Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
Mr.Sci
•
ติดตาม
2 ม.ค. 2020 เวลา 16:39 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
ถุงผ้ารักษ์โลกดีกว่าการใช้ถุงพลาสติกจริงหรือ ?? ความจริงอีกด้านที่คุณอาจยังไม่รู้
หลังจากที่รัฐบาลออกนโยบายแบนการใช้ถุงพลาสติกตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2563 เป็นต้นไป แน่นอนครับว่าสื่อโซเชียลก็ออกมาแสดงความเห็นกันทั้งทางบวกและทางลบกันอย่างหลากหลายเป็นที่ถกเถียงไม่รูัจบแน่นอน แต่ในวันนี้เราจะไม่ได้มาพูดถึงประเด็นเรื่องนี้กันครับ แต่จะมาพูดถึงเรื่องการใช้ถุงผ้าทดแทนถุงพลาสติกว่าจริงๆแล้วมันดีจริงหรือไม่??? เพราะหลายๆคนต่างสนับสนุนกันเหลือเกินและโปรโมทกันมาซักพักใหญ่ๆแล้ว
จริงๆแล้วถุงผ้าที่เราใช้กันทุกวันนี้ ส่วนมากเป็น"ผ้าพลาสติกจำแลง” ที่ทำมาจากเส้นใยพลาสติกซึ่งอาจมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมมากกว่าถุงพลาติกธรรมดาซะอีก Cr.https://qz.com/1585027/when-it-comes-to-climate-change-cotton-totes-might-be-worse-than-plastic/
นั่นเพราะว่าถุงผ้ารักษ์โลกที่โปรโมทกันนั่น จริงๆถ้ามองดูในท้องตลาดจริงๆมากกว่าครึ่งมักทำมาจาก "ผ้าฝ้ายผสมพลาสติก” หรือ "้ผ้าจากเส้นใยพลาสติก" กันทั้งนั้น ถามว่าทำไมถึงต้องผสมพลาสติดลงในฝ้ายหรือใช้เส้นใยพลาสติกเลยแทนที่จะใช้เส้นใยฝ้าย 100% นั่นก็เพราะว่าการผสมเส้นใยช่วยเพิ่มคุณสมบัติในการพิมพ์สี การคงรูป และเพิ่มความทนทานในการซักล้าง ตลอดจนอายุการใช้งานได้มากว่าการใช้ถุงผ้าฝ้าย 100% อย่างมากและที่สำคัญคือมันช่วยลดต้นทนการผลิตลงได้อย่างมหาศาลด้วยนั่นเอง ปัญหาคือการผสมเส้นใยพลาสติกลงกับผ้าฝ้ายแม้จะช่วยปรับปรุงให้ถุงผ้ามีคุณสมบัติที่ดีขึ้นแต่ก็อาจเพิ่มปัญหาทางสิ่งแวดล้อมในระยะยาวจากการเสื่อมสลายของเส้นใยพลาสติกเป็นเม็ดไมโครพลาสติก (Microplastic bead) สะสมในระบบนิเวศระยะยาวจนอาจเป็นปัญหาต่อสุขภาพได้
ในปัจจุบันถุงผ้าที่นิยมใช้อยู่ในตลาดหลักๆที่นิยมใช้กันมีอยู่ 2 ประเภทคือ [1] ถุงผ้าสปันบอร์น (Spunbond bag โดยคำว่า spun - การปั่นเป็นเส้นใย , bond - เชื่อมเป็นแผ่น) เป็นถุงผ้าที่ทำจากเส้นใยโพลิเมอร์พลาสติกสังเคราะห์ชนิด Polypropylene (PP) ด้วยเทคนิคนอนวูฟเวน (Spunbond nonwovens) โดยนอนวูฟเวนเป็นเทคนิคในการขึ้นรูปเส้นใยผ้าจากเม็ดพลาสติกโดยตรงไม่เหมือนกับผ้าปกติที่ต้องทอขึ้นรูป โดยการหลอมเม็ดพลาสติกด้วยเครื่องหลอมอัดรีด (extruder) แล้วทำการอัดพอลิเมอร์หลอมผ่านหัวฉีดเส้นใยเพื่อให้เป็นเส้นใยยาวต่อเนื่องโรยลงบนสายพานเพื่อขึ้นรูปเป็นแผ่นเส้นใยแล้วจึงนำไปตัดเย็บเป็นถุงผ้า (รักษ์โลก) ให้เราได้ใช้งานกัน แน่นอนว่าเส้นใยพลาสติกที่ทอขึ้นรูปแบบนี้ย่อยสลายยากกว่าถุงพลาติกธรรมดามาก แต่ปัญหาจะเกิดขึ้นเมื่อเรานำมันไปตากแดดเป็นเวลานานเพราะพลาสติก PP มีข้อเสียอย่างร้ายแรงคือแพ้แสง UV เมื่อตากแดดนานมันจะกรอบและสลายตัวเป็นเม็ดพลาติกเล็กๆ ซึ่งหากอยู่ในรูปเส้นใหญ่ในถุงผ้าสปันบอร์นแล้ว อัตราการสลายตัวจะยิ่งเร็วเข้าไปใหญ่ ฉะนั้นแล้วทางที่ดีเมื่อใช้ถุงผ้าประเภทนี้ควรรีบเลี่ยงการตากแดดทิ้งไว้นะครับ
ถุงผ้าสปันบอร์นแม้จะใช้งานได้ดีแต่ควรรีบเลี่ยงการตากแดดนะครับ เพราะจะแ้งกรอบและปลดปล่อยเม็ดไมโครพลาสติกที่เป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อมในระยะยาว
ถุงผ้าอีกประเภทคือ [2]ถุงผ้าทีซี (TC fabric bag) s] หลายคนอาจจะคุ้นๆเพราะความที่มันมีสีค่อนข้างเหลืองอ่อนๆ ทำให้คิดไปว่าน่าจะทำมาจากเส้นใยฝ้าย 100% แต่จริงๆแล้วมันทำมาจากการปั่นเส้นใยพลาสติกชนิด Polyethylene terephthalate (PET) เข้ากับเส้นใยฝ้ายในอัตราส่วน 65:35 (PET:Cotton) ทำไมถึงต้องผสม PET ลงไปนั้นเพราะว่ามันเพิ่มคุณสมบัติพิเศษที่มากกว่าเส้นใยฝ้ายปกติหลายข้อ กล่าวคือเพิ่มความคงทนในการซักล้าง และการคงรูป ที่สำคัญคือมันทำให้ผ้าทีซีสามารถพิมพ์ขึ้นรูปสีลงบนเนื้อผ้าโดยตรงได้เลยด้วยเทคนิคการพิมพ์แบบระเหิด (Sublimation transfer printing) ซึ่งผ้าฝ้าย 100% ไม่สามารถจะพิมพ์ขึ้นรูปด้วยเทคนิคนี้ได้ โดยการพิมพ์แบบระเหิดจะใช้เทคนิคการเปลี่ยนหมึกพิมพ์จากของแข็งเป็นแก๊สแล้วทำให้หมึกเย็นตัวอย่างรวดเร็วบนผ้า มันจึงทำให้สีติดทนทาน และเป็นที่นิยมมากในอุตสาหกรรมสิ่งทอ โดยเฉพาะการผลิตถุงผ้าทีซี
ถุงผ้าทีซีแท้จริงแล้วมันถูกผสมผสมพลาสติกลงไปถึงสองในสามส่วน !!!
แน่นอนว่าทั้งถุงผ้าทีซีหรือสปันบอร์นเองหากใช้อย่างถูกวิธีโดยการใช้ซ้ำอย่างถูกวิธี มันก็จะช่วยลดปัญหาการใช้ทรัพยากรที่สิ้นเปลืองโดยเปล่าประโยชน์ได้อย่างดี เพราะอย่าลืมนะครับถุงกระดาษและถุงฝ้าย 100% อาจใช้ทรัยากรทั้งดิน ปุ๋ย อากาศ และอื่นๆมากกว่าการผลิตถุงผ้าจากเส้นใยพลาสติกซะอีก เมื่อรู้อย่างนี้แล้วก่อนใช้ถุงผ้าทุกครั้งเราก็ควรใช้ซ้ำอย่างรู้คุณค่าเพื่อประหยัดทรัพยากรและรักษาสภาพแวดล้อม ในฐานะผู้บริโภคเราก็ไม่ควรละเลยความจริงที่ว่าถุงผ้าที่ใช้มากกว่าครึ่งในตลาดล้วนแล้วแต่เป็นพลาติกจำแลงมาทั้งนั้น ฉะนั้นแล้วใช้อย่างถูกวิธีกันดีกว่าครับ
เปรียบเทียบการใช้ปริมาณทรัยากรอย่างน้ำและแก๊สเรือนกระจกที่ปล่อยออกมาต่อหน่วยการผลิตถุงผ้าแต่ล่ะชนิด Cr.https://thesweetpotato.ca/wp-content/uploads/2017/03/environmental-impact-of-bags.jpg
เกร็ดเล็กเกล็ดน้อยสำหรับที่ไปที่มาของถุงพลาสติกนะครับ !!! ถุงพลาสติกชนิดแรกๆของโลกที่ทำมาจากโพลีเอทิลีน (Polyethylene) ถูกจดวิศวกรสวีดิชที่มีชื่อว่า “สเตียน กุสตาฟ ธูลิน” (Sten Gustaf Thulin)" ในวันที่ 10 กรกฎาคม 1962 และได้รับการรับรองอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 27 เมษายน 1965 โดยตั้งชื่อของมันว่า “ทีเชิ้ต” จากรูปร่างหูหิ้วที่มีลักษณะคล้ายเสื้อทีเชิ้ตนั่นเอง โดยความตั้งใจจริงๆของเขาคือต้องการพัฒนาถุงแบบใหม่ที่ทนทาน ใช้งานและผลิตง่าย รวมถึงสามารถใช้งานซ้ำได้หลายครั้งทนแทนถุงกระดาษแบบเดิมที่ใช้ทรัพยากรจำนวนมากในการผลิต
อย่างไรก็ตามดวยต้นทุนในการผลิตถุงพลาสติกที่ถูกมากและอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจที่สูง บวกกับราคาปิโตรเลียมที่เป็นวัตถุดิบในการผลิตหลักมีราคาถูกมากในสมัยนั้นทำให้ผู้คนเริ่มใช้ถุงพลาสติกกันอย่างบ้าคลั่ง ใช้แค่ครั้งเดียวแล้วทิ้งกันจนเคยชินขึ้นแทนที่จะใช้ซ้ำนานๆ แค่ใส่ของไม่กี่นาทีจากร้านสะดวกซื้อแล้วโยนทิ้งถังขยะไปเลยก็มี
ภาพลิขสิทธิ์ถุงพลาสติกใบแรกของโลกโดยสเตียน กุสตาฟ ธูลิน แล้วทำไมเราต้องแบนการใช้ถุงพลาสติก นั่นเพราะว่าประเทศไทยเป็นผู้นำเข้าถุงพลาติกมากเป็นอันดับสองของโลกและก่อขยะปริมาณมหาศาล
ท้ายที่สุดแล้วพลาสติกไม่ใช่ตัวการทำลายโลกอย่างที่เราหลายๆคนคิด แต่เป็นเพราะนิสัยความเคยชินในการใช้แล้วทิ้งของพวกเราต่างหากที่ก่อให้เกิดปัญหาขยะพลาสติกล้นโลกแบบทุกวันนี้ ถึงเวลาแล้วที่เราควรจะตระหนักถึงปัญหานี้และใช้งานมันอย่างถูกวิธีและคุ้มค่ามากที่สุด
อ้างอิง
[1]
https://web.facebook.com/textile.phys.and.chem/posts/2544670568904695
[2]
https://thepeople.co/sten-gustaf-thulin-plastic-bags-inventor/?utm_campaign=shareaholic&utm_medium=facebook&utm_source=socialnetwork&fbclid=IwAR1X5JaKPPETiwRxM6SNApHijfoWwBd0h0VXlojeUbgKZX7RR1MSi0WM7lE
[3]
https://web.facebook.com/3WheelsUncle/posts/617138595701583
[4]
https://www.elevatedenviro.com/are-tote-bags-really-good-for-the-environment
[5]
https://qz.com/1585027/when-it-comes-to-climate-change-cotton-totes-might-be-worse-than-plastic/
6 บันทึก
21
6
10
6
21
6
10
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย