Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
กฎหมายย่อยง่าย by Natarat
•
ติดตาม
31 ธ.ค. 2019 เวลา 03:58 • การศึกษา
"ชกต่อยทำร้ายร่างกายกัน แต่ทำไมถึงติดคุกไม่เท่ากัน!?"
ในเทศกาลขึ้นปีใหม่อย่างนี้หลายคนอาจกำลังฉลองกันอย่างมีความสุขด้วยการกินดื่มกับครอบครัวหรือเพื่อนฝูง
ซึ่งหากดื่มกันด้วยความพอดีและมีสติก็คงไม่เกิดปัญหาอะไร
แต่หลายครั้ง เรามักจะเห็นตัวอย่างคนที่ลืมตัวดื่มสุราหรือของมึนเมาอื่น ๆ จนไม่สามารถควบคุมตัวเองได้ ถึงขั้นมีเรื่องทะเลาะวิวาทจนต้องขึ้นโรงขึ้นศาลกันมาแล้ว
pixabay
ซึ่งตามกฎหมายนั้น การชกต่อยทะเลาะวิวาทถือว่าเป็นการทำร้ายร่างกายและเป็นความผิดตามกฎหมายอาญามีทั้งโทษจำคุกและโทษปรับ
แต่เชื่อหรือไม่ว่าคนที่ร่วมชกต่อยทำร้ายร่างกายกันก็อาจถูกลงโทษไม่เท่ากันได้ถ้าอาการบาดเจ็บที่เกิดขึ้นกับแต่ละฝ่ายไม่เหมือนกัน
2
ยกตัวอย่างเช่น นายหมัดหนักมีเรื่องชกต่อยกับนายหมัดเมา ทั้งสองคนได้ชกต่อยที่ใบหน้าของแต่ละฝ่ายไปคนละ 1 หมัด
ผลปรากฏว่านายหมัดหนักได้รับบาดเจ็บหางคิ้วแตก ส่วนนายหมัดเมาถูกชกเข้าที่เบ้าตาและทำให้ตาบอดในที่สุด
pixabay
ทั้ง 2 คนถูกดำเนินคดีในข้อหาทำร้ายร่างกาย โดยนายหมัดเมาถูกลงโทษจำคุก 3 เดือน ส่วนนายหมัดหนักถูกลงโทษจำคุก 3 ปี...
อะไรคือสาเหตุที่ทำให้คำพิพากษาลงโทษแตกต่างกัน ทั้งที่ 2 คนนี้ต่างก็สมัครใจทะเลาะวิวาทกัน?
คำตอบก็คือ เนื่องจากฎหมายอาญาได้กำหนดให้ความผิดฐานทำร้ายร่างกายที่ผู้เสียหายได้รับ "อันตรายสาหัส" เช่น ตาบอด , เสียแขนขา หรือทุพพลภาพนั้น
"ผู้กระทำจะต้องรับโทษหนักขึ้น"
ซึ่งโดยปกติความผิดฐานทำร้ายร่างกายจะมีโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี
แต่ถ้าผู้เสียหายได้รับอันตรายสาหัส
ผู้กระทำอาจถูกลงโทษจำคุกตั้งแต่ 6
เดือนถึง 10 ปีเลยทีเดียว
pixabay
รู้อย่างนี้แล้วก่อนจะมีเรื่องชกต่อยก็คิดกันให้ดี ๆ นะครับ เพราะบางครั้งสาเหตุของการทะเลาะวิวาทก็เกิดขึ้นจากการเมาหล้าหรือพูดจาไม่เข้าหูกันเท่านั้น
แค่เผลอขาดสติเพียงนิดเดียว แต่ผลที่ตามมาอาจทำให้เสียใจไปอีกนานเลยนะครับ
"อันตรายสาหัส" ที่กฎหมายกำหนดไว้มีอะไรบ้าง?
ถ้าได้ประโยชน์จากบทความนี้ ช่วยกด Like, Share ด้วยนะครับ 😻
8 บันทึก
120
41
19
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
กฎหมายอาญา
8
120
41
19
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย