9 ม.ค. 2020 เวลา 01:40 • ประวัติศาสตร์
EP 10 : บันทึกประสบการณ์จริงระหว่างบวช
""เดี๋ยวไม่ทันฉัน เพล""
เวลาประมาณสิบนาฬิกาถึงสิบนาฬิกาสามสิบนาที ระหว่างปฏิบัติภารกิจ มักจะได้ยินเสียงกระตุ้นจากต้นสายที่มาติดต่อการรักษาแทนผู้ป่วย
“ขอเร็วๆหน่อยนะ จะไม่ทันเพล”
“อีกนานไหมกลัวไม่ทันฉันเพล”
“ฉันเพลเสร็จก่อนค่อยฝากใครมาได้ไหม”
“หลวงพ่อกลับไปก่อนแล้ว เกรงไม่ทันฉันเพล เลยมาแทน”
ได้แต่นึกแล้วก็สงสัย เนื่องด้วยการปฏิบัติภารกิจยังคงปฏิบัติหน้าที่อย่างต่อเนื่องและตามลำดับของการให้บริการ จึงสงสัยว่าจักทำเช่นไรหากให้บริการไม่ทันในกระบวนการที่พระสงฆ์ท่านต้องไปทันฉันเพล
แล้วถ้าฉันเพลไม่ทันนั้นหมายถึงอะไร จะเกิดอะไรขึ้น
หลังจากที่ผู้เขียนได้เข้ามาจำพรรษาอุปสมบทเป็นพระภิกษุสงฆ์แล้ว จึงทำให้ผู้เขียนได้เข้าใจคำว่า “ฉันเพล” มากขึ้น
เนื่องจาก ถ้ากลับวัดแล้วฉันเพลหรือฉันอาหารเลยเวลาเที่ยงไปนั่นหมายถึง การผิดศีลตามพระธรรมวินัย
- พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 527
โภชนวรรค สิกขาบทที่ ๗
เรื่องพระสัตตรสวัคคีย์
[๕๐๘] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับ อยู่ ณ พระเวฬุวันวิหาร อันเป็นสถานที่พระราชทานเหยื่อแก่กระแต เขตพระนครราชคฤห์ ครั้งนั้น ในพระนครราชคฤห์มีมหรสพบนยอดเขา พระสัตตรสวัคคีย์ได้ไปดูมหรสพบนยอดเขา ประชาชนเห็นพระสัตตรสวัคคีย์ จึงนิมนต์ให้สรงน้ำ ให้ลูบไล้ของหอม ให้ฉันอาหารแล้วได้ถวายของเคี้ยวไปด้วย พระสัตตรสวัคคีย์นำของเคี้ยวไปถึงอารามแล้วได้กล่าวคำนี้กะพระฉัพพัคคีย์ว่า อาวุโสทั้งหลาย นิมนต์รับของเคี้ยวไปขบฉันเถิด. พระฉัพพัคคีย์ถามว่า อาวุโสทั้งหลาย พวกท่านได้ของเคี้ยวมาจากไหน. พระสัตตรสวัคคีย์ได้แจ้งเรื่องนั้นแก่พระฉัพพัคคีย์.
ฉ. อาวุโสทั้งหลาย ก็พวกท่านฉัน อาหาร เวลาวิกาลหรือ.
ส. เป็นอย่างนั้น อาวุโสทั้งหลาย.
พระฉัพพัคคีย์จึงเพ่งโทษติเตียนโพนทะนาว่า ไฉนพระสัตตรสวัคคีย์ จึงได้ฉันอาหารในเวลาวิกาลเล่า . . . แล้ว แจ้งเรื่องนั้น แก่ภิกษุทั้งหลาย.
บรรดาภิกษุผู้มักน้อย . . .ต่างก็เพ่งโทษติเตียนโพนทะนาว่าไฉนพระสัตตรสวัคดีย์จึงได้ฉัน อาหารในเวลาวิกาลเล่า . . . แล้วกราบทูลเรื่องนั้นแด่ พระผู้มีพระภาคเจ้า.
ทรงสอบถาม
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอบถามพระสัตตรสวัคคีย์ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข่าวว่าพวกเธอฉันอาหารในเวลาวิกาล จริงหรือ.พระสัตตรสวัคคีย์ทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.
ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนโมฆบุรุษทั้งหลาย ไฉนพวกเธอจึงได้ฉันอาหารในเวลาวิกาลเล่า การกระทำของพวกเธอนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส หรือเพื่อความเลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว . . .
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้ว่าดังนี้ :-
พระบัญญัติ
๘๑. ๗. อนึ่ง ภิกษุใด เคี้ยวก็ดี ฉันก็ดี ซึ่งของเคี้ยวก็ดี ซึ่งของฉัน ก็ดี ในเวลาวิกาล เป็นปาจิตตีย์.
เรื่องพระสัตตรสวัคคีย์ จบ
( อ้างอิงข้อมูลจาก : มูลนิธิศึกษาและเผยแพร่พระพุทธศาสนา วันที่เข้าถึง 09/12/2562 จาก https://www.dhammahome.com/webboard/topic/18885)
ศีล ๒๒๗ ข้อของพระสงฆ์อันพึงประสงค์
( อ้างอิงข้อมูลจาก : วัดบางหัวเสือ.com วันที่เข้าถึง 09/12/2562 )
กฎหมายและขนบธรรมเนียมของภิกษุเรียกว่า พระวินัย เป็นคู่กับพระธรรมอันเป็นข้อปฏิบัติทางใจ รวมทั้ง ๒ อย่างเรียกว่าพระศาสนา หรือเรียกโดยย่อว่า พระธรรมวินัย
พระวินัยบัญญัติว่าด้วยศีลของพระภิกษุ ๒๒๗ ข้อ ประกอบด้วย ปาราชิก ๔ สังฆาทเสส ๑๒ อนิยต ๒ นิสสัคคิยปาจิตตีย์ ๓๐ ปาจิตตีย์ ๙๒ ปาฏิเทสนียะ ๔ เสขิยวัตร ๗๕ อธิกรณสมถะ ๗
ครุกาบัติ[คะรุกาบัด] อาบัติหนัก ได้แก่ อาบัติปาราชิก เมื่อภิกษุต้องอาบัติปาราชิก ถือว่าขาดจากความเป็นภิกษุทันที แม้กลับมาบวชใหม่ก็ไม่เป็นภิกษุ.
ลหุกาบัติ(ละหุกาบัด) อาบัติเบา ได้แก่ อาบัติที่เมื่อภิกษุต้องแล้ว จะต้องบอกแก่ภิกษุด้วยกันจึงจะพ้นจากอาบัตินั้น ได้แก่ อาบัติถุลลัจจัย ปาจิตตีย์ ปาฏิเทสนียะ ทุกกฏ และ ทุพภาษิต.
ปาราชิก(ปาราชิก) ชื่ออาบัติจำพวกหนึ่งในอาบัติทั้ง ๗ จัดไว้ในพวก คหุกาบัติ คือ อาบัติหนัก ที่เปรียบด้วยคหุโทษ.
สังฆาทิเสส(สังคาทิเสด) ชื่ออาบัติจำพวกหนึ่งในอาบัติทั้ง ๗ จัดไว้ในพวก คหุกาบัติคือ อาบัติกลาง ที่เปรียบด้วยคหุโทษ.
ถุลลัจจัย(ถุนลัดไจ) ชื่ออาบัติจำพวกหนึ่งในอาบัติทั้ง ๗ จัดไว้ในพวกลหุกาบัติ คือ อาบัติเบา ที่เปรียบด้วยลหุโทษ.
ทุกกฏ(ทุกกด) ชื่ออาบัติจำพวกหนึ่งในอาบัติทั้ง ๗ จัดไว้ในพวกลหุกาบัติคือ อาบัติเบา ที่เปรียบด้วยลหุโทษ.
ทุพภาษิต(ทุบพาสิด) ชื่ออาบัติจำพวกหนึ่งในอาบัติทั้ง ๗ จัดไว้ในพวกลหุกาบัติ คือ อาบัติเบา ที่เปรียบด้วยลหุโทษ.
ปาจิตตีย์ (ปาจิดตี) ชื่ออาบัติจำพวกหนึ่งในอาบัติทั้ง ๗ จัดไว้ในพวกลหุกาบัติ คือ อาบัติเบา ที่เปรียบด้วยลหุโทษ.
ปาฏิเทสนียะ(ปาติเทสะนียะ) ชื่ออาบัติจำพวกหนึ่งในอาบัติทั้ง ๗ จัดไว้ในพวกลหุกาบัติคือ อาบัติเบา ที่เปรียบด้วยลหุโทษ.
อาบัติ โทษที่เกิดจากการล่วงละเมิดสิกขาบทหรือข้อห้ามแห่งภิกษุ มี ๗ อย่าง คือ ปาราชิก สังฆาทิเสส ถุลลัจจัย ปาจิตตีย์ ปาฏิเทสนียะ ทุกกฎ ทุพภาษิต
มีโทษ ๓ สถาน คือ
๑. โทษสถานหนัก เรียกว่า ครุโทษ หรือ มหันตโทษ ทำให้ภิกษุผู้ต้องอาบัติขาดจากความเป็นภิกษุ ได้แก่ อาบัติปาราชิก ซึ่งเรียกว่า ครุกาบัติ
๒. โทษสถานกลาง เรียกว่า มัชฌิมโทษ ทำให้ภิกษุผู้ต้องอาบัติต้องอยู่กรรมก่อนจึงจะพ้นโทษ ได้แก่ อาบัติสังฆาทิเสส
๓. โทษสถานเบา เรียกว่า ลหุโทษ ทำให้ภิกษุผู้ต้องอาบัติที่ตํ่ากว่าอาบัติสังฆาทิเสสต้องปลงอาบัติ คือ บอกอาบัติของตนแก่ภิกษุด้วยกัน ได้แก่ อาบัติถุลลัจจัย ปาจิตตีย์
ปาฏิเทสนียะ ทุกกฏ และทุพภาษิต ซึ่งเรียกว่า ลหุกาบัติ.
ปาราชิก ๔
๑. ห้ามภิกษุเสพเมถุนกับมนุษย์ อมุนษย์(เช่นสัตว์ดิรัจฉาน เปรต เป็นต้นไม่ว่าตายหรือยังมี ชีวิต อยู่ หรือแม้แต่ศพเมื่อมีจิตรับจะทำเมถุนกับสิ่งนั้น
๒.ห้ามลักทรัพย์ ตั้งแต่ ๕ มาสก (หรือประมาณ ๑ บาทใน สมัยนี้)ขึ้นไป ถ้าลักทรัพย์ต่ำกว่าเป็นอาบัติข้ออื่น โดยมีจิตคิดจะเอาและได้ทรัพย์นั้นแล้ว
๓. ห้ามฆ่ามนุษย์และทำแท้งกับหญิงที่มีครรภ์ ( มีเจตนากระทำให้มนุษย์ตายหรือเด็กในครรภ์ตาย)
๔. ห้ามอวดอุตตริมนุษสธรรม คือไม่มีฌานก็ว่ามี ไม่มี ฌานก็ว่ามี ไม่ได้มรรคไม่ได้ผล ก็อ้างว่ามี ( ถ้ามีอยู่หรือถึงแล้วแสดงเพื่อประโยชน์ ก็ต้องห้ามเป็นอาบัติปาจิตตีย์ ผลของการอาบัติปาราชิก ปรับอาบัติไม่ได้ ถือขาดจากการครองสมณเพศไม่จำต้องบอกกล่าวหรือแจ้งแก่ผู้กระทำ เป็นเหตุปิดการทำมรรคผลนิพพานในชาตินี้
ถ้าครองสมณเพศอยู่ถือว่าเป็นโจรปล้นพระศาสนาทำลายตนเองให้ถึงทุคติมีอบายภูมิเป็นที่เกิดอย่างแน่นอน เปรียบเสมือนต้นตาลที่ยอดด้วนย่อมไม่เกิดผลได้ )
สังฆาทิเสส ๑๓
๑. ห้ามทำน้ำอสุจิ ให้เคลื่อนด้วยความจงใจ (ยกเว้นฝัน)
๒ . ห้ามถูกต้องเคล้าคลึงกายหญิงด้วยความจงใจ
๓ . ห้ามพูดสอนความ พูดพาดพิงถึงทวารหนักทวารเบาแก่สตรี
๔. ห้ามพูดล่อหญิงให้บำเรอตนด้วยเมถุนธรรม
๕. ห้ามเป็นพ่อสื่อให้คนแต่งงานกัน
๖.ภิกษุขอให้สร้างกุฎิแก่ตนต้องมีขนาดกว้าง ๗ คืบยาว ๑๒ คืบด้วยคืบของพระพุทธเจ้า
๗.ห้ามสร้างวิหารใหญ่โดยสงฆ์มิได้กำหนดที่
๘.ห้ามโจทอาบัติปาราชิกไม่มีมูล
๙.ห้ามอ้างเลสโจทอาบัติปาราชิก
๑๐.ทำสังฆ์ให้แตกกัน(สงฆเภท)
๑๑.ห้ามเป็นพรรคพวกของผู้ทำสงฆ์ให้แตกกัน
๑๒.ห้ามเป็นคนว่ายากสอนยาก
๑๓.ห้ามเป็นผู้มีความประพฤติเลวทรามและประจบ คฤหัสถ์
อนิยต ๒
๑. ห้ามนั่งในที่ ลับตา กับหญิงสองต่อสอง(อาบัติ ปาราชิก, สงฆาทิเสส,หรือปาจิตตีย์ )
๑๒ ห้ามนั่งในที่ ลับหู กับหญิงสองต่อสอง(อาบัติ สังฆาทิเสส,หรือปาจิตตีย์นิสสัคคีย์
นิสสัคคิยปาจิตตีย์ ๓๐
๑. ห้ามเก็บจีวรเกินจำเป็นไว้เกิน ๑๐ วัน (ยกเว้นทำเป็น สองเจ้าของ(วิกัป)
๒.ห้ามอยู่ปราศจากไตรจีวร แม้คืนหนึ่ง(ยกเว้น ภิกษุ(ได้รับสมมติ(ตกลงกันในหมู่สงฆ์ เช่นกาลกฐิน เมื่อรับแล้ว อยู่ปราศจากไตรจีวรได้ ๓ เดือน)
๓.ห้ามเก็บผ้าที่จะทำจีวรไว้เกิน ๑ เดือน(ยกเว้นทำเป็นสองเจ้าของ)
๔.ห้ามใช้นางภิกษุณีชักจีวรเก่า(จีวรที่ใช้แล้ว)
๕.ห้ามรับจีวรจากมือของภิกษุณี
๖.ห้ามขอจีวรต่อคฤหัสถ์ที่มิใช่ญาติ(ยกเว้นขอต่อคนปวารณา)
๗.ห้ามรับจีวรเกินกำหนดเมื่อจีวรถูกชิงหรือ หายไป
๘.ห้ามพูดให้เขาซื้อจีวรที่ดีกว่าเขากำหนดไว้เดิมถวาย
๙.ห้ามไปพูดให้เขารวมกันซื้อจีวรที่ดีถวาย
๑๐.ห้ามทวงจีวรเอาแก่คนที่รับฝากผู้อื่นเพื่อซื้อ จีวรถวายเกินกว่า ภ ครั้ง
๑๑.ห้ามหล่อเครื่องปูนั่งพรมเจือด้วยไหม(อาสนะ)
๑๒.ห้ามหล่อเครื่องปูนั่งด้วยขนเจียม(ขนสัตว์) ดำล้วน(อาสนะ)
๑๓.ห้ามใช้ขนเจียมดำ(อาสนะ)เกิน 2 ส่วนใน 4 ส่วนเมื่อหล่อเครื่องปูนั่ง
๑๔.ห้ามหล่อเครื่องปูนั่งให้ตัดของเก่าปนลงใน ของใหม่(อาสนะ)
๑๕.ห้ามการทำเครื่องปูนั่งให้ตัดของเก่าปนลงในของใหม่(อาสนะ)
๑๖.ห้ามนำขนเจียม(อาสนะ)ไปด้วยตนเองเกิน ๓ โยชน์
๑๗.ห้ามใช้นางภิกษุณีที่ไม่ใช่ญาติทำการซักย้อมซึ่งขนเจียม(อาสนะ)
๑๘.ห้ามรับทองเงิน( ชาตะ รูปรชตะ)
๑๙.ห้ามทำการซื้อขายของด้วยเงินทอง
๒๐.ห้ามซื้อขายโดยใช้ของแลก
๒๑.ห้ามเก็บบาตรเกิน ๑ ลูกไว้เกิน ๓๐ วัน
๒๒.ห้ามขอบาตรเมื่อบาตรเป็นแผลงไม่เกิน ๕ แห่ง
๒๓.ห้ามเก็บเภสัช 5 (เนยใส, เนยข้น,น้ำมัน, น้ำผึ้ง ,น้ำอ้อย) เกิน ๗ วัน
๒๔.ห้ามแสวงและทำผ้าอาบน้ำฝนเกินกำหนด
๒๕.ให้จีวรภิกษุอื่นแล้วห้ามชิงคืนในภายหลัง
๒๖.ห้ามขอด้ายเอามาทอเป็นจีวร
๒๗.ห้ามไปกำหนดให้ช่างหูกทอจีวรให้ดีขึ้นเพื่อตน (ยกเว้นขอต่อคนปวารณา)
๒๘.ห้ามเก็บผ้าจำนำพรรษาไว้เกินกำหนด
๒๙.ห้ามภิกษุอยู่ป่าเก็บจีวรไว้ในบ้านเกิน ๖ คืน (ยกเว้นภิกษุได้รับสมมุติ)
๓๐.ห้ามน้อมลาภสงฆ์มาเพื่อตน
ปาจิตตีย์ ๙๒
๑.ห้ามพูดปด (มุสาวาท)
๒.ห้ามด่า (ผรุสวาท)
๓.ห้ามพูดส่อเสียด (ปิสุณาวาท)
๔.ห้ามกล่าวธรรมพร้อมกับอนุปสัมบัน (ผู้ไม่ใช่ภิกษุ เช่นภิกษุณีสามเณรเป็นต้น ในขณะสอน)
๕.ห้ามนอนร่วมกับอนุปสัมบันเกิน ๓ คืน
๖.ห้ามนอนร่วมกับหญิง
๗. ห้ามแสดงธรรมสองต่อสองกับผู้หญิงเกิน ๖ คำ (ยกเว้นเมื่อมีผู้ชายที่รู้เดียงสาอยู่ด้วย)
๘.ห้ามบอกคุณวิเศษที่มีจริงแก่อนุปสัมบัน
๙.ห้ามบอกอาบัติชั่วหยาบของภิกษุแก่อนุปสัมบัน
๑๐.ห้ามขุดดินหรือใช้ให้ขุด
๑๑.ห้ามทำลายต้นไม้
๑๒.ห้ามพูดไฉไลหรือทำให้ยุ่งยากเมื่อถูกสอบสวน
๑๓.ห้ามติเตียนภิกษุผู้ทำการสงฆ์ไว้กลางแจ้ง
๑๔.ห้ามทิ้งเตียงตั่งของสงฆ์ไว้กลางแจ้ง
๑๕.ห้ามปล่อยที่นอนไว้ไม่เก็บงำ
๑๖.ห้ามนอนแทรกภิกษุผู้เข้าไปอยู่ก่อนเพื่อทำให้ภิกษุนั้นลุกหนีไป
๑๗.ห้ามฉุดคร่าภิกษุออกจากวิหารของสงฆ์ เพราะขัดใจ (ยกเว้นภิกษุอลัชชี)
๑๘.ห้ามนั่งนอนบนเตียงหรือตั่งโดยแรงที่อยู่ชั้นบน ซึ่งมีผู้นอนอยู่ชั้นล่าง (เป็นเตียง ๒ ชั้น)
๑๙.ห้ามโบกฉาบวิหารใหญ่เกิน ๓ ชั้น
๒๐.ห้ามเอาน้ำมีตัวสัตว์รดหญ้าหรือดิน
๒๑.ห้ามสอนนางภิกษุณีเมื่อมิได้รับมอบหมายจากสงฆ์
๒๒.ห้ามสอนนางภิกษุณีตั้งแต่อาทิตย์ตกแล้ว
๒๓.ห้ามสอนนางภิกษุณีถึงที่อยู่
๒๔.ห้ามติเตียนภิกษุอื่นว่าสอนนางภิกษุณีเพราะเห็นแก่ลาภ
๒๕.ห้ามให้จีวรแก่นางภิกษุณีผู้มิใช่ญาติ แต่ให้แลก เปลี่ยนจีวรกันได้
๒๖.ห้ามเย็บจีวรให้นางภิกษุณีผู้มิใช่ญาติ
๒๗.ห้ามเดินทางไกลร่วมกับนางภิกษุณี เว้นไว้แต่หนทาง ที่จะไปมีอันตราย
๒๘.ห้ามชวนนางภิกษุณีเดินทางเรือร่วมกัน เว้นไว้แต่โดยสารหรือข้ามฟาก
๒๙.ห้ามฉันอาหารที่นางภิกษุณีไปแนะให้เขาถวาย
๓๐.ห้ามนั่ง นอนในที่ลับสองต่อสองกับนางภิกษุณี
๓๑.ห้ามฉันอาหารในที่ทานเกิน ๑ มื้อ (ยกเว้นแต่ป่วย)
๓๒.ห้ามขออาหารชาวบ้านเพื่อมาฉันรวมกลุ่มกับพวกของตน
๓๓.ห้ามนิมนต์แล้วไปฉันอาหารที่อื่น
๓๔.ห้ามรับบิณฑบาตเกิน ๓ บาตร
๓๕.ห้ามฉันอีกเมื่อฉันในที่นิมนต์เสร็จแล้ว
๓๖.ห้ามพูดให้ภิกษุที่ฉันอีกเพื่อจับผิด
๓๗.ห้ามฉันอาหารในเวลาวิกาล (วิกาลโภชนา)
๓๘.ห้ามฉันอาหารที่เก็บไว้ค้างคืน
๓๙.ห้ามขออาหารประณีตมาเพื่อฉันเอง (ยกเว้นขอต่อผู้ปวารณา)
๔๐.ห้ามฉันอาหารที่มิได้รับประเคน (ยกเว้นน้ำ)
๔๑.ห้ามยื่นอาหารด้วยมือให้ชีเปลือยและนักบวชอื่น
๔๒.ห้ามชวนภิกษุไปบิณฑบาตด้วยแล้วไล่กลับ
๔๓.ห้ามเข้าไปนั่งกีดขวางในห้องนอนของหญิงกับชายที่มีราคะ (เข้าไปขัดจังหวะชายหญิง)
๔๔.ห้ามนั่งในที่ลับมีที่กำบังกับหญิง
๔๕.ห้ามนั่งในที่ลับหูสองต่อสองกับหญิง
๔๖.ห้ามรับนิมนต์แล้วไปที่อื่นไม่บอกลาภิกษุซึ่งมีอยู่
๔๗.ห้ามขอปัจจัยเภสัชเกินกำหนดชนิดและเวลาที่เขาปวารณาไว้
๔๘.ห้ามไปดูกองทัพที่ยกออกไป
๔๙.ห้ามภิกษุมีกิจจำเป็นพักอยู่ในกองทัพเกิน ๓ คืน
๕๐.ห้ามดูเขารบกันเป็นต้นเมื่อมีกิจจำเป็นไปในกองทัพ
๕๑.ห้ามดื่มสุราเมรัย รวมของมึนเมาต่างๆ
๕๒.ห้ามจี้ภิกษุให้หัวเราะ
๕๓.ห้ามว่ายน้ำเล่น
๕๔.ห้ามแสดงความไม่เอื้อเฟื้อในวินัย ขืนประพฤติอนาจารอยู่
๕๕.ห้ามหลอกภิกษุให้กลัว(หรือตกใจ)
๕๖.ห้ามก่อกองไฟเพื่อผิง (ยกเว้นผิงถ่านไฟที่ปราศจากเปลวไฟ )
๕๗.ห้ามอาบน้ำบ่อย เว้นแต่มีเหตุ
๕๘.ห้ามทำเครื่องหมายจีวรที่ได้มาใหม่
๕๙.วิกัปจีวรไว้แล้วจะใช้ถอนก่อน
๖๐.ห้ามเล่นซ่อนบริขารของภิกษุอื่น
๖๑.ห้ามแกล้งฆ่าสัตว์ดิรัจฉาน
๖๒.ห้ามดื่มน้ำมีตัวสัตว์
๖๓.ห้ามรื้อฟื้นอธิกรณ์ที่ตัดสินเป็นธรรมแล้ว
๖๔.ห้ามปกปิดอาบัติชั่วหยาบ(อาบัติปาราชิก,อาบัติสังฆาทิเสส)ของภิกษุอื่น
๖๕.ห้ามบวชบุคคลอายุไม่ถึง ๒๐ ปี
๖๖.ห้ามเดินทางร่วมกับโจรหรือพ่อค้าผู้หนีภาษี
๖๗.ห้ามชวนผู้หญิงเดินทางร่วมกัน
๖๘.ห้ามกล่าวตู่พระธรรมวินัย
๖๙.ห้ามคบหากินอยู่ร่วมกับภิกษุผู้กล่าวตู่พระธรรมวินัย
๗๐.ห้ามคบหาให้อุปัฏฐากกินอยู่ร่วมกับสามเณรผู้กล่าวตู่พระธรรมวินัย
๗๑.ห้ามพูดเลี่ยงเพื่อหวังจะไม่ศึกษาในสิกขาบท
๗๒.ห้ามกล่าวย่ำยีดูแคลนพระวินัย
๗๓.ห้ามพูดแก้ตัวว่าเพิ่งรู้ว่ามีในปาติโมกข์
๗๔.ห้ามทำร้ายร่างกายภิกษุ
๗๕.ห้ามเงื้อมือจะทำร้ายภิกษุ
๗๖.ห้ามโจทอาบัติสังฆาทิเสสไม่มีมูล
๗๗.ห้ามก่อความรำคาญแก่ภิกษุอื่น
๗๘.ห้ามแอบฟังความของภิกษุผู้ทะเลาะกัน
๗๙.มอบฉันทะให้ทำการแทนแล้วห้ามพูดติเตียน
๘๐.ในที่ประชุมสงฆ์ตั้งญัตติแล้วกำลังทำการวินิจฉัยห้ามลุกไปโดยไม่ให้ความยินยอมต่อสงฆ์(เว้นไปสุขา)
๘๑.ร่วมกับสงฆ์ให้จีวรแก่ภิกษุแล้วห้ามติเตียนภายหลัง
๘๒.ห้ามน้อมลาภสงฆ์มาเพื่อบุคคล
๘๓.ห้ามเข้าไปในพระราชฐานชั้นในโดยไม่ได้ รับราชานุญาต
๘๔.ห้ามเก็บของมีค่า(รัตนะ)ที่ตกอยู่(เว้นตกในวัดเก็บไว้คืน)
๘๕.ห้ามเข้าบ้านยามวิกาลต้องลาภิกษุก่อน (เว้นมีธุระด่วน)
๘๖.ห้ามทำหล่อมเข็มด้วย กระดูก,งา,เขาสัตว์
๘๗.ห้ามใช้เตียงตั่งมีเท้าสูงกว่า ๘ นิ้ว ด้วยนิ้วสุคต
๘๘.ห้ามใช้เตียงตั่งหุ้มด้วยนุ่น
๘๙.ห้ามใช้ผ้าปูนั่งมีขนาดเกินกว่าขนาดยาว ๒ คืบกว้าง ๑ คืบ ชาย ๑ คืบด้วยคืบสุคต
๙๐.ห้ามใช้ผ้าปิดฝีมีขนาดเกินกว่าขนาดยาว ๔ คืบ กว้าง ๒ คืบ ด้วยคืบสุคต
๙๑.ห้ามใช้ผ้าอาบน้ำฝนมีขนาดเกินกว่าขนาด ยาว ๖ คืบ กว้าง ๒ คืบด้วยคืบสุคต
๙๒.ห้ามใช้จีวรมีขนาดเท่ากับขนาดยาว ๙ คืบ กว้าง ๖ คืบ ด้วยคืบสุคต
1
ปาฎิเทสนียะ ๔
๑.ห้ามรับของเคี้ยวของฉันจากมือนางภิกษุณี
๒.ให้ไล่นางภิกษุณีที่มายุ่งให้เขาถวายอาหาร
๓.ห้ามรับอาหารในสกุลที่สงฆ์สมมุติว่าเป็นเสขะ(ตระกูลที่ยากจน)นอกจากป่วยหรือเขานิมนต์แล้ว
๔.ห้ามรับอาหารที่เขาไม่ได้บอกไว้ก่อนเมื่ออยู่ป่า
เสขิยวัตร ๗๕
๑.เราจักนุ่งให้เป็นปริมณฑล(เบื้องล่างปิดเข่าเบื้องบนปิดสะดือไม่ห้อยไปข้างหน้าข้างหลัง)
๒.เราจักห่มให้เป็นปริมณฑล(ให้ชายผ้าเสมอกัน ไม่ห้อยไปข้างหน้าข้างหลัง)
๓.เราจักปกปิดกายด้วยดีไปในบ้าน
๔.เราจักปกปิดกายด้วยดีนั่งในบ้าน
๕.เราจักสำรวมด้วยดีไปในบ้าน (คือไม่คะนองมือคะนองเท้าหรือค้นหาอะไร)
๖.เราจักสำรวมด้วยดีนั่งในบ้าน
๗.เราจักมีตาทอดลงไปในบ้าน(อินทรียสังวร)
๘.เราจักมีตาทอดลง นั่งในบ้าน(เพื่อป้องกันกิเลส)
๙.เราจักไม่เวิกผ้าไปในบ้าน
๑๐.เราจักไม่เวิกผ้า นั่งในบ้าน
๑๑.เราจักไม่หัวเราะดัง ไปในบ้าน
๑๒.เราจักไม่หัวเราะดัง นั่งในบ้าน
๑๓.เราจักไม่พูดเสียงดัง ไปในบ้าน
๑๔.เราจักไม่พูดเสียงดัง นั่งในบ้าน
๑๕.เราจักไม่เดินโคลงกาย ไปในบ้าน
๑๖.เราจักไม่นั่งโคลงกายในบ้าน
๑๗.เราจักไม่ไกวแขน ไปในบ้าน
๑๘.เราจักไม่ไกวแขน นั่งในบ้าน
๑๙.เราจักไม่สั่นศีรษะ ไปในบ้าน
๒๐.เราจักไม่สั่นศีรษะ นั่งในบ้าน
๒๑.เราจักไม่เอามือค้ำกาย ไปในบ้าน(เดินเท้าเอว)
๒๒.เราจักไม่เอามือค้ำกาย นั่งในบ้าน
๒๓.เราจักไม่เอาผ้าคลุมศีรษะ ไปในบ้าน
๒๔.เราจักไม่เอาผ้าคลุมศีรษะ นั่งในบ้าน
๒๕.เราจักไม่เดินกระโหย่งเท้า ไปในเท้า
๒๖.เราจักไม่นั่งรัดเข่า ในบ้าน(กอดเข่า)
๒๗. เราจักรับบิณฑบาตโดยเคารพ
๒๘.เราจักดูแลแต่ในบาตร รับบิณฑบาต
๒๙.เราจักรับบิณฑบาตพอสมส่วนกับแกง(ไม่รับมาก)
๓๐.เราจักรับบิณฑบาตพอเสมอขอบปากบาตร
๓๑.เราจักฉันบิณฑบาตโดยเคารพ ไม่รังเกียจ
๓๒.เราจักดูแต่ในบาตร เวลาฉัน(ถ้าฉันในบาตร)
๓๓.เราจักฉันบิณฑบาตไปตามลำดับ(ไม่ขุดให้แหว่ง).
๓๔.เราจักฉันบิณฑบาตพอสมส่วนกับแกง(ไม่ฉันกับมากเกินไป)
๓๕.เราจักฉันบิณฑบาต ไม่ขยุ้มแต่ยอดลงไป
๓๖.เราจักไม่เอาข้าวสุกปิดแกงและกับด้วยจะได้มาก
๓๗.เราไม่เจ็บไข้ จักไม่ขอแกงหรือข้าวสุกเพื่อ ประโยชน์แก่ตนมาฉัน
๓๘.เราจักไม่มองดูบาตรของผู้อื่นด้วยคิดจะเพ่งโทษ
๓๙.เราจักไม่ทำคำข้าวให้ใหญ่เกินไป
๔๐.เราจักทำคำข้าวให้กลมกล่อม
๔๑.เราจักไม่อ้าปากในเมื่อคำข้าวยังไม่มาถึง(อ้าค้าง)
๔๒.เราจักไม่เอานิ้วมือทั้งหมดใส่ปากในขณะฉัน
๔๓.เราจักไม่พูดทั้งที่ปากยังมีคำข้าว
๔๔.เราจักไม่ฉันโยนคำข้าวเข้าปาก
๔๕.เราจักไม่ฉันกัดคำข้าว
๔๖.เราจักไม่ฉันทำกระพุ้งแก้มให้ตุ่ย
๔๙.เราจักไม่ฉันพลางสลัดมือพลาง
๔๘.เราจักไม่ฉันโปรยเมล็ดข้าว(ทำข้าวเรี่ยราด)
๔๙.เราจักไม่ฉันแลบลิ้น
๕๐.เราจักไม่ฉันดังจับๆ(ไม่สำรวม)
๕๑.เราจักไม่ฉันดังซูดๆ(ไม่สำรวม)
๕๒.เราจักไม่ฉันเลียมือ
๕๓.เราจักไม่ฉันขอดบาตร(เว้นเหลือน้อยต้องขอด)
๕๔.เราจักไม่ฉันเลียริมฝีปาก
๕๕.เราจักไม่เอามือเปื้อนจับภาชนะน้ำ
๕๖.เราจักไม่เอาน้ำล้างบาตรมีเมล็ดข้าวเทลงในละแวกบ้าน(ดูสกปรกเป็นที่รังเกียจ)
๕๗.เราจักไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ที่มีร่มในมือ
๕๘.เราจักไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ที่มีไม้พลองในมือ
๕๙. เราจักไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ที่ศัสตราในมือ
๖๐. เราจักไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ที่อาวุธในมือ
๖๑. เราจักไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ที่สวมเขียงเท้า
๖๒. เราจักไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ที่สวมรองเท้า
๖๓. เราจักไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ที่ไปในยาน
๖๔. เราจักไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ที่อยู่บนที่นอน
๖๕. เราจักไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ที่นั่งรัดเข่า
๖๖. เราจักไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ที่พันศีรษะ
๖๗. เราจักไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ที่คลุมศีรษะ
๖๘. เรานั่งอยู่บนแผ่นดิน จักไม่แสดงธรรมแก่คนที่ไม่เป็นไข้นั่งบนอาสนะ
๖๙. เรานั่งบนอาสนะต่ำ จักไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้นั่งบนอาสนะสูง
๗๐ เรายืนอยู่ จักไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ผู้นั่งอยู่
๗๑ เราเดินไปข้างหลัง จักไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ผู้เดินไปข้างหน้า
๗๒. เราเดินไปนอกทางจักไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ผู้ไปในทางฯ
๗๓.เราไม่เป็นไข้จักไม่ยืนถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะ
๗๔.เราไม่เป็นไข้จักไม่ถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะ หรือบ้วนน้ำลายลงในของเขียว (พืชต้นไม้)
๗๕.เราไม่เป็นไข้จักไม่ถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะ หรือ บ้วนน้ำลายลงในน้ำ
อธิกรณสมถะ ๗
๑.การระงับอธิกรณ์ในที่พร้อมหน้า(บุคคล,วัตถุ,ธรรม)
๒.การระงับอธิกรณ์ด้วยยกให้ว่าพระอรหันต์ เป็นผู้มีสติ)
๓.การระงับอธิกรณ์ด้วยยกประโยชน์ให้ ในขณะเป็นบ้า
๔.การระงับอธิกรณ์ด้วยถือตามคำรับของจำเลย
๕.การระงับอธิกรณ์ด้วยถือเสียงข้างมากเป็นประมาณ
๖.การระงับอธิกรณ์ด้วยการลงโทษแก่ผู้ผิด
๗.การระงับอธิกรณ์ด้วยให้ประนีประนอมหรือ เลิกแล้วกันไป
โฆษณา