4 ม.ค. 2020 เวลา 12:48 • การศึกษา
ความเหลื่อมล้ำในสังคมไทย การศึกษาช่วยได้หรือไม่? #ตอนจบ
จากตอนที่แล้วได้กล่าวถึงเรื่องความเหลื่อมล้ำที่เกิดขึ้นในประเทศไทยในด้านต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น ความเหลื่อมล้ำทางด้านรายได้, ความเหลื่อมล้ำทางความมั่งคั่ง, ความเหลื่อมล้ำในด้านโอกาสการเข้าถึงเทคโนโลยี, ความเหลื่อมล้ำด้านโอกาสทางการศึกษา และความเหลื่อมล้ำทางด้านสาธารณสุข ซึ่งทั้งหมดที่กล่าวมา แสดงว่ายังมีปัญหาความเหลื่อมล้ำแทรกอยู่ในปัญหาส่วนใหญ่ของสังคมไทย
4
https://campus.campus-star.com/variety/3704.html
สามารถอ่าน “ความเหลื่อมล้ำในสังคมไทย การศึกษาช่วยได้หรือไม่? #ตอนแรก” ได้ที่นี่ >>
สิ่งเหล่านี้ถือเป็นความซับซ้อน เกี่ยวพันกันเป็นลูกโซ่ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องความยากจน ความเหลื่อมล้ำ คอรัปชั่น อาจกล่าวได้ว่าถ้าอยากแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำ ก็ควรแก้ปัญหาการคอรัปชั่นหรือการศึกษาให้ได้ด้วย ถ้ามุ่งแก้ปัญหาใดปัญหาหนึ่งก็ไม่จะไม่สำเร็จ
1
ดังนั้นถ้าเรามุ่งแต่จะแก้ปัญหาในภาพใหญ่ ก็คงไม่รู้ว่าต้องเริ่มจากจุดไหนก่อน แต่ถ้ามองย่อยให้เป็นส่วนเล็กๆ จะเห็นว่าถ้าถ้าเราเน้นการพัฒนาไปที่ตัวบุคคล ทำให้คนในสังคมมีความรู้ ความสามารถ เป็นคนที่มีคุณภาพได้อย่างเท่าเทียมกัน สังคมในภาพใหญ่ก็จะดีขึ้นได้
การศึกษาจึงมีบทบาทสำคัญในการพัฒนาบุคลากรของประเทศ แต่ก็ต้องมองย้อนกลับไปว่าทุกวันนี้ ระบบการศึกษาไทยได้ผลิตประชากรที่มีคุณภาพเพียงพอหรือยัง เพราะแม้แต่การศึกษาก็ยังมีความเหลื่อมล้ำอยู่หลายประเด็นเมื่อแตกย่อยลึกลงไป ไม่ว่าจะเป็นปัญหาคุณภาพของโรงเรียน, คุณภาพอุปกรณ์, การขาดแคลนบุคลากร, เงินทุนสนับสนุน, ความรวย-จนที่นำมาซึ่งปัญหาการกลั่นแกล้งในห้องเรียน
ถ้าศึกษาระบบการเรียนการสอนในประเทศที่ได้รับการยกย่องว่ามีการศึกษาที่ดีที่สุดในโลกอย่างประเทศฟินแลนด์ จะพบว่าสิ่งที่ถูกยกให้เป็นเรื่องสำคัญอันดับหนึ่งในการศึกษาคือเรื่องความเท่าเทียม
http://hkwkk.ac.th/archives/54
สิ่งที่เราต้องเข้าใจและจำให้ขึ้นใจคือ ‘เด็กทุกคนแตกต่างกัน’
ด้วยความเข้าใจนี้ เราจึงไม่ควรสร้างระบบการศึกษาเพียงระบบเดียวแล้วบังคับใช้กับเด็กทุกคน แต่ระบบการศึกษานั้นควรมีความยืดหยุ่นและสามารถประยุกต์ให้เข้ากับเด็กที่มีความสามารถแตกต่างกัน เปลี่ยนระบบให้เป็น child-based หรือเน้นไปที่เด็กมากกว่าเน้นไปที่การสอนของอาจารย์เพียงอย่างเดียว
นอกจากนี้ บทบาทของอาจารย์ก็ควรจะเปลี่ยนจาก instructor คือมีหน้าที่สอนอย่างเดียวมาเป็น facilitator หรือผู้อำนวยการสอน คอยสนับสนุน ช่วยเหลือให้เด็กแต่ละคนได้เรียนในสิ่งที่อยากเรียนและได้เป็นในสิ่งที่อยากเป็น ช่วยให้เด็กค้นหาตัวตนและทำให้เกิดพัฒนาการทั้งทางร่างกายและจิตใจ
แนวทางการแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำในระยะสั้นมีหลายวิธี ตรงๆก็เลยก็คือการอัดฉีดเงินเข้าไปในชุมชน การแจกจ่ายที่ดินทำกิน รวมถึงการออกนโยบายเพิ่มรายได้ ไม่ว่าจะเป็นการเพิ่มค่าแรงขั้นต่ำหรือเพิ่มอัตราการเก็บภาษี
แต่ถ้าจะแก้ปัญหานี้ในระยะยาวก็ควรมองที่การพัฒนาคนในประเทศให้มีคุณภาพ มีความรู้ ความสามารถอย่างเท่าเทียมกัน ก็จะช่วยให้สังคมมีคุณภาพที่ดีขึ้นและลดปัญหาความเหลื่อมล้ำให้น้อยลงได้
โฆษณา