แปลงทดลองปลูกข้าวรูปแปดเหลี่ยมในการทดลองนี้เป็นส่วนหนึ่งของการทดลองที่เริ่มต้นโดยคณะอาจารย์จากมหาวิทยาลัยโตเกียวและออกแบบมาเพื่อปลูกข้าวภายใต้สภาพบรรยากาศที่มีระดับเเก๊สคาร์บอนไดออกไซด์แตกต่างกัน Tsukuba, Ibaraki Prefecture, Japan. Credit: Toshihiro Jasegawa, National Agriculture and Food Research Organization of Japan
กราฟฟิคแสดงการลดลงของสารอาหารเฉพาะที่พบในข้าวตามผลการวิจัยที่ตีพิมพ์เมื่อวันที่ 23 พฤษภาคม 2018 ในวารสาร Science Advances. Credit: Elizar Mercado, University of Washington School of Public Health.
อย่างไรก็ตามวิตามินอีกลับเป็นสารอาหารเพียงชนิดเดียวที่พบว่าเพิ่มปริมาณขึ้นอย่างมีนัยสำคัญภายใต้ CO2 ที่สูง นักวิทยาศาสตร์กลุ่มวิจัยนี้กล่าวเพิ่มเติมว่าโดยทั่วไปแล้วเราทราบกันว่าระดับเเก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ที่สูงขึ้นจะเร่งให้พืชเติบโตดีขึ้นเนื่องจากพวกมันมีวัตถุดิบที่ใช้ในการการสังเคราะห์แสงอย่างเเก๊สคาร์บอนไดออกไซด์มากขึ้นนั่นเอง ทำให้มันถูกเร่งอัตราการสังเคราะห์แสงที่มากเกินไป เกินกว่าที่ระบบเผาผลาญของพืชจะรับไหว ทำให้มีระดับคาร์บอนสะสมในเมล็ดข้าวมาก (ผลิตแป้งมากขึ้นนั่นเอง) ข้าวจึงต้องดึงเอาแร่ธาตุและสารอาหารปริมาณสูงจากดินขึ้นมาใช้เพื่อเร่งการสังเคราะห์แสงทำให้ข้าวลดการสะสมธาตุอาหารและคุณค่าทางอาหารในเมล็ดอย่างมาก