30 ธ.ค. 2019 เวลา 15:53 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
Organizational Psychology กับ Organizational Transformation (EP1)
ยุคนี้เป็นยุคที่ว่าด้วยเรื่องการวิวัฒน์ขององค์กร (Organizational Transformation) การปรับเปลี่ยนองค์กรให้อยู่รอดสามารถแข่งขันได้ หรือเรียกง่ายๆว่าคือการปรับเปลี่ยนเพื่อไปสู่สิ่งที่ดีกว่า
แต่ก่อนจะมาสู่ยุค Transformation ในปัจจุบัน มีการศึกษาเกี่ยวกับการปรับการเปลี่ยนองค์กรตั้งแต่ยุคปฏิวัติอุตสาหกรรม
โดยเฉพาะในสมัยก่อนปี 1991 ช่วง 1913 เป็นต้นมา มีนักวิทยาศาสตร์ด้่่านพฤติกรรม นักจิตวิทยา และนักสถิติกลุ่มหนึ่ง มีเป้าหมายในการศึกษาพฤติกรรมมนุษย์ โดยมีเป้าหมายหลักคือการปรับพฤติกรรมมนุษย์ให้สามารถทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ มีผลิตภาพสูงขึ้น
เป็นศาสตร์ที่เรียกว่า Industrial Psychology หรือ Organizational Psychology ตัวอย่างการศึกษาที่มีชื่อเสียงและเป็นรากฐาน คือ การศึกษาที่เรียกว่า Time & Motion
ในปี 1913 ได้มีการตีพิมพ์ Textbook ด้านจิตวิทยาอุตสาหกรรม
Time & Motion คือ การจับเวลาว่างาน 1 อย่าง ใช้เวลาเท่าไร เพิ่อให้ได้ค่ามาตรฐานของการผลิตสินค้า 1 หน่วย การทำแบบนี้ทำให้รู้ว่าใครทำงานได้มาตรฐาน ใครต่ำกว่ามาตรฐาน และทำให้เพิ่ม Productivity ในการทำงานได้
จากข้อค้นพบเหล่านี้ทำให้ต้อเกิดการแบ่งงานเป็นส่วนๆ เช่น งานก่อกำแพง ประกอบไปด้วย
1) ส่วนขนอิฐ 2) ส่วนทาปู 3) ส่วนฉาบปูน เป็นที่มาของการแบ่ง Function งานในเวลาต่อมา
เพราะในยุคนั้นการผลศึกษาต่างๆ ได้ยืนยันแล้วว่าการแบ่งงานทำให้ผลผลิตเกิดเร็วขึ้น
และการที่คนทำงานนั้นๆซ้ำๆไปมา จะทำให้เกิดความเชี่ยวชาญ และจะได้ผลผลิตที่มาขึ้นในเวลาเท่าเดิม
ระบบการศึกษาในยุคนั้นจึงมุ่งเน้นการสร้างความเชี่ยวชาญ เนื่องจากระบบอุตสาหกรรมได้รับประโยชน์สูงสุดจากการที่ระดับ Productivity สูงขึ้นเรื่อยๆ จากการที่คน 1 คนทำงานได้เร็วขึ้นในต้นทุนที่ลดลง
แต่ในยุคหลัง 1991 เป็นต้นมาเริ่มเกิดสิ่งที่เรียกว่า Technology Disruption ระดับ Productivity ขึ้นอยู่กับ Technology
เป็นที่มาของยุคที่คนเริ่มใช้คำว่า Transformation เนื่องจากการดำเนินงานรูปแบบเดิมๆ ที่มุ่งเน้นการพัฒนาที่ละลำดับขั้นไม่เพียงพอต่อการแข่งขันทางธุรกิจ
จากการที่มีกลุ่มบริษัทเทคโนโลยีได้กำเนิดขึ้นมาจากกลุ่ม Startup ผ่านการเติบโตแบบก้่าวกระโดด (Exponential Growth)
โดยจะเห็นได้ชัดเจนยิ่งขึ้นในช่วง 10 ปีที่ผ่านมารูปแบบการโตแบบ Exponential เป็นเหมือน New Normal หรือมาตรฐานใหม่ที่ใช้ในการเติบโตทางธุรกิจ
End of Episode 1
โฆษณา