ว่าทางการลาวจะมองว่าเทคโนโลยีพลังงานเป็นทางเลือกในการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ แต่โครงการสร้างเขื่อนได้ถูกตั้งคำถามถึง ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและอนาคตของแม่น้ำโขง
ทางการลาวยังไม่มีคำตอบในเรื่องนี้
และหากถามว่าแม่น้ำโขงจะกลับมาเป็นเหมือนเดิมหรือไม่
...
เพจก็ไม่มีคำตอบเช่นกัน
Ref.
เรียบเรียงโดย
สาระอัปเดต
โฆษณา