30 ธ.ค. 2019 เวลา 03:00 • ธุรกิจ
EP.3 รายได้ของกลุ่มอาหารใน Central Retail
3
วันนี้เราจะมาต่อกันที่กลุ่มธุรกิจอาหารของ Central Retail กันบ้าง โดยผมต้องบอกทุกท่านก่อนว่านี้เป็นอีกกลุ่มที่สร้างรายได้ให้กับ เซ็นทรัล รีเทล คอร์ปอเรชั่น (CRC) ได้มากพอ ๆ กับกลุ่มแฟชั่นเลยทีเดียว
1
📷 Centralretail.com
ธุรกิจ Food ของทาง CRC มีความหลากหลายและครอบคลุมทั้งส่วนของ ซุปเปอร์มาร์เก็ต ไฮเปอร์มาร์เก็ต และร้านสะดวกซื้อ
โดยมีแบรนด์ชั้นนำอยู่ทั้งหมด 6 แบรนด์ คือ Central Food Hall, Tops, FamilyMart, Big C (GO) ที่เวียดนาม, LanChi Mart ที่เวียดนาม, และ Matsumoto Kiyoshi
1. Central Food Hall
📷 Centralretail.com
Central Food Hall เป็นแบรนด์ที่ทุกปรับโฉมหลังจากที่ Central ได้ซื้อกิจการ Tops ทั้งหมดต่อจาก Royal A.Hold ในปี พ.ศ. 2547
โดยแบรนด์นี้ถูกปรับให้มีความ Premium มากขึ้น และตั้งอยู่ในสาขาที่ผู้บริโภคมีกำลังซื้อสูงอย่างเซ็นทรัลชิดลม (อีกแล้ว) เซ็นทรัลเวิลด์ เป็นต้น โดยวาง Position ไว้สู้กับ Gourmet Market (กูร์เมต์ มาร์เก็ต) ของ The Mall โดยตรง
Central Food Hall ดำเนินการภายใต้บริษัทเดียวกับ Tops คือ บริษัท เซ็นทรัล ฟู้ด รีเทล จำกัด ซึ่งผมจะกล่าวถึงรายได้ของบริษัทนี้ในส่วนต่อไป
2. Tops
📷 Centralretail.com
หลังจากที่ Central ซื้อ Tops ต่อจาก Royal A.Hold แล้ว Tops ก็ถูกแตกออกเป็นแบรนด์ย่อย ๆ อีกหลายแบรนด์ เพื่อจับลูกค้ากลุ่มที่แตกต่างกันออกไป
Tops Market เป็นซูปเปอร์มาร์เก็ตที่จำหน่ายทั้งอาหารสด และอาหารแห้ง ซึ่งเป็นรูปแบบทั่วไปที่เราจะเห็นในห้างสรรพสินค้า
1
Tops Superstore เป็นไฮเปอร์มาร์เก็ตขนาดใหญ่ มีทั้งการจำหน่ายอาหารสด และอาหารแห้งเหมือนกับซูปเปอร์มาร์เก็ต รวมทั้งมีสินค้าอื่น ๆ จาก Central Retail มาขายด้วย เช่น Power Buy, Supersport เป็นต้น
📷 Centralfoodhall.com
Tops daily เป็นซุปเปอร์มาร์เก็ตขนาดเล็กที่มีสินค้าและบริการครบครัน ซึ่งตั้งอยู่ภายนอกห้างสรรพสินค้า และกระจายอยู่ทั่วประเทศ
📷 Centralretail.com
Tops Plaza เป็นรูปแบบของศูนย์การค้า ซึ่งภายในจะมี 2 โซน คือ โซนไฮเปอร์มาร์เก็ต ในรูปแบบของ Tops Superstore และโซนพลาซ่า ซึ่งมีพื้นที่ให้เช่า โดย Tops Plaza จะเน้นเปิดในจังหวัดเล็ก ๆ
📷 Centralretail.com
หากเราดูผลประกอบการย้อนหลังของ บริษัท เซ็นทรัล ฟู้ด รีเทล จำกัด ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2555 ถึง พ.ศ. 2561 จะพบว่า
Source: กรมพัฒนาธุรกิจการค้า
รายได้เติบโตจาก 29,053 ล้านบาท ไปเป็น 42,529 ล้านบาท คิดเป็นการเติบโตเฉลี่ย 6.56% ต่อปี
ส่วนกำไรเติบโตจาก 237 ล้านบาท ไปเป็น 530 ล้านบาท คิดเป็นการเติบโตเฉลี่ย 14.35% ต่อปี ซึ่งถือว่าดีทีเดียว
3. FamilyMart
📷 Centralretail.com
หลังจาก Central เข้าซื้อหุ้นของบริษัท สยามแฟมิลี่มาร์ท 50.29% ในปี พ.ศ. 2555 นอกจาก CRC จะได้สิทธิ์ในการบริหาร FamilyMart ในประเทศไทยแล้ว ยังได้เปลี่ยนชื่อ บริษัท สยามแฟมิลี่มาร์ท จำกัด เป็น บริษัท เซ็นทรัล แฟมิลี่มาร์ท จำกัด
1
หลังจากนั้น Central ได้มีการปรับปรุง FamilyMart หลายส่วน เช่น ปรับปรุงสาขาให้มีความทันสมัยมากขึ้น มีการเปิดสาขาในห้างเซ็นทรัล นำระบบ 1 card เข้ามาใช้ใน FamilyMart นำสินค้าประเภทอาหารจาก Central Restaurant Group (CRG) เข้ามาจำหน่ายใน Family Mart เป็นต้น
หากเราดูผลประกอบการย้อนหลังของ บริษัท เซ็นทรัล แฟมิลี่มาร์ท จำกัด ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2555 ถึง พ.ศ. 2561 พบว่า
1
Source: กรมพัฒนาธุรกิจการค้า
รายได้เติบโตจาก 12,437 ล้านบาท ไปเป็น 17,884 ล้านบาท คิดเป็นการเติบโตเฉลี่ย 6.24% ต่อปี
แต่...กำไรลดลงจาก 104 ล้านบาท ไปเป็นขาดทุน 360 ล้านบาท เรียกได้ว่าตลอด 7 ปีที่ผ่านมาขาดทุนเกือบทุกปี 😅
4. Big C (GO!) ประเทศเวียดนาม
📷 Centralretail.com
Big C ในเวียดนามถูกวางเป็นเรือธงในการลุยธุรกิจรีเทลในเวียดนามของ Central ในปัจจุบัน Big C กำลังอยู่ระหว่างการ Rebranding เป็น GO!
ภายใน GO! แบ่งออกเป็น 2 โซน คือ โซนของซูเปอร์มาร์เก็ต ซึ่งทาง CRC ดำเนินการจำหน่ายสินค้าอุปโภคและบริโภค และโซนของพลาซ่า ซึ่งทาง CRC เปิดให้เช่าพื้นที่ขายสินค้า คล้ายศูนย์การค้าในประเทศไทย
1
5. LanChi Mart ประเทศเวียดนาม
📷 Centralretail.com
LanChi Mart เป็นไฮเปอร์มาร์เกตขนาดเล็กตั้งอยู่แถบชานเมืองทางตอนเหนือของเวียดนาม เน้นขายสินค้าอุปโภคและบริโภค ดูบรรยากาศภายในแล้วคล้ายแมคโครบ้านเรา
📷 Centralretail.com
6. Matsumoto Kiyoshi
📷 Matsumoto Kiyoshi
เมื่อปี พ.ศ. 2558 Central Food Retail Group ได้ร่วมทุนกับ Matsumoto Kiyoshi Holding Co., Ltd. ประเทศญี่ปุ่น เพื่อจัดตั้ง "บริษัท เซ็นทรัล และ มัทสึโมโตะ คิโยชิ จำกัด" เพื่อดำเนินธุรกิจจัดจำหน่ายสินค้าสุขภาพและความงาม ภายใต้ชื่อร้าน Matsumoto Kiyoshi
ซึ่งหากย้อนไปดูผลประกอบการย้อนหลังของ บริษัท เซ็นทรัล และ มัทสึโมโตะ คิโยชิ จำกัด ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2559 ถึง พ.ศ. 2561 พบว่า
Source: กรมพัฒนาธุรกิจการค้า
รายได้เติบโตจาก 208 ล้านบาท ไปเป็น 769 ล้านบาท คิดเป็นการเติบโตเฉลี่ย 92.28% ต่อปี
ขาดทุนลดลงจากขาดทุน 29 ล้านบาท ไปเป็นขาดทุน 14 ล้านบาท ซึ่งเป็นแนวโน้มที่ดี
1
ทั้งหมดนี้คือแบรนด์ที่อยู่ภายใต้กลุ่มธุรกิจ Food ของ Central Retail Corporation ครับ ใน Episode หน้าเราจะมาดูกลุ่มธุรกิจ Hardline ของ CRC ซึ่งเป็นกลุ่มสุดท้ายกันครับ 🙂
ติดตาม “InvesTalk – สนทนาภาษานักลงทุน” ได้ทาง
ขอบคุณครับ
อ้างอิง
- กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา