Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
The Columnist
•
ติดตาม
3 ม.ค. 2020 เวลา 04:30
ร้อยพันเหตุผลที่บอก HR ว่าลาออก มีเพียงไม่กี่เหตุผล ที่คนลาออกจริงๆ
คุณคิดว่าจะมีสักกี่เหตุผลกันแน่ที่คนตัดสินใจลาออกจากบริษัท บทความจาก Harvard Business Review นำเสนอ 5 ปัจจัยที่ส่งผลให้พนักงานออกมากที่สุด แม้ว่าเหตุผลที่ลูกจ้างเดินไปบอก HR จะเป็นคนละเรื่องก็ตาม
1. รู้สึกย่ำอยู่กับที่ ทำกี่ปีก็ไม่เจริญ
ความก้าวหน้าในหน้าที่การงาน เป็นสิ่งที่ลูกจ้างมองหา หากทำงานไปได้สักพักแต่มองไม่เห็นอนาคตในการทำงาน ลูกจ้างมักลาออกไปหาโอกาสที่ดีกว่า ซึ่งโดยมากการลาออกไปทำงานที่ใหม่ในสายงานเดิม ก็มักได้ตำแหน่งและรายได้ที่สูงกว่าเดิมด้วย
“การขึ้นขั้นที่นั่นยากมาก แต่ละขั้นยังซอยเป็นขั้นย่อยๆ อีก คือต้องใช้เวลาอย่างน้อยหนึ่งปี กว่าจะขึ้นขั้นย่อยๆ ได้ แล้วก็สี่ห้าปีกว่าจะขึ้นขั้นหลัก ก็น่าจะตายก่อนอ่ะป่านนั้น”
“เหมือนตำแหน่งมันได้สูงสุดแค่นั้นอ่ะ ทำไปก็เท่านั้น งานเยอะ ความรับผิดชอบเพิ่ม แต่เงินเท่าเดิม ลาออกไปที่ใหม่ได้เยอะกว่า”
2. ผลตอบแทนต่ำกว่าภาระหน้าที่
หากลูกจ้างรู้สึกว่าตนเองได้ผลตอบแทนต่ำกว่าภาระหน้าที่ที่ได้รับ ในขณะเดียวกัน มีงานอื่นที่ให้ผลตอบแทนที่สูงกว่า แต่ภาระหน้าที่เท่ากันหรือน้อยกว่าเดิม ลูกจ้างมักจะลาออกเพื่อไปทำงานที่ใหม่
“ที่นี่งานเยอะมากแก จ้าง 30,000 ทำงานเหมือน 300,000 บางทีก็ต้องทำงานดึกดื่นนะ เงินก็ไม่ได้เพิ่ม แล้วครบปีก็แทบไม่ได้ปรับเงินอะไรเลย งานเพิ่มขึ้น เงินเท่าเดิม ตำแหน่งก็เท่าเดิม”
“ตำแหน่งขึ้นนะ งานเยอะขึ้นด้วย แต่ให้เงินเท่าเดิม พอตำแหน่งขึ้นปุ๊บ นี่เลยลาออกเลย”
3. วัฒนธรรมองค์กรที่ส่งผลต่อสภาพจิตใจ
ระบบการทำงาน การบริหารจัดการ สภาพแวดล้อม และเพื่อนร่วมงาน เป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจลาออก หากวัฒนธรรมองค์กรสร้างเป็นอุปสรรคต่อการทำงาน หรือส่งผลกระจบต่อสภาะจิตใจ ลูกจ้างมักจะตัดสินใจลาออก ซึ่งหลายคนลาออก แม้จะยังไม่ได้ที่ทำงานใหม่
1
“ลาออกก็เพราะคนนี่แหละ เหนื่อยยิ่งกว่างาน จะเป็นโรคซึมเศร้าตาย”
“ระบบงานมันจุกจิกอ่ะ งานยิบย่อยก็เยอะ เลิกงานก็ไลน์มา เสาร์อาทิตย์ก็โทรหา งงป่ะล่ะมึง”
4. ผู้นำที่ไม่มีภาวะผู้นำ
การทำงานภายใต้ผู้บังคบบัญชาหรือผู้บริหาร ที่ลูกจ้างรู้สึกว่าขาดภาวะความเป็นผู้นำ หรือขาดการบริการจัดการที่ดี ส่งผลให้ลูกจ้างอยากลาออก เพราะปัจจัยดังกล่าวส่งผลต่อการทำงาน และอนาคตการทำงานของลูกจ้างโดยตรง
“หัวหน้าเก่าโคตรผีเข้าผีออกอ่ะ เดาใจไม่ถูก บางวันก็หัวเสียมาตะคอกใส่ บางวันก็ใจดี เราก็สุขภาพจิตเสียเหมือนกัน อยู่ไปก็ปวดหัว ปล่อยให้ทำงานคนเดียวไปเหอะ”
“ชอบสั่งงานลวกๆ พอเราไปถามเพิ่มหน่อยก็ด่า บอกพี่บอกไปแล้ว ไม่เก็ทหรอ ทำดีก็ดีไปเลย ทำไม่ดีคือเหมือนออฟฟิศแตก ใครจะอยู่วะ”
5. สมดุลงานและชีวิต
ปัจจุบัน ลูกจ้างเริ่มตระหนักถึง Work-Life Balance มากขึ้น นอกจากเวลาทำงานแล้ว จะต้องมีเวลาส่วนตัวเป็นของตัวเองด้วย หากที่ทำงานไม่เคารพเวลาส่วนตัว หรือต้องทำงานที่กินเวลาส่วนตัวมากเกินไป ลูกจ้างมักจะอยู่ได้ไม่นาน
“หัวหน้าคนเก่าแม่งบ้างานมาก เสาร์อาทิตย์ก็ทักมาถามเรื่องงานตลอด บ้อบอมาก หยุดแต่เหมือนไม่ได้หยุดอ่ะ”
“ทำงานเลิกดึก แต่ไม่ได้เงินเพิ่มงี้อ่ะ ขอให้เราช่วยทำงาน แต่พอเราจะขอลาบ้างกลับไม่ค่อยให้งี้ อีด*ก ช่วงนั้นทะเลาะกับแฟนจนจะเลิกอ่ะ”
โดย 5 ปัจจัยดังกล่าวข้างต้น มีระดับความสำคัญที่แตกต่างกันไปตามแต่ละบุคคล โดยบางคนอาจให้ค่ากับสมดุลงานและชีวิตมากที่สุด แม้ว่ารายได้จะน้อยลง หรือบางคนอาจให้ค่ากับตัวเงินเป็นหลัก ปัจจัยทั้ง 5 ข้อนี้ ยังช่วยให้บริษัท และฝ่ายบุคคลนำไปปรับใช้ เพื่อรักษาลูกจ้างให้อยู่กับบริษัท และลดต้นทุนในการหาพนักงานใหม่ด้วย
สำหรับใครที่ใช้ Facebook สามารถติดตามเราเพิ่มเติมได้อีกหนึ่งช่องทางที่ >>>
https://www.facebook.com/TheCOLUMNISTth/
อ้างอิง:
https://hbrascend.org/topics/factors-that-motivate-employees-to-stay/
?
รูปประกอบ: Pixabay
19 บันทึก
59
12
31
19
59
12
31
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย