Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
Antfield
•
ติดตาม
5 ม.ค. 2020 เวลา 13:22 • ประวัติศาสตร์
Aristides de Sousa Mendes ชายผู้ยอมเอาอนาคตในอาชีพนักการทูตของตนเข้าเสี่ยงเพื่อแลกกับชีวิตของผู้ลี้ภัยนับหมื่น 😯
ในปี 1940 ขณะที่กองกำลังนาซีกำลังยาตราทัพเข้าสู่ฝรั่งเศส เหล่าผู้ลี้ภัยหลายหมื่นคนซึ่งส่วนใหญ่เป็นชาวยิวต่างถาโถมไปยังสถานทูตโปรตุเกสในเมืองบอร์กโดซ์ ฝรั่งเศส
1
หวังเพียงวีซ่าหนึ่งแผ่น ที่จะชี้เป็นหรือชี้ตายชะตาชีวิตพวกเขา 😔
ชายผู้เอาอนาคตอาชีพตัวเองเข้าเสี่ยงด้วยการออกวีซ่าให้กับผู้ขอลี้ภัยแบบไม่อั้น
หลายคนคงเคยได้รับรู้เรื่องราวของ ออสการ์ ชินด์เลอร์ ผ่านภาพยนตร์ schindler's list เรื่องจริงของรายชื่อชาวยิวที่ได้รับการช่วยเหลือพ้นความตายในค่ายกักกันในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2
ภาพยนตร์รางวัลออสกากับเรื่องราวที่ทรงคุณค่าไม่แพ้กัน
วันนี้จะนำพาท่านไปสู่เรื่องราวของอีกหนึ่งบุคคลที่ยอมเอาอนาคตในอาชีพนักการทูตกว่า 30 ปีของตนเข้าเสี่ยงเพื่อแลกกับชีวิตของผู้ลี้ภัยนับหมื่น
ฤดูใบไม้ผลิปี 1940 เมื่อกองทัพนาซีเข้ายึดครองกรุงปารีส ก่อให้เกิดคลื่นผู้อพยพหนีภัยนาซีไปยังตอนใต้ของฝรั่งเศสโดยมีที่หมายหนึ่งคือสถานฑูตโปรตุเกสในกรุง บอร์กโดซ์
เหล่าฝูงชนมากมายห้อมล้อมสถานทูตด้วยความหวังอันริบหรี่นั่นคือ กระดาษหนึ่งแผ่นที่จะช่วยชีวิตพวกเขาได้ซึ่งก็คือ "วีซ่า"
กรุงบอร์กโดซ์ ที่หมายของผู้ขอลี้ภัย หากได้ "วีซ่า" ผู้ลี้ภัยซึ่งส่วนใหญ่เป็นชาวยิวก็จะสามารถมีชีวิตรอดจากชะตากรรมในค่ายกักกัน
รัฐบาลโปรตุเกสสั่งการมายังสถานทูตว่าห้ามมิให้มีการอนุมัติวีซ่าให้กับผู้ขอลี้ภัย ยกเว้นจะได้รับการอนุมัติจากกระทรวงการต่างประเทศ เนื่องจากโปรตุเกสเองไม่อยากรับภาระผู้ลี้ภัย
แต่ "อริสไทเดส ซูซา เดอ เมนเดส" (Aristides de Sousa Mendes) ซึ่งขณะนั้นดำรงตำแหน่งกงศุลใหญ่ประจำสถานทูตโปรตุเกสกลับไม่คิดอย่างนั้น
เมนเดส ในปี 1940 ขณะดำรงตำแหน่งกงศุลใหญ่สถานทูตโปรตุเกสประจำเมือง บอร์กโดซ์ ฝรั่งเศส
วันที่ 17 มิถุนายน 1940 ฝรั่งเศสประกาศยอมแพ้ต่อกองทัพนาซี
และวันเดียวกันนี้หลังจากเก็บตัวอยู่นาน ด้วยปัญหาครอบครัว การโดนภาคทัณฑ์จากรัฐบาลในการฝ่าฝืนคำสั่งก่อนหน้า เมนเดสได้ก้าวออกจากห้องประกาศต่อครอบครัวว่า
"จากนี้ไปเราจะออกวีซ่าให้กับผู้ขอลี้ภัยทุกคน ไม่เลือกเชื้อชาติหรือศาสนา"
ซึ่งภายหลังเขาได้บอกกับลูกชายว่า "พ่อได้ยินเสียงจากพระเจ้าบอกพ่อว่านี่คือสิ่งที่ควรกระทำ และมันทำให้พอสามารถตัดสินใจได้อย่างชัดแจ้ง"
กระดาษแผ่นนี้ที่จะช่วยให้ชาวยิวหลายพันชีวิตรอดพ้นจากชะตากรรมในค่ายกักกัน
แม้ลูกสาวกับสามีของเธอจะคัดค้านอย่างรุนแรง แต่เมนเดสกับลูกชายและผู้ช่วยซึ่งเป็นผู้ลี้ภัย ก็ได้ช่วยกันทำงานเพื่อออกเอกสารวีซ่าให้กับผู้ลี้ภัยอย่างชนิดหามรุ่งหามค่ำ
แต่ก็ไม่ใช่ทุกคนจะเห็นด้วย หลังจากบอร์กโดซ์ถูกทิ้งระเบิดใส่ ฝูงชนก็ยิ่งหลั่งใหลสู่สถานทูตโปรตุเกส รวมถึงสถานกงศุลโปรตุเกสในเมืองบายอน แต่ที่บายอนเจ้าหน้าที่กงศุลไม่ยอมออกวีซ่าให้กับผู้ลี้ภัยตามคำสั่งรัฐบาล
เช้าวันที่ 20 มิถุนายน เมนเดสรีบรุดไปยังสถานกงศุลโปรตุเกสในเมือง บายอน เพื่อขอให้ออกวีซ่าให้กับผู้ลี้ภัย และได้สั่งการให้เริ่มการออกวีซ่าทันที (เมสเดสเป็นกลศุลใหญ่มีอำนาจสั่งการในตอนนั้น)
แต่กงศุลประจำบายอนไม่เห็นด้วยและได้รายงานพฤติกรรมของเมนเดสไปยังกระทรวงต่างประเทศที่ลิสบอน
วันที่ 22 มิถุนายน สัญญาหยุดยิงระหว่างฝรั่งเศส-เยอรมันมีผลอย่างเป็นทางการ กระทรวงการต่างประเทศโทรเลขแจ้งให้เมนเดสหยุดการออกวีซ่าโดยทันที
Emile Gissot, รองกงศุลกิติมศักดิ์ประจำตูลูส ฝรั่งเศส
แต่เมนเดสไม่ได้โทรเลขนั้นเพราะได้เดินทางต่อไปยังเมืองตูลูซ และที่นั่นเมนเดสก็ได้ออกคำสั่งให้รองกงศุลประจำเมืองดำเนินการออกวีซ่าให้กับผู้ลี้ภัย
ซึ่งการกระทำของเมนเดสเป็นที่เลื่องลือไปทั่วยุโรป สถานทูตสเปนและอังกฤษได้ส่งเรื่องร้องเรียนไปยังโปรตุเกสถึงการฝ่าฝืนคำสั่งของเมนเดส
ซึ่งในรายงานร้องเรียนมีทั้งที่ระบุว่า "เมนเดสนั้นเสียสติไปแล้ว" หรือแม้กระทั่งรายงายว่าเขาและพวกเรียกเก็บเงินค่าขอวีซ่าในอัตราสูงกว่าปกติ
วันที่ 24 มิถุนายน ประธานาธิบดี Salazar ได้ออกคำสั่งเรียกตัวเมนเดสกลับกลับประเทศ ซึ่งเมสเดสได้รับเมื่อกลับมาถึงบอร์กโดซ์ในวันที่ 26 มิถุนายน
และวันเดียวกันนี้รัฐบาลโปรตุเกสก็ได้แจ้งไปยังด่านผ่านแดน สเปน-ฝรั่งเศส ว่าวีซ่าที่ออกโดยเมนเดสนั้นเป็นโมฆะทั้งหมด
แต่ในภายหลังด้วยการแทรกแซงโดยนักการเมืองโปรตุเกสเชื้อสายยิว วีซ่าของเมนเดสจึงกลับมาใช้งานได้จนผู้ลี้ภัยเกือบทั้งหมดที่ถือวีซ่าของเมนเดสสามารถอพยพออกจากฝรั่งเศสได้
กว่าเมสเดสจะกลับถึงโปรตุเกสก็ปาเข้าไปวันที่ 8 กรกฎาคม และระหว่างนั้นเขาก็ยังไม่หยุดออกวีซ่าใหกับผู้ลี้ภัย
และในวันที่เขาเดินทางข้ามแดนมายังสเปน เขายังได้พาผู้ลี้ภัยผ่านแดนตามหลังรถทูตของเขามาด้วยอีกจำนวนมาก (ผ่านด่านที่ไม่มีโทรศัพท์แจ้งเรื่องวีซ่าเป็นโมฆะ)
2
** การลงโทษ และชีวิตบั้นปลายที่ยากลำบาก **
หลังจากกลับโปรตุเกสเมนเดสถูกสอบสวนการฝ่าฝืนค่ำสั่ง ตามมาด้วยการลงโทษโดยถูกพักงานหนึ่งปีหักเงินเดือนครึ่งหนึ่ง และหลังจากนั้นก็ไม่เคยถูกเรียกเข้ารับราชการอีกเลย (แต่เมนเดสยังคงได้รับเงินบำนาญ)
ทั้งนี้เมนเดสไม่ได้พยายามต่อสู้คดีมากนักด้วยเกรงว่าจะส่งผลกระทบต่อการรักษาสภาพประเทศเป็นกลางของโปรตุเกสในระหว่างสงคราม
เมนเดสและครอบครัวยังโดนบอยคอตทางสังคม
บางครั้งต้องไปต่อคิวรับปันส่วนอาหารที่โรงครัวสำหรับผู้ลี้ภัย
เมนเดสไม่สามารถที่จะประกอบอาชีพในฐานะนักกฏหมายได้ แม้ว่าเขาจะพยายามขอใบอนุญาติประกอบวิชาชีพใหม่ได้ในปี 1944 แต่ในปี 1945 เขาก็ป่วยด้วย Stroke จนเป็นอัมพาตครึ่งซีกไม่สามารถทำงานได้
เมนเดสในปี 1950
เมนเดสและครอบครัวต้องเขียนจดหมายไปขอเงินช่วยเหลือจากเหล่าผู้ลี้ภัยที่เขาเคยให้วีซ่า ซึ่งมีครั้งหนึ่งเขาได้รับเงินถึง 30,000 escudos ซึ่งถือว่าเยอะมากในตอนนั้น
เมนเดสแต่งงานใหม่กับ Cibial นักเปียโนและนักร้องซึ่งเคยสร้างปัญหาให้กับการแต่งงานครั้งแรกของเขาตอนสมัยเป็นทูตที่ฝรั่งเศส ในปี 1949
ช่วงบั้นปลายของชีวิตเมนเดสและครอบครัวต้องย้ายไปอยู่กับญาติที่ฝรั่งเศสเนื่องจากทนการ บอยคอตจากคนในประเทศและปัญหาครอบครัวระหว่างเมียใหม่กับลูกชายไม่ไหว
ที่นั้นเมนเดสต้องใช้ชีวิตอยู่อย่างยากจนจากนิสัยการใช้เงินมือเติบของคู่ครองใหม่ไปจนวาระสุดท้ายของเขา
ทั้งนี้หลังจากฝ่ายสัมพันธมิตรเป็นฝ่ายมีชัยในสงคราม ผลจากการกระทำของเมนเดสนั้นทำให้ประธานาธิบดี Salazar และโปรตุเกสได้เครดิตจากการช่วยรับผู้ลี้ภัยระหว่างสงคราม (แต่เมนเดสไม่ได้อะไรนะ)
António de Oliveira Salazar นักเศรษฐศาสตร์จอมเผด็จการชาตินิยมโปรตุเกส ปกครองประเทศในช่วงปี 1932 ถึง 1968
กว่าชื่อของเมนเดสและครอบครัวจะได้รับการกู้คืนก็หลังจากที่เขาเสียชีวิตไปหลายสิบปี
ว่ากันว่าจำนวนวีซ่าที่เมนเดสและพวกได้ออกไปในช่วงเวลานั้นมีมากกว่า 30,000 ฉบับและในจำนวนนั้นออกให้กับชาวยิวร่วมหมื่น แต่จำนวนที่แท้จริงก็ยังมีการถกเถียงอยู่ว่าจริง ๆ แล้วควรอยู่แค่ประมาณ 10,000 ฉบับ ซึ่งก็ยังเยอะมากอยู่ดี 😯
Oskar Schindler เจ้าของเรื่องราวใน schindler's list อีกหนึ่ง Righteous Among the Nations ของอิสราเอล
แน่นอนว่าสำหรับประเทศอิสราเอลแล้ว เมนเดสได้รับการยกย่องให้เป็น "Righteous Among the Nations" เช่นเดียวกับ Oskar Schindler
เมนเดส เกิด: 19 กรกฎาคม1885 เสียชีวิต: 3 เมษายน 1954
เป็นชาวโปรตุเกส ดำรงตำแหน่งสูงสุดในอาชีพในการเป็นกงศุลใหญ่โปรตุเกสประจำฝรั่งเศสในช่วงสงความโลกครั้งที่ 2
ไม่รู้ว่าอะไรคือแรงขับเคลื่อนที่ทำให้เมนเดสตัดสินใจทำสิ่งเหล่านี้
- เสียงของพระเจ้าที่เขาได้ยิน?
- เห็นแก่มนุษยธรรม?
- ฉวยโอกาสหาเงินจากการเรียกค่าทำวีซ่าจากผู้ลี้ภัยที่สิ้นหวัง?
2
แต่ที่แน่ ๆ สิ่งที่เกิดขึ้นคือมีชาวยิวหลายพันชีวิตที่รอดพ้นจากการถูกรมแก๊สในค่ายกักกันด้วยวีซ่าของเมนเดส
และนี่ก็คือเรื่องราวของชายหนึ่งคนที่เอาชีวิตอาชีพการงานตัวเองเข้าเสี่ยงแลกกับชีวิตของผู้คนนับหมื่น ... 😔
youtube.com
Aristides De Sousa Mendes - Righteous Among the Nations
As we mark International Holocaust Remembrance Day, #WeRemember the millions who perished, but also the brave individuals who risked their lives to rescue hu...
Source:
https://en.wikipedia.org/wiki/Aristides_de_Sousa_Mendes
https://en.wikipedia.org/wiki/Oskar_Schindler
เครดิตภาพ: Wikipedia
9 บันทึก
66
24
5
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
สรรสาระ by Antfield
9
66
24
5
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย