27 ธ.ค. 2019 เวลา 15:40 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
เราอาจจะได้เห็นปรากฏการณ์การระเบิดของดวงดาวที่เรียกว่าซุปเปอร์โนวา (Super Nova) บนฟากฟ้าด้วยตาเปล่าในช่วงชีวิตของเรา 😯👍
เมื่อดาวบีเทลจุส (betelgeuse) สมาชิกหลักของกลุ่มดาวนายพรานมีแนวโน้มว่าใกล้จะถึงจุดจบ ซึ่งจะกลายเป็นซุปเปอร์โนวาให้เราได้เห็นแม้ในเวลากลางวันอีกครั้ง หลังจากการระเบิดของ Kepler's Supernova ในปี ค.ศ. 1604
เราอาจได้เห็นพระจันทร์อีกดวงในท้องฟ้ายามค่ำคืน
ดาวบีเทลจุสจัดเป็นดาวยักษ์แดง เป็นหนึ่งในสมาชิกของกลุ่มดาวนายพราน อยู่ห่างจากโลก 642 ปีแสง มีมวลมากกว่าดวงทิตย์ 20 เท่า ขนาดใหญ่กว่าดวงอาทิตย์ 700-1000 เท่า ซึ่งจัดว่าเป็นดาวที่ใหญ่อันดับต้น ๆ ในกาแล็กซีของเรา
การที่ขนาดของดาวเปลี่ยนแปลงตลอดเวลานั้นเป็นเพราะว่าดาวกำลังจะใกล้หมดอายุขัย จากการใช้เชื้อเพลิงนิวเคลียร์จนเกือบหมด
ดาวบีเทลจุส เป็นหนึ่งใน 10 ดาวที่สว่างที่สุดในท้องฟ้าปัจจุบัน แต่ความสว่างของมันนั้นเปลี่ยนแปลงเป็นช่วงอยู่ตลอดเวลาที่ผ่านมา ซึ่งล่าสุดความสว่างของบีเทลจุสต่ำสุดในรอบ 50 ปี เป็นอีกสัญญาณบอกว่าบีเทลจุสกำลังจะระเบิดเป็นซุปเปอร์โนวา
ความสว่างผันผวนเป็นรอบ ๆ รอบละ 420 วัน แต่ล่าสุดความสว่างมีค่าต่ำอย่างมีนัยสำคัญ
ทั้งนี้เมื่อดวงดาวเผาผลาญเชื้อเพลิงไฮโดรเจนด้วยปฏิกิริยานิวเคลียร์ฟิวชั่นจนถึงจุดหนึ่ง แรงพยุงจากปฏิกิริยานิวเคลียร์ที่สู้กับแรงโน้มถ่วงของตัวดาวก็จะเสียสมดุลย์ เกิดเป็นการระเบิดใหญ่ที่เรียกว่า ซุปเปอร์โนวา
โดยแสงที่หรี่ลงอย่างมีนัยะนี้บ่งบอกว่าปฏิกิริยานิเคลียร์กำลังลดลงและแรงกำลังจะเสียสมดุลย์ อันหมายถึงว่าใกล้ถึงเวลาที่ดาวจะระเบิดแล้วนั่นเอง
ดาวแต่ละดวงคงรูปอยู่ได้ด้วยสมดุลย์ของแรงดันออกจากปฏิกิริยานิวเคลียร์และแรงโน้มถ่วง, เครดิตภาพ: NASA
ด้วยระยะห่างกว่า 642 ปีแสง หากเราเห็นการระเบิดของดาวบีเทลจุสนั้นหมายถึงดาวดวงนี้ได้ระเบิดไปตั้งแต่ปี ค.ศ. 1377 นั่นเพราะแสงที่เราเห็นวันนี้คือแสงของดาวบีเทลจุสเมื่อ 642 ปีที่แล้ว
1
ภาพจำลองการระเบิดของดาวที่เรียกว่า ซุปเปอร์โนวา
ทั้งนี้การระเบิดซุปเปอร์โนวาของดาวในกาแล็กซีทางช้างเผือกของเราครั้งล่าสุดนั้นต้องย้อนไปในปี ค.ศ. 1604 จากการระเบิดซุปเปอร์โนวา Johannes Kepler ของดาวซึ่งห่างออกไป 20,000 ปีแสง
แต่แม้จะห่างขนาดนี้ปรากฎการณ์นี้สามารถสังเกตุเห็นได้ด้วยตาเปล่าเพราะแสงจาก Kepler Super Nova นี้สามารถเห็นได้แม้ในเวลากลางวันเป็นระยะเวลาเกือบสามอาทิตย์
ซากหลงเหลือของ Kepler Supernova ในปัจจุบัน, เครดิตภาพ: NASA
ซึ่งได้มีการบันทึกเหตุการณ์ไว้ในหลายจารึกทั้งใน ยุโรป จีน เกาหลีและเหล่าประเทศอาหรับ
แล้วถ้าหากดาวบีเทลจุสระเบิดละจะเป็นยังไง?
คาดกันว่าหากบีเทลจุสระเบิดจะเกิดแสงลุกจ้าซึ่งสว่างกว่าดวงจันทร์ยามค่ำคืน
และจะสามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่าแม้ในเวลากลางวัน โดยคาดว่าจะสว่างอยู่หลายสัปดาห์ก่อนจะเริ่มจางหายไป
การระเบิดของซุปเปอร์โนวานั้นสว่างจ้ามากจนสามารถมองเห็นได้แม้เกิดอยู่นอกกาแล็กซีทางช้างเผือก อย่างภาพข้างบนคือซุปเปอร์โนวา SN 1994D (มุมซ้ายล่างของภาพ) ซึ่งอยู่ในกาแล็กซี NGC 4526
การระเบิดของซุปเปอร์โนวานอกกาแล็กซีที่มนุษย์เราสังเกตุเห็นได้ด้วยตาเปล่า ได้แก่ SN 1987A ในปี ค.ศ. 1987 ในกลุ่มเมฆแมคจาเลนใหญ๋ (Large Magellanic Cloud) ซึ่งเป็นกาแล็กซีแคระที่โคจรรอบกาแล็กซีทางช้างเผือกของเรา
จุดสว่างบริเวณกลางภาพคือ SN 1987A, เครดิตภาพ: Wikipedia
ทั้งนี้ไม่ต้องกังวลไปเนื่องจากบีเทลจุสอยู่ไกลจากโลกมากการระเบิดจะไม่ส่งผลอะไรต่อโลก เราจะเห็นเป็นแค่แสงลุกจ้าบนท้องฟ้าหลายสัปดาห์ก่อนที่จะหายไป แล้วก็จะไม่มีดาวบีเทลจุสบนท้องฟ้ายามค่ำคืนอีกต่อไป 😔
ส่วนคำถามว่าจะเกิดเมื่อไหร่นั้นไม่มีใครรู้วันที่แน่นอน อาจจะพรุ่งนี้ ปีหน้าหรือ 1,000 ปีข้างหน้า เรารู้แค่เพียงว่าบีเทลจุสกำลังจะสิ้นอายุขัยแล้ว
ภาพเปรียบเทียบกลุ่มดาวนายพรานเมื่อไม่มีดาวบีเทลจุส ซึ่งมองเห็นเป็นสีแดงสว่างสุกใสอยู่ในกลุ่มดาวนายพราน
โดยปลายทางชีวิตของบีเทลจุสนั้นยังก้ำกึ่งระหว่างกลายไปเป็นดาวนิวตรอนหรือไม่ก็หลุมดำหลังจากการระเบิด
ส่วนตัวผมว่ามันคงเป็นประสบการณ์ที่น่าทึ่งมากที่จะได้เห็นปรากฏการณ์นี้ในช่วงชีวิตของเรา กับการที่จะมีดวงจันทร์สองดวงบนฟากฟ้ายามค่ำคืน
ว่าแต่ดาวจะหายไปจากฟากฟ้าอีกดวงแล้วซินะ 😢
เครดิตภาพอื่น ๆ: แคปจากวีดีโอด้านบน
โฆษณา