6 ม.ค. 2020 เวลา 07:43 • ไลฟ์สไตล์
"กาแฟ" มีต้นกำเนิด มาจากที่ใดกันแน่?
สำหรับผู้ที่หลงรักการดื่มกาแฟเป็นชีวิตจิตใจแล้วละก็ คุณอาจจะมีคำถามที่ว่ากาแฟมีประวัติความเป็นมาอย่างไรบ้าง มาทำความเข้าใจกันได้เลย
"ต้นกาแฟ"มีต้นกำเนิดมาจากการค้นพบของชนพื้นเมืองในประเทศเอธิโอเปีย ซึ่งอยู่ทางทิศตะวันตกของทวีปแอฟริกา ว่ากันว่ามีตำนานเก่าแก่เล่าไว้ว่า ในขณะที่หนุ่มเลี้ยงแกะกำลังดูแลฝูงแกะ เขาก็สังเกตเห็นแกะของเขานั้นกำลังกินผลเบอร์รี่สีแดงสดใส ซึ่งเป็นผลของต้นไม้ที่เจริญเติบโตในทุ่งหญ้าอันกว้างใหญ่ หลังจากนั้นหนุ่มเลี้ยงแกะก็รู้สึกแปลกใจ ที่เห็นว่าแกะมีความคึกคนองผิดปกติ ด้วยความสงสัยและอยากรู้ เขาจึงได้ลองกินผลเบอร์รี่ แล้วก็พบว่ามันทำให้เขารู้สึกสดชื่น บรรเทาความง่วงได้ (ดีดเลย กินผลเบอร์รี่ เม็ดเดียว 555 แรงจริง) ซึ่งผลเบอร์รี่นั้นก็คือที่มาของเมล็ดกาแฟนั่นเอง แล้วใครเป็นคนตั้งชื่อว่า "กาแฟ" ล่ะ น่าคิดๆ
แม้จะยังไม่มีข้อมูลที่แน่ชัดว่า จริง ๆ แล้ว ต้นกาแฟมีต้นกำเนิดที่เอธิโอเปีย แล้วถูกนำไปเผยแพร่ให้กับชาวอาหรับ หรือชาวอาหรับเป็นคนค้นพบ "สรรพคุณ" ของกาแฟ ตั้งแต่เริ่มแรก
แต่ประวัติศาสตร์การเดินทางของกาแฟที่เราทราบกันอยู่ในปัจจุบัน ก็เริ่มต้นที่ชาวอาหรับนั่นเอง เนื่องจากมีหลักฐานทางประวัติศาสตร์พบว่า ชาวอาหรับเริ่มปลูกกาแฟเป็นครั้งแรกในช่วงคริสตศักราช 600 และเริ่มแพร่หลายมากยิ่งขึ้น หลังจากนั้นไม่นานนัก ในปี ค.ศ. 900 แพทย์ชาวอาหรับก็ได้มีการจารึกถึงสรรพคุณต่าง ๆ ของกาแฟในการรักษาโรค
ไปอ่านๆ ดูกาแฟก็มาจากหลายๆที่เหมือนกันนะครับ เอาเป็นว่าเรารู้ละว่าชื่อกาแฟที่เขาเรียกๆ กัน มีต้นกำเนิดมาจากไหน การเดินทางของกาแฟ ได้ผ่านระยะเวลาอันยาวนาน จากโลกตะวันออกไปยังดินแดนโลกใหม่ทางตะวันตก จากนั้นกาแฟก็ได้ขยายและแพร่กระจายไปทั่วทุกมุมโลกอย่างรวดเร็ว จนมาถึงไทย
ในหนังสืออักขราภิธานศรับท์ ของคุณหมอบรัดเลย์ ตีพิมพ์เมื่อปี พ.ศ. 2416 ว่า “กาแฟ ต้นไม้อย่างหนึ่ง มาแต่เมืองนอก เม็ดมันต้มน้ำร้อน กินคล้ายใบชา” นอกจากนี้ยังมีบันทึกว่าเมืองไทยปลูกกาแฟมาตั้งแต่สมัยอยุธยา แต่ว่ามีการปลูกกาแฟอย่างแพร่หลายจริงจังในสมัยรัตนโกสินทร์ พ.ศ. 2367 สมัยรัชกาลที่ 3 เพราะประเทศไทยเริ่มมีการติดต่อค้าขายกับชาวต่างประเทศ เช่น ประเทศอังกฤษ เนเธอร์แลนด์ จึงได้มีการนำต้นกาแฟมาทดลองปลูกกันในพระบรมมหาราชวัง และแจกจ่ายให้เสนาบดีไปปลูกกัน
ในช่วงสมัยราชการที่ 4 พ่อค้าชาวดัตซ์หรือชาวอังกฤษจากแหลมมาลายูอาจจะนำกาแฟเข้ามาแลกเปลี่ยนสินค้ากันกับพ่อค้าชาวไทย จึงมีการนำพันธุ์กาแฟมาปลูกในพื้นที่ภาคใต้ เป็นกาแฟพันธุ์โรบัสต้า ประมาณปี พ.ศ. 2447
จากบันทึกของพระสารศาสตร์พลขันธ์ (นายเจรินี ชาวอิตาลี) กล่าวว่าประเทศไทยมีการนำพันธุ์กาแฟอาราบิก้าเข้ามาปลูกตั้งแต่ปี พ.ศ. 2493 แล้ว ต่อมาในระหว่างปี พ.ศ. 2515 ถึง 2522 ได้มีการดำเนินโครงการปลูกพืชทดแทนฝิ่นในเขตภาคเหนือ
พบว่า กาแฟอาราบิก้ามีศักยภาพในการปลูกทดแทนฝิ่นได้ ในปี พ.ศ. 2523 จึงมีการส่งเสริมให้มีการปลูกกาแฟอาราบิก้าทดแทนฝิ่นจนถึงปัจจุบัน
สำหรับประเทศไทย
ในพื้นที่ภาคใต้ จะเป็นการปลูกกาแฟ "โรบัสตา"
ที่ จังหวัดระนอง สุราษฎร์ธานี และชุมพร
ในพื้นที่ภาคเหนือ จะเป็นการปลูกกาแฟ "อราบิกา" กาแฟที่มีชื่อเสียงของไทยได้แก่ กาแฟดอยช้าง ซึ่งปลูกบนดอยช้าง จังหวัดเชียงราย ถือว่าเป็นกาแฟได้จากกระบวนการผลิตที่ได้มาตรฐานระดับสากล และรสชาติดีเทียบเคียงกับกาแฟที่มีชื่อเสียงของโลก
ส่วนแหล่งปลูกอื่นๆ ในภาคเหนือ ได้แก่
บ้านแม่กำปอง อำเภอแม่ออน
บ้านแม่ตอนหลวง อำเภอดอยสะเก็ด
บ้านแม่ตอนหลวง อำเภอดอยสะเก็ด
บ้านแม่หลอด อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่
บ้านแม่หลอด อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่
สวนยาหลวง บ้านสันเจริญ อำเภอท่าวังผา
สวนยาหลวง บ้านสันเจริญ อำเภอท่าวังผา
บ้านมณีพฤกษ์ อำเภอทุ่งช้าง จังหวัดน่าน
บ้านมณีพฤกษ์ อำเภอทุ่งช้าง จังหวัดน่าน
โฆษณา