Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
เภสัชกร [VATE] มีอะไรจะบอก
•
ติดตาม
5 ม.ค. 2020 เวลา 11:26 • สุขภาพ
Ampicillin (แอมพิซิลลิน) : ยาปฏิชีวนะในสวนส้ม
Ampicillin จัดเป็นยาในกลุ่ม penicillins ที่มีโครงสร้างทางเคมีคล้ายกับยาที่เรารู้จักกันดี นั่นคือยา Amoxicillin ซึ่งยาในกลุ่มนี้จัดเป็นยาฆ่าเชื้อแบคทีเรีย (ยาปฏิชีวนะ) ปกติเราใช้ยากลุ่มนี้รักษาโรคติดเชื้อแบคทีเรียในมนุษย์ อ่าว ! แล้วยานี้ไปอยู่ในสวนส้มได้อย่างไร มาติดตามไปพร้อมกันครับ
ก่อนอื่นเรามาทำความรู้จักยา Ampicillin กันก่อนสักเล็กน้อย
เมื่อพูดถึงยา Ampicillin ในสมัยก่อน ไม่สิ สมัยนี้ก็น่าจะยังเป็นลักษณะนี้อยู่ ยานี้มีลักษณะเฉพาะตัวที่โดดเด่น คือ เป็นยาแคปซูลสี "ดำ-แดง" ชาวบ้านจะคุ้นเคยกันเป็นอย่างดี ในนาม "ยาแก้อักเสบเม็ดดำแดง"
1
หากผู้ถึงยาเม็ดดำแดงเภสัชกรจะนึกถึงยาอยู่ 2 ตัว นั่นคือ Ampicillin และ Tetracycline ยกเว้นบริษัทไหนทำสีอื่น ก็จะไม่ตรงตามนี้ละ
Ampicillin มีฤทธิ์ยับยั้งการสังเคราะห์ผนังเซลล์ของแบคทีเรีย เมื่อแบคทีเรียไม่มีผนังเซลล์ที่คอยห่อหุ้มเซลล์ไว้ มันก็จะถูกทำลายโดยเอนไซม์ autolysin และ murein hydrolase ยานี้จึงสามารถฆ่าเชื้อแบคทีเรียได้นั่นเอง
กลไกการออกฤทธิ์ของยาในกลุ่ม penicillins (ขอบคุณภาพจาก http://tmedweb.tulane.edu/pharmwiki/doku.php/betalactam_pharm)
ข่าวล่าสุดเมื่อ 25 ธันวาคม 2562 ที่ผ่านมา นำเสนอโดย Thai PBS NEWS
สรุปใจความได้ว่า ทีมนักวิจัยจากคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ รายงานผลตรวจวิเคราะห์พบยาปฏิชีวนะ Ampicillin ตกค้างในเนื้อส้มในปริมาณ 18-300 พีพีบี ซึ่งปริมาณดังกล่าวถือว่าไม่เกินมาตรฐานที่กำหนด
หากท่านใดอยากอ่านข่าวเต็มเชิญที่เอกสารอ้างอิงหมายเลข 2 ได้เลยครับ
ประเด็นที่อยากชวนคิดคือ
1. ทำไมชาวสวนที่ปลูกส้มต้องใช้ยา Ampicillin
2. ถ้าใช้แล้วจะเกิดผลกระทบระยะยาวอย่างไร ผลกระทบนี้เกิดกับใครบ้าง
สัก 2 ประเด็นน่าจะเพียงพอครับ
เริ่มที่ประเด็นแรก หากอ่านเนื้อหาในข่าวจะพูดถึงโรครากโคนเน่าในสวนส้มเขียวหวานว่าเป็นประเด็นที่ทำให้ต้นส้มตาย ชาวสวนจึงจำเป็นต้องใช้ยา Ampicillin มาช่วยต้นส้ม
ผมจึงไปหาข้อมูลต่อแล้วพบว่ามีโรคที่มีสาเหตุจากเชื้อรา เชื้อแบคทีเรียในสวนส้มอื่นอีก เช่น
1. โรคกรีนนิ่งเกิดจากเชื้อแบคทีเรีย Fastidious bacteria (Candidatus Liberibacter asisticus) ที่มีเพลี้ยไก่แจ้เป็นแมลงพาหะ
2. โรครากเน่าโคนเน่า ส่วนใหญ่เกิดจากเชื้อรา Phytophthora parasitica
3. โรคแคงเกอร์ เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย Xanthomonas campestris pv. citri
4. โรคเมลาโนส หรือโรคราน้ำหมาก เป็นโรคที่เกิดจากเชื้อรา Cercospora citri
5. โรคทริสเตซา เกิดจากการทำลายของเชื้อไวรัส ที่เรียกว่า Citrus tristeza virus
จาก 5 โรคยอดฮิตที่ทำลายต้นส้ม มี 2 โรคที่เกิดจากเชื้อเเบคทีเรียจึงไม่แปลกครับที่ชาวสวนส้มจะนำยา Ampicillin ซึ่งเป็นยาฆ่าเชื้อแบคทีเรียมาใช้
แล้วไม่มีวิธีอื่นหรือทำไมต้องใช้ยา เท่าที่ผมอ่านดูมีครับ แต่วิธีอาจจะยุ่งยาก ขั้นตอนเยอะ ใช้ยาเป็นวิธีที่ง่าย ก็เหมือนกับทำไมเราไม่ถอนหญ้า เราใช้ยาฆ่าหญ้าทำไม ก็ประมาณนั้นแหละครับ
ประเด็นที่ 2 ผลกระทบจะเป็นอย่างไร
ผลกระทบระยะยาวที่น่ากลัวที่สุดคือเรื่องเชื้อดื้อยาครับ ทำไมถึงกลัว ก็เพราะเราไม่ยารักษาครับ เคยเจอนะครับเชื้อดื้อยาหมดทุกตัวบนโลกใบนี้ คนไข้ก็เสียชีวิต เชื่อไหมครับว่าเชื้อแบคทีเรียพัฒนาตัวมันเองให้ดื้อต่อยา ไวกว่าการที่มนุษย์จะคิดค้นยามาฆ่ามันเสียอีกครับ
เรื่องน่ากลัวที่รองลงมาคือยาการแพ้ยา ยากลุ่ม penicillins จัดเป็นกลุ่มยาอันดับต้น ๆ ที่คนไทยแพ้มากที่สุดเลยครับ แล้วการแพ้ยานี่น่ากลัวขนาดไหน ถ้าแพ้ยาซ้ำและเป็นรุนแรงก็ถึงขั้นเสียชีวิตได้ครับ
สมมติผมแพ้ยากลุ่ม penicillins แล้วบังเอิญไปกินส้มที่มีการตกค้างของยานี้อยู่ จะเกิดอะไรขึ้นครับ ตามรายงานข่าวบอกว่าต้องกินปริมาณสูงถึง 100 กิโลกรัมถึงจะได้รับยาในขนาดที่สูง
แต่ถ้าใครที่เป็นเภสัชกรจะรู้ดีเลยว่า Type B (Bizarre) ADR ไม่สัมพันธ์กับฤทธิ์ทางเภสัชวิทยา และอาจจะสัมพันธ์ หรือไม่สัมพันธ์กับขนาดยาที่ได้รับ อัตราป่วยต่ำแต่อัตราตายสูงมาก
นั่นหมายความว่าหากเราแพ้จริง ปริมาณแม้เพียงเล็กน้อยก็กระตุ้นให้เกิดการแพ้ซ้ำได้ครับ
รู้สึกเริ่มจะอยู่ยากแล้วใช่ไหมครับ 😰
ผมมีข้อมูลจาก ศูนย์ทดสอบฉลาดซื้อ มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค (มพบ.) เปิดเผยผลทดสอบ “น้ำส้มคั้นสดและน้ำส้ม 100%” จำนวน 30 ตัวอย่าง พบสารเคมีทางการเกษตรตกค้าง 60% พบสารกันบูด 4 ตัวอย่าง แต่ไม่พบการตกค้างยาปฏิชีวนะ
ยาปฏิชีวนะที่ทดสอบมี 4 ชนิด ได้แก่ Amoxicillin, Ampicillin, Benzyl Penicillin และ Tetracycline
รู้สึกสบายใจขึ้นมานิดหนึ่งครับ 😅
หากท่านใดสนใจรายละเอียดตามอ่านได้ที่เอกสารอ้างอิงหมายเลข 3 ได้เลยครับ
ขอบคุณภาพจาก (3)
ความอันตรายบางทีก็อยู่รอบ ๆ ตัวเรานี่เองครับ
ผมหวังว่าบทความนี้จะให้ประโยชน์แก่ผู้อ่านไม่มากก็น้อยนะครับ
หากท่านใดที่ชื่นชอบกดไลค์เป็นกำลังใจให้ได้นะครับ หรือมีความคิดเห็นอยากแลกเปลี่ยน ยินดีเลยครับ 😊
เอกสารอ้างอิง
1.
https://www.honestdocs.co/ampicillin
2.
https://news.thaipbs.or.th/content/287405
3.
https://www.hfocus.org/content/2019/11/18046
4.
http://kanchanapisek.or.th/kp6/sub/book/book.php?book=26&chap=7&page=t26-7-infodetail08.html
16 บันทึก
98
90
29
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
Drug Topic
16
98
90
29
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย