4 ม.ค. 2020 เวลา 14:41
ป่าหิมพานต์ สระและสัตว์ในไตรภูมิ
บทที่๒
1.1สระอโนดาต ตั้งอยู่ศูนย์กลางของป่าหิมพานต์ สายน้ำที่ไหลจากป่าหิมพานต์ ได้ไหลลงมาหล่อเลี้ยงดินแดนชมพูทวีปด้านล่างให้มีความสมบูรณ์ ไม่มีวันเหือดแห้งจนกว่าจะสิ้นมหากัปป์ สระอโนดาตล้อมรอบด้วยภูเขาสูง ๕ เขาโน้มเข้าหากัน คือ สุทัสสนกูฏ จิตรกูฏ กาฬกูฏ คันธมาทนกูฏ และเขาไกรลาส
สระอโนดาตนั้นมีท่าน้ำอยู่ ๔ ท่า ตั้งอยู่ในทิศทั้ง ๔ เรียกว่า ท่าสิงห์ (สีหมุข) ท่าช้าง (หัตถีมุข) ท่าม้า (อัสสมุข) และท่าวัว (อุสภมุข) สายน้ำจากสระอโนดาตจะไหลออกจากปากสัตว์มงคลทั้งสี่ทิศ ไหลเวียนขวาทักษิณาวรรต ๓ รอบ แล้วไหลออกจากสระเป็นสายน้ำ ผ่านแดนหิมพานต์ เป็นสี่ทิศลงสู่มหานทีสีทันดร น้ำจากสระอโนดาตที่ไหลออกทางทิศใต้ ไหลออกไปพุ่งกระทบภูเขา ทำให้น้ำพุ่งขึ้นเป็นละอองฝอยในอากาศ เรียกว่า อากาศคงคา ตามไตรภูมิกล่าวว่า น้ำพุ่งกระเด็นขึ้นไปถึง ๖๐ โยชน์ แล้วจึงตกไปบนแผ่นดิน กลายเป็นสระโบกขรณี ไหลผ่านระหว่างภูเขา ๕ ลูก เกิดเป็นปัญจมหานที ได้แก่ คงคา ยมุนา อจิรวดี มหี และสรภู ที่ไหลหล่อเลี้ยงดินแดนทางทิศใต้ให้อุดมสมบูรณ์
สัตว์ปะจำทั้ง7สระและพืชพรรณ
1นก
2สิงห์
3ม้า
4ปลา
5ช้าง
6กิเลน
7กวาว
8จระเข้
9มนุษย์
เป็นต้นคับ
สัตว์หิมพานต์
คือสัตว์ในจินตนาการที่กวี หรือจิตรกร พรรณนาถึง อาศัยอยู่ในป่าหิมพานต์หรือเขาไกรลาส ดังที่ปรากฏในวรรณคดีไตรภูมิพระร่วง และรามเกียรติ์ โดยมีลักษณะของสัตว์หลายชนิดมาประกอบกันในตัวเดียว จำแนกออกเป็น 3 ประเภท คือ สัตว์ทวิบาท (มีสองขา) สัตว์จตุบาท (มีสี่ขา) และจำพวกปลา
1..1..1จำแนกตามชนิดสัตว์
นก
– อสูรปักษา , อสุรวายุพักตร์ , นกการเวก , ครุฑ , กินรี , เทพปักษี , นกทัณฑิมา
– หงส์ , หงส์จีน , คชปักษา , มยุระคนธรรพ์ , มยุระเวนไตย , สินธุปักษี , สีหสุบรรณ , สุบรรณเหรา
– มังกรสกุณี , นาคปักษี , นาคปักษิณ , นกหัสดี , นกอินทรี , นกสัมพาที , กินนร , สกุณเหรา
– นกเทศ , พยัคฆ์เวนไตย , นกสดายุ , เสือปีก , อรหัน
1.1.1.2สิงห์
– บัณฑุราชสีห์, กาฬสีหะ , ไกรสรราชสีห์ , ติณสีหะ
– เกสรสิงหะ , เหมราช , คชสีห์ , ไกรสรจำแลง , ไกรสรคาวี , เทพนรสีห์ , ฑิชากรจตุบท ,โต
สิงห์ผสม
– ไกรสรนาคา, ไกรสรปักษา, โลโต, พยัคฆ์ไกรสร, สางแปรง , สิงหคาวี , สิงหคักคา , สิงหพานร
– สกุณไกรสร , สิงห์ , สิงโตจีน , สีหรามังกร , โตเทพสิงฆนัต , ทักทอ , นรสิงห์
1.1.1.3ม้า
– ดุรงค์ไกรสร, ดุรงค์ปักษิณ ,เหมราอัสดร , ม้า , ม้าปีก , งายไส , สินธพกุญชร , สินธพนที
– ตเทพอัสดร, อัสดรเหรา , อัสดรวิหก
ปลา
– เหมวาริน , กุญชรวารี , มัจฉนาคา , มัจฉวาฬ . นางเงือก , ปลาควาย , ปลาเสือ , ศฤงคมัสยา
ช้าง
– เอราวัณ , กรินทร์ปักษา , วารีกุญชร , ช้างเผือก
ช้างเผือก
กิเลน
– กิเลนจีน , กิเลนไทย , กิเลนปีก
กวาง
– มารีศ , พานรมฤค , อัปสรสีหะ
จระเข้ : กุมภีนิมิตร , เหรา
ลิง : กบิลปักษา, มัจฉาน
วัว สัตว์หิมพานต์
วัว-ควาย : มังกรวิหค , ทรพา ทรพี
แรด : แรด , ระหมาด
สุนัข, ปู , นาค
มนุษย์ : คนธรรพ์ , มักกะลีผล
/////
นารีผล หรือ มักกะลีผล
เป็นพรรณไม้ตามความเชื่อจากตำนานป่าหิมพานต์ เป็นพืชที่ออกลูกเป็นหญิงสาว เมื่อผลสุกแล้ว บรรดา ฤๅษี กินร วิทยาธร คนธรรพ์ จะนำไปเสพสังวาส
ในวรรณคดีระบุว่า มักกะลีผลเมื่อสุกแล้ว จะกลายเป็นหญิงสาวงามอายุราว 16 ปี แต่ที่ศีรษะจะยังมีขั้วติดอยู่ นิ้วมือทั้ง 5 ยาวเท่ากัน ผมยาวสีทอง ตากลมโต คอเป็นปล้อง ไม่มีโครงกระดูก แต่ส่งเสียงได้เหมือนมนุษย์จริง ๆ มักกะลีผลที่ยังอ่อนมีลักษณะเหมือนคนนั่งคู้เข่าอยู่ เมื่อโตขึ้นขาจะเหยียดออกก่อน เมื่อโตเต็มที่จึงเหยียดตัวเหมือนคนยืนตัวตรง บรรดาฤๅษี กินร วิทยาธร คนธรรพ์ ที่ยังมีตัณหาอยู่ จะมาออที่โคนต้น เพื่อรอสุกก็จะแย่งชิงกันเด็ดไปเป็นภรรยา ต้องยื้อแย่งกัน ทำร้ายกันถึงตาย ผู้ที่เหาะได้ก็เหาะขึ้นไปเก็บ ผู้ที่เหาะไม่ได้ก็ใช้ไม้สอยหรือปีนขึ้นไปเก็บ เมื่อมาแล้วก็จะนำไปที่อยู่ของตน ทะนุถนอมระแวดระวังอย่างดีมิให้ใครแย่งเอาไป แต่มักกะลีผลมีชีวิตอยู่ได้เพียง 7 วัน ก็จะเน่าเปื่อยไป
ซึ่งในวรรณคดีไทยที่มีการกล่าวถึง มักกะลีผล ได้แก่ พระเวสสันดรชาดก, มหาชาติคำหลวง และไตรภูมิพระร่วง / อ่านเพิ่มเติม : ตำนานการถือกำเนิด นารีผล , ภาพจาก ตาโต
สัตว์ในป่าหิมพานต์
รายละเอียดสัตว์ในป่าหิมพานต์ : ดูไฟล์ PDF
ที่มา สัตว์หิมพานต์ประดับพระเมรุ ในพระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพ สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี
ไตรภูมิ หรือ ไตรโลก (หมายถึง สามโลก)
ซึ่งเป็นคติเกี่ยวกับโลกสัณฐานตามความเชื่อในศาสนาฮินดูและศาสนาพุทธ ไตรภูมิประกอบด้วย กามภูมิ รูปภูมิ และอรูปภูมิ สัตวโลกทั้งหลายก็จะต้องเวียนว่ายตายเกิดในไตรภูมินี้ จนกว่าจะสำเร็จเป็นพระอรหันต์ / ที่มา ไตรภูมิ
โฆษณา