28 ธ.ค. 2019 เวลา 02:40 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
ทำความรู้จักกับ “Starlink” หนึ่งในโปรเจ็คใหญ่ยักษ์ของ “SpaceX”
เป็นที่รู้กันดีอยู่แล้วว่า SpaceX คือบริษัทด้านอวกาศใหญ่ยักษ์ของมหาเศรษฐีชื่อดังจากสหรัฐฯ อย่าง “อีลอน มัสก์” กับภารกิจที่เลื่องลือที่สุดแห่งปี 2019 นั่นก็คือภารกิจ “Starlink” ที่ว่าด้วยการนำดาวเทียมไปปล่อยยังวงโคจร พร้อมเป็น WiFi routers ฟรีให้คนทั้งโลกได้ใช้งาน
หลายคนอาจจะสงสัยว่าทำไมถึงต้องใช้ดาวเทียมปล่อยสัญญาณ WiFi ฟรี ทั้ง ๆ ที่ทั่วโลกมีอินเทอร์เน็ตใช้งานกันอยู่แล้ว แต่ถึงกระนั้นก็ยังไม่ครอบคลุมทั่วทั้งโลกอย่างที่ว่าอยู่ดี เพราะบางพื้นที่ที่อินเทอร์เน็ตเข้าไม่ถึงก็ยังมีอยู่ ดาวเทียม Starlink จากค่าย SpaceX จะมาช่วยแก้ปัญหานี้แบบเท่ห์ ๆ ยังไงล่ะ วันนี้ Swivel จึงอยากจะพาทุกคนไปเปิดรายละเอียดของดาวเทียมเท่ห์ ๆ นี้กัน
ภาพปล่อยยานฟอลคอน - ที่มา: SpaceX
ต้องท้าวความก่อนว่า ก่อนหน้าที่โลกเราจะมีอินเทอร์เน็ตใช้ครอบคลุมอย่างแรงกล้าแบบนี้
เมื่อก่อนอินเทอร์เน็ตมีใช้แค่บนคอมพิวเตอร์เพียงระดับห้อง หรือแค่ระดับองค์กรแค่นั้นเองก่อนที่จะพัฒนาเรื่อยมา จนเกิดเป็นการนำเอาคอมพิวเตอร์ทั่วโลกมาเชื่อมกันโดยสายใยแก้วนำแสง
ถ้าเราจินตนาการดูแล้วจะเป็นงานที่ใหญ่พอสมควรเลยล่ะ กว่าที่จะมา FaceTime จากกรุงเทพไปยังอเมริกาได้ เพราะสายใยแก้วนำแสงที่ว่าต้องลากผ่านมหาสมุทรหลายร้อยหลายพันกิโลเมตรกว่าจะเชื่อมโยงเข้าหากันผ่าน WiFi routers กันได้ยังไงล่ะ
อย่างไรก็ตามการพัฒนาของมนุษย์ก็ไม่หยุดนิ่งอยู่กับที่ เมื่อไอเดียที่เฉิดฉาย ด้วยการนำเอา WiFi routers มาแขวนไว้บนเพดานของโลก บนวงโคจรค้างฟ้า นั่นก็คือดาวเทียมนั่นเอง แต่ใช่ว่าจะนำเอาไปทิ้งไว้บนวงโคจรแล้วใบ้งานได้ดีเลยนะ เพราะปัญหามันก็ยังมีอยู่ ปัญหาที่ว่านั้นก็คือ ระยะทางที่วงโคจรห่างจากโลกเป็นอย่างมากเลยไงล่ะ
มาคำนวณง่าย ๆ ดูว่า เส้นรอบวงของโลกเราอยู่ที่ 40,075 กิโลเมตร ในขณะที่วงโคจรค้างฟ้านั้นอยู่ที่ 42,164 กิโลเมตร ระยะทางดังกล่าวนั้น จะทำให้สัญญาน loss ลงไปกว่าเดิมเป็นอย่างมาก เมื่อเทียบกับเส้นใยแก้วนำแสงใต้สมุทรที่เราใช้กันอยู่ในขณะนี้
ภาพการวางดาวเทียมบนโคจรค้างฟ้า - ที่มา: Airbus
ที่นี้โจทย์ที่ต้องนำเอาดาวเทียมไปปล่อยเป็นเราต์เตอร์ WiFi นั้น ยังต้องมาคิดเรื่องที่ว่าจะปล่อยไปที่ตำแหน่งใด โคจรด้วยความเร็วเท่าใดจึงจะเหมาะสม ถ้าเราจินตนาการภาพว่า ดาวเทียมประมาณ 100 ดวง ถูกปล่อยขึ้นไปยังวงโคจรค้างฟ้า พร้อมกันนั้นในดาวเทียมทุกดวง ยังมีตัวปล่อยและรับสัญญาณจากดาวเทียมอีกดวงที่อยู่ใกล้กัน กล่าวคือให้สื่อสารกันได้นั่นเอง
ไม่เพียงแค่นั้น ดาวเทียมทุกดวงยังมีการส่งสัญญาณมายังสายใยแก้วนำแสงใต้สมุทร แล้วสัญญาณจะส่งผ่าน WiFi routers เพิ่มความสะดวกสบายและความเร็วในการใช้งานได้อีกด้วย ที่กล่าวมาทั้งหมดนั้นถูกนำไปใช้ใน Starlink โดยดาวเทียม 4,425-11,943 ดวง ของ SpaceX จะถูกนำไปปล่อยยังวงโคจร ชุดแรกจะถูกนำไปทิ้งยังความสูง 550 กิโลเมตร จำนวน 1,600 ดวง
ภาพการทดลองปล่อยดาวเทียม 2 ดวงเมื่อปี 2018 - ที่มา: SpaceX
ปี 2018 SpaceX ได้เคยปล่อยดาวเทียมทดลองไปแล้ว 2 ดวง หลังจากนั้นในเดือนพฤษภาคม ปี 2019 ที่ผ่านมา สร้างความฮือฮาในวงการอวกาศเป็นอย่างมาก เมื่อ Starlink 60 ดวง ถูกปล่อยขึ้นไปด้วยกัน
ปิดท้ายโพสต์นี้กันด้วยไฮไลต์แห่งปี 2019 ของ SpaceX เมื่อ อีลอน มัสก์ กล่าวถึงดาวเทียม Starlink 60 ดวงดังกล่าว ซึ่งถูกปล่อยไปด้วยยาน Falcon9 ที่มีนำ้หนักรวมมากที่สุดเท่าที่เคยมีมา โดยมีนำ้หนักทั้งสิ้น 18.5 ตัน
1
ภาพปล่อยยาน Falcon9 - ที่มา: SpaceX
ชื่นชอบ บล็อกของ Swivel อย่าลืมกดแชร์ กดติดตามและกดไลค์กันเยอะๆนะครับ ที่สำคัญ ติชม และให้กำลังใจผ่านคอมเมนท์ข้างล่างนี้ได้เลย
สำคัญไปกว่านั้น ทุกคนสามารถรับคอนเทนท์ดีๆ บวกกับความบันเทิงอย่างมีสาระผ่านช่องทางนี้เลย http://nav.cx/2z8bFq6
"Infinite Development Drive By Swivel" "Everything Are Swiveling"
โฆษณา