1 ม.ค. 2020 เวลา 14:08 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
"เมฆาฟ้าคะนอง" พายุฝนฟ้าคะนองอันเกิดจากลมหายใจของไฟป่า 🔥⚡
เมื่อไฟป่าในออสเตรเลียกำลังสร้างพายุฝนฟ้าคะนองอันเป็นสาเหตุให้เกิดไฟป่าเพิ่มขึ้น 😯🌩
ไฟป่าสร้างพายุฝนและพายุสายฟ้าฟาด
ซึ่งพายุฝนฟ้าคะนองที่เกิดจากไฟป่านี้สร้างฟ้าผ่ารุนแรง อันเป็นสาเหตุให้ไฟป่าแผ่ขยายพื้นที่และกำลังสร้างปัญหาให้กับออสเตรเลียในปัจจุบัน
ไพโรคิวมูโลนิมบัส (pyrocumulonimbus) คือเมฆฝนชนิดพิเศษที่ทำให้เกิดฝนฟ้าคะนองอย่างรุนแรงอันเนื่องมาจากแรงยกตัวของกระแสอากาศร้อนที่เกิดจากไฟป่า
อากาศร้อนยกตัวขึ้นทำให้เกิดก้อนเมฆแนวตั้งยกตัวสูง ซึ่งทำให้เกิดฝนฟ้าคะนอง, เครดิตภาพ: Dake/Wikimedia Commons
ปกติพายุฝนฟ้าคะนองจะเกิดจากเมฆฝนที่เรียกว่า คิวมูโลนิมบัส ซึ่งเกิดจากกระแสอากาศร้อนยกตัวสูงขึ้นไปเจออากาศเย็นในบรรยากาศชั้นสูงทำให้ไอน้ำกลั่นตัวเป็นเมฆฝนกลุ่มใหญ่
เมฆคิวมูโลนิมบัส (cumulonimbus) และกระบวนการเกิดพายุฝนฟ้าคะนองรวมถึงพายุฤดูร้อน, เครดิตภาพ: Wikipedia
ซึ่งเป็นสาเหตุของพายุฝนฟ้าคะนอง ทั้งลมพายุ ฝนตกหนักและฟ้าร้องฟ้าผ่า ซึ่งบ้านเราพบเจอบ่อยในช่วงหน้ามรสุม และพายุฤดูร้อน
กระบวนการเกิดพายุฝนฟ้าคะนองจากไฟป่า, เครดิตภาพ: Bureau of Meteorology
แต่เมฆ pyrocumulonimbus นั้นพิเศษกว่าตรงที่มันได้แรงเสริมจากความร้อนของกลุ่มควันไฟป่า และเมฆที่ผสมกับหมอกควันจะทำให้เกิดฟ้าผ่ารุนแรงกว่าพายุฝนฟ้าคะนองปกติ
โดยเมฆ pyrocumulonimbus นั้นสามารถก่อตัวสูงขึ้นไปในชั้นบรรยากาศได้เกือบ 50 กิโลเมตร
ตัวอย่างของพายุฟ้าผ่า เช่น พายุฟ้าผ่าที่เกิดจากภูเขาไฟระเบิด
ภาพพายุสายฟ้าจากการระเบิดของภูเขาไฟ, เครดิตภาพ: tokkoro.com
ในปีที่ผ่านมาออสเตรเลียต้องต่อสู้กับปัญหาไฟป่าที่สร้างความเสียหายเป็นพื้นที่กว่า 12 ล้านเอเคอร์ มีผู้เสียชีวิตกว่า 10 รายซึ่งรวมถึงเจ้าหน้าที่ดับไฟป่าด้วย
ซึ่งจากภาพถ่ายดาวเทียมด้านบนแสดงให้เห็นถึงเมฆ pyrocumulonimbus ที่สูงทะลุขึ้นไปในชั้นบรรยากาศสูงจากพื้น 16 กิโลเมตร
วีดีโอด้านบนแสดงถึงการทดลองเพื่อศึกษาการเกิดเมฆ pyrocumulonimbus จากไฟป่า ซึ่งจะเห็นได้ถึงการเกิดพายุฝนฟ้าคะนองอันมีสาเหตุจากไฟลามทุ่งในบริเวณใกล้เคียง
ไฟป่าที่เป็นต้นตอของกลุ่มเมฆฝนและพายุฝนฟ้าคะนอง
ทั้งนี้เมฆ pyrocumulonimbus ก็ไม่ได้เกิดทุกครั้งที่มีไฟป่า ขึ้นอยู่กับปัจจัยแวดล้อมอื่นเช่น กระแสลม ความชื้น ด้วย
ก็เป็นอีกความรู้ที่มนุษย์เราต้องเรียนรู้เพื่อนำมาปรับกลยุทธ์สู้ไฟป่า "ตัดไฟแต่ต้นลม" ยังคงใช้ได้ดีเสมอ 😔
โฆษณา