6 ม.ค. 2020 เวลา 10:54 • ธุรกิจ
สำหรับมือใหม่หลายๆคนที่อยากจะเริ่มต้นลงทุน แต่ไม่รู้จะเริ่มยังไงดี วันนี้ Easy Invest เลยอยากแนะนำเครื่องมือที่จะช่วยให้การลงทุนเป็นเรื่องที่ง่ายขึ้น นั้นก็คือ "กองทุนรวม" นั้นเอง
ก่อนอื่นขอเล่าสั้นๆง่ายๆก่อนว่ากองทุนรวมคืออะไร?
กองทุนรวม ก็เหมือนกับการที่เรานำเงินไปให้คนคนหนึ่งที่เรียกว่า ผู้จัดการกองทุน เอาเงินไปลงทุนในสินทรัพย์ต่างๆ (เช่น หุ้นไทย หุ้นต่างประเทศ ตราสารหนี้ ทองคำ เป็นต้น) ตามนโยบายแต่ละกองทุนให้กับเรา
โดยที่ผู้จัดการกองทุนมีหน้าที่สร้างผลตอบแทนให้งอกเงย และนำผลตอบแทนมาเฉลี่ยคืนให้กับผู้ลงทุน ผ่านเงินปันผลและส่วนต่างกำไรนั้นเอง
ภาพจาก www.set.or.th
ทีนี้ลองมาดู 5 เหตุผลที่ทำไมมือใหม่ควรลงทุนผ่านกองทุนรวมกันบ้าง
1.มีมืออาชีพ(ผู้จัดการกองทุน) ที่มีความรู้ ความเชี่ยวชาญ และมีประสบการณ์การลงทุนด้านกองทุน ดูแลกองทุนให้เราตลอดเวลา
โดยที่เราไม่ต้องกังวลว่าผู้จัดการกองทุนจะลงทุนให้กับเราได้ดีแค่ไหน เพราะค่าตอบแทนที่เขาได้จะขึ้นกับ Performance ที่บริหารกองทุนต่างๆ
2.ใช้เงินลงทุนเริ่มต้นน้อย
บางกองทุนกำหนดขั้นต่ำแค่ 1 บาทก็สามารถลงทุนได้แล้ว บางกองอาจจะกำหนดที่ 1,000 บาทขึ้นไป
แต่หากนำเงินจำนวน 1,000 บาทไปลงทุนในหุ้น ก็ลงทุนได้นะ แต่จะค่อนข้างยากกว่ากองทุนเยอะเลย เพราะต้องติดตามอย่างใกล้ชิดและต้องมีประสบการณ์การลงทุนมาก่อน ถึงจะอยู่รอดในตลาดได้
3.สามารถเข้าถึงสินทรัพย์ต่างๆได้มากขึ้น
เช่น ถ้าเราอยากซื้อหุ้นสหรัฐ เราก็ต้องไปหาวิธีเปิดพอร์ตหุ้นสหรัฐ ไหนจะเรื่องค่าเงินหรือเรื่องขั้นต่ำในการซื้ออีก ถือว่าค่อนข้างลำบาก สู้เอาเงินมาลงทุนในกองทุนหุ้นสหรัฐทีเดียวจบ
หรือแม้แต่สินทรัพย์อย่างทองคำ น้ำมัน หรืออสังหาฯ ถ้าเราจะไปลงทุนโดยตรงเองก็ต้องใช้เงินจำนวนมากและมีข้อกำหนดต่างๆเยอะเช่นกัน
4.กระจายการลงทุนได้ง่าย ด้วยเงินจำนวนไม่มาก
เช่นถ้าเราจะซื้อหุ้น PTT , AOT และ CPALL แค่อย่างละ 100 หุ้น เราต้องใช้เงินเกือบ 20,000 บาท
แต่ถ้าเรานำไปซื้อกองทุน SET50 เราจะสามารถซื้อได้ด้วยเงินไม่กี่พัน และได้หุ้นในพอร์ตถึง 50 ตัว เป็นการกระจายความเสี่ยงให้กับเราอีกระดับหนึ่ง
5.มีสิทธิประโยชน์ทางภาษี
บางกองทุนอย่าง RMF และ SSF ที่เพิ่งออกใหม่ในปีนี้ สามารถนำมาลดหย่อนภาษีตามเงื่อนไขของกรมสรรพากรได้นะ
และนี้ก็เป็น 5 เหตุผลทั้งหมดสำหรับมือใหม่ที่จะลงทุนในกองทุนรวมนะครับ
หากใครยังไม่มีพอร์ตกองทุนก็สามารถเปิดได้ผ่าน บล. บลจ. หรือไปที่ธนาคาร ได้เลยครับ
ถ้าชอบบทความนี้ฝากกด Like กด Share กด Follow กันด้วยนะครับ
โฆษณา