28 ธ.ค. 2019 เวลา 09:27 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
สำเร็จ นักวิจัยพัฒนาแอปพลิเคชันตรวจ "เห็ดพิษ"
https://news.thaipbs.or.th
วันนี้ เรื่องเล่า บอกต่อ จะมาพูดถึงแอปพลิเคชัน Application Mushroom Image Matching
แอปพลิเคชัน Application Mushroom Image Matching ถูกพัฒนาขึ้นโดยความร่วมมือของมหาวิทยาลัยมหาสารคาม กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์และกระทรวงสาธารณสุข
จัดทำฐานข้อมูลเห็ดพิษและเห็ดรับประทานได้ในประเทศไทยและการพัฒนา Application Mushroom Image Matching เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2562 ที่ผ่านมา
ในวันนี้ การพัฒนาโปรแกรม Application Mushroom Image Matching ได้เสร็จสมบูรณ์พร้อมใช้งานแล้ว
ในเวอร์ชั่นปัจจุบันมีฐานข้อมูลรูปภาพเห็ดเพื่อประมวลผลทั้งหมด 14 กลุ่ม ได้แก่
1. เห็ดก่อและเห็ดน้ำหมากกินได้
2. เห็ดผึ้งกินได้
3. เห็ดระงากพิษ
4. เห็ดระโงกกินได้
5. เห็ดระโงกไส้เดือน
6. เห็ดหมวกจีน
7. เห็ดคันร่มพิษ
8. เห็ดโคนกินได้
9. เห็ดหัวกรวดครีบเขียวพิษ
10. เห็ดบานค่ำ
11. น้ำหมึก
12. เห็ดถ่านใหญ่
13. เห็ดถ่านเลือด
14. เห็ดกระโดงหรือเห็ดนกยูง
แอปพลิเคชัน Application Mushroom Image Matching ช่วยสแกนตรวจสอบชนิดเห็ดพิษ - เห็ดกินได้ ช่วยลดความเสี่ยงคนกินเห็ดพิษตาย
หลังพบปีนี้มีรายงานคนป่วยจากการกินเห็ดพิษ 1,176 คน เสียชีวิต 3 คน โดยใช้งานผ่านมือถือ
โดยเห็ดที่มีรายงานการเกิดเหตุ ได้แก่ เห็ดหมวกจีน เห็ดถ่านเลือด เห็ดระโงกพิษ และเห็ดคันร่ม ซึ่งเห็ดพิษเหล่านี้มีลักษณะรูปร่างหน้าตา คล้ายกับเห็ดรับประทานได้
https://www.bangkokbiznews.com
สำหรับการใช้งานโปรแกรมดังกล่าว ต้องทำการดาวน์โหลดโปรแกรมมาติดตั้งไว้บนโทรศัพท์มือถือ สมาร์ทโฟนแบบ Android เท่านั้น โดยเข้าถึง แอปพลิเคชัน ได้ 2 ช่องทาง
1.เลือกจาก Play store ค้นหาคำว่า "คัดแยกเห็ดไทย"
2. สแกน QR Code
จากนั้นทำการลงทะเบียนและใช้งานโปรแกรมด้วยการเปิดกล้องและสแกนดอกเห็ดที่ต้องการทราบชนิด
โปรแกรมจะเริ่มประมวลผลแบบ real time และจะหยุดเมื่อความถูกต้องของชนิดเท่ากับร้อยละ 95 หรือเราสามารถกดปุ่มเพื่อหยุดได้
และนอกจากนี้โปรแกรมนี้ยังสามารถตรวจสอบชนิดของเห็ดจากภาพถ่ายที่เก็บไว้ในโทรศัพท์มือถือได้เช่นกัน
สำหรับแอปพลิเคชันนี้ ยังมีข้อจำกัดอยู่บ้าง เช่น จำนวนชนิดของเห็ดที่อยู่ในฐานข้อมูล ปัจจุบันมีเพียง 14 กลุ่ม
แต่เห็ดในธรรมชาติมีจำนวนมาก ในบางครั้งการสแกนเห็ดการประมวลผลอาจช้า และไม่ตรงตามกลุ่มของเห็ดนั้นๆ
แอปพลิเคชันนี้ จึงเป็นเพียงเครื่องมือช่วยในการตัดสินใจ และเฝ้าระวังเห็ดพิษที่ได้จากป่า
โฆษณา