Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
FISHWAY
•
ติดตาม
4 ม.ค. 2020 เวลา 15:13 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
สายพันธุ์เต่าที่ใกล้สูญพันธุ์
ณ ปัจจุบันเหลือกี่สายพันธุ์?
ทุกคนรู้หรือไม่? เต่าไม่ใช่สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม และก็ไม่ใช่ตระกูลเดียวกับปลา แต่เต่าถูดจัดให้อยู่ในหมวดของสัตว์เลื้อยคลาน ในปัจจุบันเต่าเริ่มมีจำนวนลดน้อยลงเป็นอย่างมาก บางชนิดเกือบใกล้จะสูญพันธุ์แล้วในปัจจุบัน ส่วนใหญ่เกิดจากฝีมือมนุษย์ถึง 95% ไม่ว่าจะเป็นการล่าเพื่อกิน ,ล่าเพื่อทำธุรกิจการค้า หรือแม้แต่ขยะพลาสติกที่มนุษย์เราใช้กันก็ไปอยู่ในท้องทะเล ทำให้สัตว์ทะเลได้กัดกินถุงพลาสติกเหล่านั้น ส่งผลให้สัตว์ทะเลนับพันชนิดล้มตายลงรวมถึงเต่าเองอีกด้วย
เต่าเป็นสัตว์เลื้อคลานที่มีสายตาสั้นมากเมื่ออยู่บนบก แต่กลับกันเมื่ออยู่ใต้น้ำสายตาของเต่าจะดีขึ้นเป็นอย่างมาก เกิดจากการหักเหของแสงในน้ำ แสงไฟมีผลต่อสายตาของเต่าทะเลอย่างมาก ตั้งแต่ยังเด็กลูกเต่าทะเลแรกเกิดจะอาศัยแสงรำไรของขอบฟ้า เป็นตัวกำหนดทิศทางเพื่อมุ่งหน้าลงสู่ทะเล ในทั่วทุกมุมโลกมีการค้นพบเต่าทะเลเพียง 8 ชนิด แต่ค้นพบในไทยเพียง 5 ชนิดเท่านั้นแบ่งได้เป็น 2 วงศ์ตระกูล
● วงศ์ตระกูล Cheloniidar
1. เต่าตนุ (Green Turtle)
มีจะงอยปากค่อนข้างทู่เมื่อเปรียบเทียบกับเต่ากระ ริมฝีปากทั้งบน-ล่างมีรอยหยักขนาดเล็ก และมีกระดองสีน้ำตาลอมเหลืองมีลายริ้วสีจางกว่ากระจายจากส่วนกลางเกล็ด จึงเป็นที่มาของชื่อ "เต่าแสงอาทิตย์" เมื่อโตเต็มวัยมีความยาว 120 ซม. หนัก 150 กก. โดยเต่าตนุเพศเมียในช่วงเต็มวัยจะวางไข่ทุก 2 ปี เริ่มตั้งแต่ช่วงอายุ 14-25 ปี ซึ่งสามารถวางไข่ได้ตลอดทั้งปี แต่มีช่วงสูงสุดระหว่างเดือนมิถุนายน-สิงหาคม เต่าตนุทั้งเพศผู้และเพศเมียสามารถผสมพันธุ์ได้ทีละหลายตัวเช่นเดียวกัน
ในช่วงวัยเด็กเต่าตนุกินทั้งพืชและสัตว์น้ำเล็ก ๆ เป็นอาหาร เมื่อโตเต็มวัยจะกินพืชเป็นหลัก เช่น สาหร่ายทะเล และหญ้าทะเล ถือเป็นเต่าทะเลชนิดเดียวที่กินพืช สามารถพบเต่าตนุได้ในเขตร้อนตามแนวชายฝั่ง ทั้งฝั่งทะเลอ่าวไทยและฝั่งทะเลอันดามัน
2. เต่ากระ (Hawksbill Turtle)
มีจะงอยปากค่อนข้างแหลมงุ้มคล้ายปากเหยี่ยว เพื่อการหากินตามซอกหลืบต่าง ๆ ของแนวปะการัง ลักษณะเด่นชัดคือ เกล็ดบนกระดองมีลวดลายริ้วที่สวยงาม และลักษณะเกล็ดซ้อนกันอย่างเด่นชัด เต่ากระแรกเกิดไปจนถึงช่วงวัยรุ่นจะมีสันแหลมตามความยาวกระดอง มีเล็บทั้งขาหน้าและหลังข้าง ซึ่งจะค่อย ๆ หายไปเมื่อโตขึ้น มีความยาว 95 ซม. หนัก 60 กก.
เต่ากระเพศเมียโตเต็มวัยมีการวางไข่ทุก 2-3 ปี ในระหว่างช่วงฤดูร้อน-ฤดูฝน เต่ากระกินฟองน้ำและสัตว์น้ำเล็ก ๆ ในแนวปะการัง นอกจากนี้อาหารของเต่ากระยังมี กุ้ง หมึก เพรียง รวมถึงงูทะเล ซึ่งเต่ากระอาศัยในเขตร้อน บริเวณน้ำตื้นแนวปะการัง แนวหญ้าทะเลและแนวสาหร่าย
3. เต่าหญ้า (Olive Ridley Turtle)
มีกระดองผิวเรียบสีเทาอมเขียว สีสันไม่สวยงามเท่าเต่ากระและเต่าตนุ ส่วนหัวค่อนข้างโต จะงอยปากมนกว่าเต่าตนุ เมื่อโตเต็มวัยมีขนาดประมาณ 75-80 ซม. น้ำหนัก 50 กก. จัดเป็นเต่าทะเลมีขนาดเล็กที่สุด
เมื่อตัวเต็มวัยจะหากินอยู่บริเวณชายฝั่งน้ำตื้นแต่สามารถดำน้ำได้ถึง 300 เมตร วางไข่ทุกๆ 1-3 ปี ฤดูวางไข่ตั้งแต่เดือนตุลาคม-มีนาคม เต่าหญ้า มีปากใหญ่และแข็งแรง เพื่อให้ง่ายต่อการบดเคี้ยวเปลือกที่แข็งของปู กุ้ง และหอย นอกจากนี้ยังกินอาหารชนิดอื่นๆ ได้แก่ แมงกะพรุนและพืชทะเลชนิดต่าง ๆ พบว่าอาศัยหลักอยู่ในเขตซีกโลกเหนือ ประเทศไทยพบมากในฝั่งทะเลอันดามัน
4. เต่าหัวค้อน (Loggerhead Turtle)
มีรูปร่างคล้ายเต่าหญ้าและเต่าตนุมาก รูปทรงของกระดองหลังเรียวเล็กลงมาทางส่วนท้าย ลำคอหนาและสั้น เพศเมียตัวเต็มวัยมีความยาว 95 ซม. น้ำหนัก 120 กก. ลูกเต่าแรกเกิดจะอาศัยอยู่ในกระแสน้ำอุ่นในมหาสมุทร จนกระทั่งถึงวัยใกล้สืบพันธุ์จึงกลับสู่แหล่งฟักตัวบนชายฝั่ง
โดยเต่าหัวฆ้อนไม่เคยพบการขึ้นมาวางไข่ในประเทศไทยเลยตลอดระยะ 20 ปี ที่ผ่านมา มีเพียงรายงานพบว่าหากินอยู่ในน่านน้ำไทยเท่านั้น เต่าหัวฆ้อนกินหอย ปู และหมึก เป็นอาหาร อาศัยใกล้ชายฝั่งน้ำตื้น ในประเทศไทยพบการเกยตื้นทั้งฝั่งอ่าวไทยและฝั่งทะเลอันดามัน ซึ่งเข้าใจว่าเป็นประชากรเต่าทะเลจากแหล่งอื่นของประเทศเพื่อนบ้านที่เข้ามาอาศัยหรือหาอาหารในน่านน้ำไทย
● วงศ์ตระกูล Dermochelyidae
1. เต่ามะเฟือง (Leatherback Turtle)
กระดองเป็นแผ่นหนังหนาสีดำผิวเรียบไม่เป็นเกล็ด มีแต้มสีขาวประ ๆ ไปทั่วตัว กระดองเป็นสันนูนตามแนวความยาวตั้งแต่ส่วนหัวถึงท้าย ครีบหน้าใหญ่ลักษณะเหมือนใบพาย ตัวเต็มวัยยาว 210 เซนติเมตร หนัก 900 กิโลกรัม เป็นเต่าทะเลมีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก
เต่ามะเฟืองเข้าสู่วัยเจริญพันธุ์เมื่ออายุ 13-14 ปี ในช่วงขึ้นมาวางไข่จะมีความยาวของตัวไม่น้อยกว่า 150 เซนติเมตร มักวางไข่ในแนวหาดทรายโล่ง เต่ามะเฟืองกินแมงกะพรุนเป็นอาหารหลัก มีปากบอบบางและจะงอยปากบนเป็นหยัก 3 หยัก เพื่อกัดกินสัตว์ไม่มีเปลือกแข็ง ภายในช่องปากและลำคอมีอวัยวะคล้ายหนามเล็ก ๆ จำนวนมากเรียงตัวชี้ไปทางด้านหลังเพื่อช่วยในการกลืนอาหาร อาศัยในเขตทะเลเปิด ประเทศไทยพบเต่ามะเฟืองได้น้อยมาก แต่พบการเกยตื้นในชายฝั่งอ่าวไทยและฝั่งอันดามัน
เต่าได้ขึ้นเป็นสัตว์ป่าคุ้มครองตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่าในปี พ.ศ.2535 องค์กรระหว่างประเทศเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติ (IUCN) และอนุสัญญาไซเตส(CITES) ผมอยากเชิญชวนให้ทุกคนเลิกล่าและหันกลับมาช่วยกันอนุรักษ์สัตว์ป่าคุ้มครองของเราไม่ว่าจะเป็นเต่าหรือสัตว์ป่าคุ้มครองอื่น ๆ ช่วยกันรักษาให้สัตว์ป่าเหล่านี้อยู่คู่เมืองไทยไปอีกยาวนานกันเถอะ
แหล่งอ้างอิง 1 :
www.ngthai.com
แหล่งอ้างอิง 2 :
www.wikipedia.org
พิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำออนไลน์
fishway
Facebook :
https://facebook.com/FishwayOfficial/
Instagram :
https://instagram.com/fishway.official/
Twitter :
https://twitter.com/fishwayofficial
True ID :
https://creators.trueid.net/@67003
Blockdit :
https://blockdit.com/fishway
Website : ...coming soon...
Youtube : ...coming soon...
Tiktok : ...coming soon...
Line VOOM : ...coming soon...
พิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำ
สัตว์น้ำ
สัตว์เลี้ยง
1 บันทึก
5
2
1
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
ข้อมูลอื่น ๆ
1
5
2
1
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย