Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
เรื่องเล่าคนเข้าป่า
•
ติดตาม
19 ม.ค. 2020 เวลา 13:23 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
องค์การสหประชาชาติ (UN) ประเมินว่า ประชากรโลกจะเพิ่มขึ้นจาก 7,700 ล้านคน
เป็น 9,700 ล้านคนในปี ค.ศ. 2050 หรืออีก 30 ปีข้างหน้า อาจมากถึง 11,00 ในช่วงปลายปี
ทำให้โลกต้องการความท้าทาย ที่ต้องผลิตอาหารให้เพียงพอ
แต่นอกจากเป้าหมายการผลิตอาหารยังมีอีกหนึ่งเป้าหมายที่มาพร้อมกัน
1
นั่นคือ "การกำจัดเศษเหลือหลังจากการบริโภค"
ทุกวันนี้ 30% ของอาหารที่ผลิตออกมาถูก "ทิ้ง" และ 8% ของก๊าซเรือนกระจกเกิดจากขยะอาหาร
1
ขยะอาหารเหล่านี้ใช้น้ำมากถึง 25% ของน้ำที่ใช้เพื่อการเกษตร และใช้ที่ดินในการปลูก
หรือการผลิตขนาดใหญ่เท่าประเทศจีนทั้งประเทศ
https://ourworldindata.org/future-population-growth
........เพราะอะไรอาหารถึงถูก "ทิ้ง" ?
อาหารที่ถูกผลิตออกมาอย่างมากมาย บางส่วนเสียหายระหว่างการขนส่ง ทำให้มาไม่ถึงมือเรา สมมุติว่าเปรียบอาหารเป็นเงิน เงินเก็บของคุณหายไปจากบัญชี 30 % ทุกครั้งของเมื่อคุณเก็บเงิน
หรือคุณขายของแล้วสินค้าของคุณราว 30% ไม่สามารถขายได้ สิ่งนี้กำลังเกิดขึ้นกับอาหารทั่วโลก อาหารที่หายไปหากคิดเป็นเงินนั้นมีค่าถึง 1 ล้านล้านเหรียญหรือ 31 ล้านล้านบาท และหากคิดเป็นน้ำหนักจะหนักถึง 1.3 พันล้าน
ซึ่งเพียงพอที่จะเป็นอาหารให้คนถึง 3,000 ล้านคน ซึ่ง “ขยะอาหาร” (food waste)
มักเกิดในประเทศที่พัฒนาแล้ว
ขยะอาหาร คือ สิ่งเหลือทิ้ง ในขั้นตอนการบริโภคไม่ว่าด้วยเหตุใดก็ตาม
ยุโรปและอเมริกาเหนือ 1 คน สร้างขยะอาหารเฉลี่ย 95-115 กิโลกรัมต่อปี
เอเชียใต้และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ 1 คน สร้างขยะอาหารเฉลี่ย 6-11
กิโลกรัมต่อปี
ทำไมจึงเกิดในประเทศพัฒนา ?
ลองจินตนาการถึง คุณเดินเข้าไปในห้างสรรพสินค้า หรือ ตลาดสด เวลาคุณซื้อสินค้าหรืออาหารสดคุณมักจะเลือกอาหารที่หน้าตาดูดี ไม่ใกล้หมดวันอายุ นั้นก็เพราะเรามีตัวเลือกไงครับ เราจึงสามารถกักตุนอาหาร และยังเลือกอาหารได้อีกด้วย
หากอาหารรูปร่างหน้าตา "ไม่สวยไม่สมประกอบ" บางทีคนก็เลือกที่จะไม่กิน หรือบางคนซื้อมาเยอะจนกินไม่ทัน ดูเป็นเรื่องไร้สาระไหมครับ แต่สิ่งนี้กำลังเกิดขึ้นจริงบนโลกใบนี้!!!!!
งานวิจัยในสหรัฐอเมริกาพบว่า คนอเมริกันทิ้งอาหารที่สามารถกินได้เฉลี่ยนคนละ 0.4 กิโลกรัมต่อวัน และ 1 ใน 5 ของผักผลไม้จากฟาร์มไม่สามารถขึ้นไปอยู่บนชั้นวางสินค้าได้ เนื่องจากมีขนาดและรูปร่างของมัน "ไม่ได้มาตรฐาน"
http://www.tei.or.th/
ประเทศไทยก็กำลังประสบปัญหานี้อยู่เช่นกัน....
เพียงแต่ข้อมูลของไทยยังไม่มีตัวเลขที่แน่ชัด แต่นึกกันดูว่าภายใน 1 วัน พฤติกรรมการกินเราเป็นเช่นไร คนไทยส่วนใหญ่พึ่งพาอาหารนอกบ้านเป็นหลัก
ยกตัวอย่าง เด็กมหาลัยต้องตื่นเช้าไปเรียนอาจกินข้าวไม่ทัน ต้องซื้อข้าวเหนียวหมูปิ้ง ช่วงพักเบรคอาจซื้อชานมไข่มุกสักแก้ว กาแฟสักหน่อย ข้าวเที่ยงอีก 1 มื้อ ตกเย็นไปกินกับเพื่อนสั่งส้มตำ หรือกินบุฟเฟ่ต์ ลองคิดเล่น ๆ ดูว่าใน 1 วันคุณกินอะไร แล้วเหลือทิ้งมากน้อยเพียงใด
🤔🤔🤔🤔
7 อันดับเมนูยอดฮิตของคนไทยที่สร้างขยะอาหารและพลาสติกเป็นจำนวนมากในแต่ละวัน
1. ข้าวเหนียวหมูปิ้ง : ถุงพลาสติก ถุงหูหิ้ว ไม้เสียบหมู ถุงน้ำจิ้มและยางรัดถุง(บางร้าน)
2. ชานมไข่มุก : แก้วพลาสติก ฝาซีล หลอดพลาสติก ถุงหูหิ้ว ใบเสร็จ กระดาษทิชชู่พันแก้ว
3. บะหมี่กึ่งสำเร็จรูปแบบถ้วย : ถ้วยพลาสติกหรือกระดาษเคลือบพลาสติก ฝาฟรอย ส้อมพลาสติกในถ้วย ซองเครื่องปรุง
4. ข้าวกล่องร้านตามสั่ง : กล่องพลาสติก ยางรัดกล่อง ถุงหูหิ้ว ซองน้ำพริก พลาสติกรองกล่องโฟม แม็ก
5. ข้าวกล่องเซเว่น : กล่องโฟมบรรจุอาหาร แผ่นพลาสติกปิดอาหาร ช้อนส้อมพลาสติก
6. กล้วยเซเว่น : เปลือกกล้วย ถุงพลาสติก
7. บุฟเฟ่ต์ : เศษอาหาร และคราบน้ำมัน น้ำจิ้ม น้ำซุป เป็นจำนวนมาก
****** ผู้คนในทวีปอเมริกาเหนือก่อขยะอาหารเฉลี่ย 105 กิโลกรัมต่อปี ขยะเหล่านี้สามารถเปลี่ยนเป็นพลังงานไฟฟ้าเพื่อใช้กับหลอดไฟ 100 วัตต์ ได้นาน 2 อาทิตย์ หรือใช้กับเตาอบที่สามารถอบอาหารได้ 1 ชั่วโมง ******
แล้วจะเป็นอะไรเมื่อเราทิ้งอาหารที่ยังกินได้ให้เป็นขยะ ?
1
การที่เราทิ้งอาหารที่เรากินได้นั้นไม่ได้หมายถึงการทิ้งอาหารเพียอย่างเดียว เพราะการที่อาหารถูกผลิตขึ้นมานั้นต้องใช้ทรัพยากรต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น น้ำ แร่ธาตุ ธัญพืช ที่ดิน แรงงาน พลังงาน และอีกมากมาย เช่น หากเราทิ้งข้าว 1 จาน
เราต้องสูญเสียน้ำจากกระบวนการต่าง ๆ มากถึง 55 แกลลอน หรือประมาณ 203.5 ลิตร
คนเราเฉลี่ยดื่มน้ำวันละ 2 ลิตร เท่ากับ เราสูญเสียน้ำที่สามารถนำมาใช้ดื่มได้ไปถึง 100 วัน
นั้นหมายความว่าหากเอาขยะอาหารที่เกิดขึ้นในแต่ละปีมากองรวมกัน เราต้องใช้ที่ดินในการผลิตอาหารที่เราไม่ได้กินนี้อย่างมาก และยิ่งไปกว่านั้นที่ดินจากการเพาะปลูก หรือทำฟาร์มอาจต้องแลกมาด้วยการบุกรุกผืนป่า ซึ่งเป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์หลายสายพันธุ์ ต้องเสียที่อยู่อาศัยไป ต้นไม้มีปริมาณลดลง
สิ่งเหล่านี้คือผลกระทบที่เรามองไม่เห็นจากการทิ้งอาหารที่ยังกินได้ หรือไม่ได้กิน ผลกระทบนี้ไม่ใช่แค่การสิ้นเปลืองทรัพยากรในการผลิตเท่านั้น
แต่เมื่อาหารถูกทิ้งลงหลุมฝังกลบไปแล้ว กระบวนการย่อยสลายตามธรรมชาติจะก่อให้เกิดก๊าซเรือนกระจกตามมา และก๊าซเหล่านี้เมื่อเข้าสู่ขั้นบรรยากาศแล้ว จะส่งผลให้อุณหภูมิโลกเพิ่มสูงขั้น น้ำแข็งละลาย น้ำทะเลเพิ่มสูง สภาพอากาศเปลี่ยนแปลง ฝนตกไม่เป็นฤดู ซึ่งในท้ายที่สุดก็จะย้อนกลับมาทำลสยพืชผลทางการเกษตร
!!!!!!! นี้คืออาหารที่ถูกทิ้ง !!!!!!
หนึ่งในผู้รณรงค์แสดงให้เห็นถึงความสำคัญของวิกฤตขยะอาหาร ด้านหลังของเขาคืออาหารที่ถูกเก็บมาจากถังขยะทั้งสิ้น และไม่เพียงแค่อาหารเท่านั้น
****** กว่าจะได้มาซึ่งอาหารต้องใช้ทรัพยากรมากแค่ไหน สำหรับเนื้อหมู 1 กิโลกรัม ใช้น้ำทั้งหมด 6,000 ลิตร หรือเทียบได้กับการอาบน้ำฝักบัว 188 ครั้ง และเทียบได้กับการอาบน้ำในอ่าง 250 ครั้ง ******
ทุกวันนี้ไม่ควรมีใครเข้านอนขณะที่ยังหิว และขยะอาหารคือสิ่งที่ไม่ควรจะเกิดขึ้น มันเป็นสิ่งที่เราทุกคนสามารถช่วยลดได้ ไม่ใช่แค่เป็นการช่วยเหลือผู้คนที่ยากจน เพราะ "การกินให้หมด" มีคุณค่าต่อโลกไม่น้อยไปกว่าการเลิกใช้พลาสติก
กินอาหารไม่หมดทำให้โลกร้อนได้!!!!!!!!
blockdit.com
เรื่องเล่าคนเข้าป่า
กินอาหารไม่หมด....แค่กินไม่หมดก็ทำให้โลกร้อน!!! เคยได้ยินบทสวดนี้กันไหมครับ ข้าวทุกจานอาหารทุกอย่างอย่ากินทิ้งขว้าง เป็นของมีค่าผู้คนอดอยากมีมากหนักหนา สงสารบรรดาเด็กตาดำๆ
ที่มา :
https://www.voathai.com/a/un-population-reached-2-billion-in-2050/4965697.html
https://www.creativethailand.org/article/howto/32270/read#Solution_Dec_19
วารสารข่าวกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม ปีที่ 15 เดือนกรกฎาคม 2562
https://thelachatupdate.com/2018/03/12/interview-with-rob-greenfield/
https://ngthai.com/environment/17253/food-waste-crisis/
12 บันทึก
89
27
30
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
เรื่องของขยะที่ไม่ใช่แค่ขยะอีกต่อไป
12
89
27
30
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย