Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
ลงทุนแมน
ยืนยันแล้ว
•
ติดตาม
13 ม.ค. 2020 เวลา 11:40 • ธุรกิจ
ซีเรีย ประเทศที่เคย “รวย” กว่าไทย
บ้านเมืองพังทลาย
ผู้คน 450,000 คนเสียชีวิต
1 ใน 4 ของประชากรซีเรีย 21 ล้านคน ต้องอพยพออกนอกประเทศ
ผู้อพยพแทบทุกคนล้วนสูญเสีย พ่อ แม่ ลูก คนรัก ญาติพี่น้อง เพื่อนฝูง
และเด็กๆ กว่า 500,000 คน กลายเป็นเด็กกำพร้า
สิ่งเหล่านี้ คือความจริงที่เกิดขึ้นกับซีเรียในวันนี้
แทบไม่น่าเชื่อเลยว่า
ครั้งหนึ่งประเทศนี้ เคย “รวย” กว่าไทย..
เมื่อ 60 ปีที่แล้ว คนซีเรียมีรายได้ต่อหัวมากกว่าคนไทยเกือบ 2 เท่า
ปี ค.ศ. 1960 คนซีเรีย มีรายได้ต่อปี 3,160 บาท
ในขณะที่คนไทยมีรายได้ต่อปีเพียง 2,140 บาท
หลายคนคงพอจะทราบ
ว่าสาเหตุของการล่มสลายทางเศรษฐกิจซีเรีย เกิดจากสงครามกลางเมือง
สงครามที่เกิดจากความขัดแย้งภายในประเทศ
แล้วบานปลาย ดึงให้ต่างชาติเข้ามาวุ่นวายเต็มไปหมด
เรื่องราวทั้งหมดมีที่มาที่ไปอย่างไร?
ยินดีต้อนรับเข้าสู่ ซีรีส์บทความ ประเทศที่ “เคยรวยกว่า” ไทย ตอน ซีเรีย
ทำเลที่ตั้งของซีเรีย คือ จุดภูมิรัฐศาสตร์ที่สำคัญของโลก
พูดง่ายๆ ก็คือ จุดที่รวมความขัดแย้งเอาไว้ด้วยกัน ทั้งเชื้อชาติ ศาสนา และดุลของมหาอำนาจ
ซีเรียตกเป็นอาณานิคมของฝรั่งเศสในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2
ในขณะที่อิรักเพื่อนบ้านทางตะวันออก ตกเป็นดินแดนของอังกฤษ
1
ฝรั่งเศสและอังกฤษ แบ่งเขตแดนซีเรียกับอิรัก โดยไม่คำนึงถึงเชื้อชาติหรือศาสนาใดๆ
1
ทำให้ดินแดนแห่งนี้ เป็นที่รวมความหลากหลายของผู้คนเอาไว้ด้วยกัน
ทั้งชาวมุสลิมที่นับถือนิกายซุนนี ซึ่งเป็นประชากรส่วนใหญ่
ชาวมุสลิมที่นับถือนิกายชีอะห์ และชาวเคิร์ดซึ่งเป็นชนกลุ่มน้อย
1
หากความหลากหลายนั้นส่งผลดีก็แล้วไป แต่ไม่ใช่กับซีเรีย..
1
หากมองจากแผนที่ ทุกด้านของชายแดนซีเรียล้วนแต่เต็มไปด้วยปัญหา
Cr. Business Insider
ทิศเหนือของซีเรีย ติดกับตุรกี มีปัญหาในเรื่องชนกลุ่มน้อยชาวเคิร์ด
1
ทิศตะวันออก ติดกับอิรัก มีปัญหาความขัดแย้งกับชาวมุสลิมนิกายชีอะห์ และกลุ่ม ISIS
4
ทิศใต้ ติดกับอิสราเอล มีปัญหาเรื้อรังมานานในเรื่องความขัดแย้งระหว่างชาวยิวกับชาวมุสลิม
ส่วนทิศตะวันตก ติดกับเลบานอน มีความขัดแย้งกับกลุ่มฮิซบอลเลาะห์ พรรคการเมืองนิกายชีอะห์ของเลบานอน
3
ปัญหาความขัดแย้งทั้งหมดล้วนถูกสะสมเอาไว้ ไม่ต่างอะไรกับระเบิดเวลา..
3
หลังจากได้รับเอกราชจากฝรั่งเศสในปี ค.ศ. 1946 ซีเรียถูกปกครองด้วยรัฐบาลทหารหลายต่อหลายครั้ง จนในปี ค.ศ. 1971 พันเอกฮาเฟซ อัล-อัสซาด ได้ก่อรัฐประหาร แล้วก้าวขึ้นมาเป็นประธานาธิบดี
2
รัฐบาลของอัสซาดครองตำแหน่งต่อเนื่องยาวนานเป็นเวลา 30 ปี จนเสียชีวิตในปี ค.ศ. 2000
และ บาชาร์ อัล-อัสซาด ผู้เป็นลูก ขึ้นครองตำแหน่งประธานาธิบดีต่อจากพ่อในปีเดียวกัน
3
ที่น่าสนใจคือ ฝ่ายรัฐบาล เป็นชาวมุสลิมนิกายชีอะห์ มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับอิหร่าน
ในขณะที่ประชากรส่วนใหญ่ 76% ของซีเรีย นับถือนิกายซุนนี ซึ่งเป็นนิกายเดียวกับชาวอาหรับส่วนใหญ่ในตะวันออกกลาง เช่น ซาอุดีอาระเบีย คูเวต จอร์แดน
ความเหลื่อมล้ำระหว่างประชาชนทั้ง 2 นิกายนี้ดำเนินมาเรื่อยๆ ตั้งแต่สมัยอัล-อัสซาดผู้พ่อ
และเริ่มรุนแรงขึ้นเมื่อมาถึงสมัยลูก บาชาร์ อัล-อัสซาด
3
ในระหว่างช่วงเวลายาวนานของพ่อลูก อัล-อัสซาด
เศรษฐกิจของซีเรีย มีรายได้หลักมาจากการส่งออกน้ำมัน และสินค้าเกษตรกรรม
1
แม้แหล่งน้ำมันในซีเรีย จะมีน้ำมันสำรองน้อยกว่าประเทศอื่นๆ ในตะวันออกกลาง
แต่ก็เป็นสินค้าส่งออกหลักที่สร้างรายได้ให้รัฐบาลซีเรียกว่า 25%
1
ส่วนสินค้าเกษตรกรรม ซีเรียส่งออกข้าวสาลี ฝ้าย ผลไม้ตระกูลส้ม และน้ำมันมะกอก
โดยมีลุ่มแม่น้ำยูเฟรตีสอันอุดมสมบูรณ์ทางตะวันออก เป็นแหล่งเพาะปลูกฝ้ายกับข้าวสาลี
3
และชายฝั่งทะเลเมดิเตอร์เรเนียนทางตะวันตก เป็นแหล่งเพาะปลูกผลไม้ตระกูลส้ม และมะกอกชั้นดี
2
Cr. UN News
แต่ภัยแล้งอย่างหนักในปี ค.ศ. 2008 ก็ทำให้ผลผลิตทางการเกษตรของซีเรียลดลง
โดยเฉพาะข้าวสาลีที่ลดลงเกือบ 50%
เกษตรกรกว่า 800,000 คนแทบสิ้นเนื้อประดาตัว และกว่า 200,000 คนต้องทิ้งที่ดินทำกินเพื่อมาหาอาหารและงานในเขตเมือง
3
ชาวซีเรียผู้อยู่ต่ำกว่าเส้นความยากจน พุ่งจาก 20% ในปี ค.ศ. 2007 กลายเป็น 50% ของประชากรทั้งประเทศ ในปี ค.ศ. 2010
1
ความอดอยากยากแค้นเป็นเหมือนเชื้อเพลิงแห่งความขัดแย้ง
รอแค่เวลาที่จะมีคนมาจุดไฟ
แล้วเหตุการณ์อาหรับสปริงก็เกิดขึ้น..
เหตุการณ์นี้เป็นการเดินขบวนประท้วงในโลกอาหรับ เพื่อโค่นล้มอำนาจของผู้นำเผด็จการ
โดยมีจุดเริ่มต้นเมื่อปี ค.ศ. 2010 ในประเทศตูนิเซีย ประเทศเล็กๆ ในแอฟริกาเหนือ
ไล่มาจนถึงการปฏิวัติในลิเบียและอียิปต์ ประชาชนในประเทศเหล่านี้ประสบความสำเร็จในการโค่นล้มอำนาจของผู้นำเผด็จการ
2
แต่การปฏิวัติในที่ไหนๆ ก็ไม่รุนแรงเท่ากับสิ่งที่เกิดขึ้นในซีเรีย..
ผู้ประท้วงมากมายออกมาเดินตามถนนในกรุงดามัสกัส เมืองอเล็ปโป และเมืองใหญ่อื่นๆ ทั่วประเทศ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นชาวซีเรียผู้นับถือนิกายซุนนี
2
แต่การประท้วงในซีเรียไม่ได้ประสบความสำเร็จเหมือนกลุ่มประเทศอาหรับอื่นๆ
1
จุดแตกหักระหว่างรัฐบาลกับฝ่ายต่อต้าน เมื่อทางรัฐบาลได้มีการยิงใส่ผู้ประท้วง
ที่มาเดินขบวนเรียกร้องให้โค่นล้มอำนาจผู้นำ
กระสุนนัดเดียวที่พาประเทศนี้มาพบกับจุดจบ..
ไม่กี่วันต่อมา เมืองอื่นๆ ทั่วประเทศก็เกิดเหตุการณ์ที่ใกล้เคียงกัน
ผู้ประท้วงมากมาย ทั้งผู้ใหญ่ คนชรา แม้แต่เด็กที่มาร่วมเดินขบวนก็โดนประหารอย่างโหดเหี้ยม
2
ปลายปี ค.ศ. 2011 เมื่อกลุ่มต่อต้านทนไม่ไหวจึงเกิดเป็นกลุ่ม กองทัพซีเรียเสรี (FSA) เพื่อโค่นล้มรัฐบาล
2
Cr. Sputnik News
อย่างที่กล่าวไว้ ทำเลที่ตั้งของซีเรีย คือจุดที่รวมความขัดแย้งเอาไว้ด้วยกัน ทั้งเชื้อชาติ ศาสนา และดุลของมหาอำนาจ
จึงดึงให้ประเทศเพื่อนบ้านเข้ามาเกี่ยวข้องอย่างเลี่ยงไม่ได้..
ตัวละครที่ 1 อิหร่าน และกลุ่มฮิซบอลเลาะห์ในเลบานอน
1
อิหร่านเป็นพันธมิตรกับรัฐบาลซีเรียมาอย่างเหนียวแน่น ทั้งในเรื่องของการเมืองและเศรษฐกิจ ผู้นำซีเรียนับถือนิกายชีอะห์เช่นเดียวกับอิหร่าน
2
ในขณะที่อิหร่านก็ใช้ซีเรียเป็นฐานที่มั่น เพื่อส่งอาวุธไปให้กลุ่มฮิซบอลเลาะห์ พรรคการเมืองนิกายชีอะห์ในเลบานอนซึ่งมีกองกำลังเป็นของตัวเอง
1
หากรัฐบาลของอัล-อัสซาดถูกโค่นล้ม หมายความว่า
อิหร่านจะขาดพันธมิตรที่สำคัญที่สุดในตะวันออกกลาง
ทำให้อิหร่านและกลุ่มฮิซบอลเลาะห์สนับสนุนฝ่ายรัฐบาลซีเรียอย่างเต็มที่
3
ตัวละครที่ 2 ซาอุดีอาระเบีย และกลุ่มประเทศอาหรับแถบอ่าวเปอร์เซีย
1
ซาอุดีอาระเบียกับอิหร่านมีความขัดแย้งกันมายาวนาน ทั้งในเรื่องศาสนาและการปกครอง
ดังนั้นแล้วหากอิหร่านมีอิทธิพลเหนือซีเรียมากเกินไป อาจนำไปสู่การเผชิญหน้าระหว่างอิหร่านและซาอุดีอาระเบียได้
3
ดังนั้นเพื่อลดอิทธิพลของอิหร่านในซีเรีย ซาอุดีอาระเบียจึงอาศัยจังหวะนี้เข้าสนับสนุนฝ่ายต่อต้านรัฐบาล ทั้งให้อาวุธและเงินสนับสนุนเพื่อต่อต้านอิหร่าน
4
ตอนนี้ ไฟแห่งความขัดแย้งในซีเรีย ลุกลามเป็นความขัดแย้งที่ดึงประเทศต่างๆ เข้ามาเกี่ยวข้อง
1
ฝั่งรัฐบาล ประกอบไปด้วย อิหร่านและกลุ่มฮิซบัลเลาะห์
โดยมีมหาอำนาจอย่างรัสเซียคอยหนุนหลังอีกต่อหนึ่ง
6
ฝั่งต่อต้านรัฐบาล ประกอบไปด้วย ซาอุดีอาระเบียและกลุ่มประเทศอาหรับ
โดยมีสหรัฐอเมริกาคอยหนุนหลัง
2
อย่างที่กล่าวไว้ข้างต้นว่า รอบด้านทุกทิศทางของซีเรีย
คือ “ความขัดแย้ง” ที่เป็นเหมือนระเบิดเวลา
เมื่อถึงเวลาที่เหมาะสม ทุกอย่างก็ระเบิดออกมา..
ตัวละครที่ 3 ชาวเคิร์ด
ชาวเคิร์ด คือกลุ่มชาติพันธุ์ที่ไม่มีประเทศเป็นของตัวเอง มีอยู่ประมาณ 30 - 40 ล้านคน
ส่วนมากอาศัยอยู่ในประเทศตุรกี อิรัก และตอนเหนือของซีเรีย
มีชาวเคิร์ดในซีเรีย 2 ล้านคน ซึ่งมีกองกำลังเป็นของตัวเอง
เมื่อซีเรียเกิดความวุ่นวาย ชาวเคิร์ดในซีเรียตั้งกองทัพประชาธิปไตยซีเรีย (SDF)
โดยมีจุดประสงค์เพื่อแบ่งแยกดินแดน
2
ชาวเคิร์ดดึงให้ตุรกีเข้ามาร่วมด้วย รัฐบาลตุรกีซึ่งกลัวว่า หากชาวเคิร์ดในซีเรียประสบความสำเร็จ จะทำให้ชาวเคิร์ดในตุรกีคิดแบ่งแยกดินแดน
ในช่วงแรก ตุรกีอยู่ฝั่งต่อต้านรัฐบาล เพราะไม่ถูกกับอิหร่าน
แต่เป้าหมายที่แท้จริงของตุรกี คือต้องการจัดการกับกลุ่มชาวเคิร์ด
ตัวละครที่ 4 กลุ่มไอซิส หรือ ISIS (Islamic State of Iraq and Syria)
กลุ่มไอซิส เป็นกลุ่มมุสลิมหัวรุนแรง โดยกลุ่มนี้แยกตัวออกมาจากกลุ่มหัวรุนแรงอัลกออิดะห์ในอิรัก หลังถูกสหรัฐอเมริกาปราบปรามอย่างหนัก
กลุ่มไอซิสก็ได้รวบรวมกำลังพลและฟื้นตัวขึ้นมาใหม่ในเขตแดนซีเรียกับอิรัก
โดยมีเป้าหมาย คือการจัดตั้งรัฐอิสลาม (Islamic State) ที่ปกครองโดยใช้กฎหมายอิสลาม
2
ไอซิสเป็นศัตรูกับทุกๆ กลุ่ม ทั้งกลุ่มรัฐบาล กลุ่มต่อต้านรัฐบาล และชาวเคิร์ด
3
และมีอีกกลุ่มที่สงครามซีเรียลากเข้ามาด้วยก็คือ สหรัฐอเมริกาและพันธมิตรในยุโรป
2
สหรัฐอเมริกาเข้ามาร่วมสงครามในซีเรีย เหตุผลหนึ่งก็เพื่อทำลายล้างกลุ่มไอซิส
อีกเหตุผลหนึ่งก็เพื่อตรวจสอบว่า รัฐบาลอัล-อัสซาด มีการใช้อาวุธเคมีต่อสู้กับประชาชนหรือไม่
5
ความขัดแย้งในซีเรีย บานปลายจนกลายเป็นสงครามตัวแทน
เชื้อเชิญให้ทุกกลุ่มความขัดแย้งเข้ามาร่วมตะลุมบอน
เมืองอเล็ปโปที่ครั้งหนึ่งเคยสวยงามเป็นมรดกโลก ถูกทำลายจนราบคาบ
สาธารณูปโภค โครงสร้างพื้นฐาน ทุกอย่างล้วนพังทลาย
3
ปี 2018 รายได้ต่อหัวของคนซีเรีย เหลือเพียง 25,080 ต่อคนต่อปี หรือเฉลี่ยเดือนละ 2,090 บาท
ซีเรียในวันนี้ ไม่ใช่แค่ประเทศที่จนกว่าไทย 9 เท่า
แต่กลายเป็นประเทศที่ไม่เหลืออะไรแล้ว แม้แต่ “อนาคต”
2
จนในเวลานี้
ความขัดแย้งยังคงดำเนินต่อไป
จนยากที่จะสรุปว่าใครเป็นผู้แพ้หรือผู้ชนะ
2
แต่ไม่ว่าใครจะเป็นผู้ชนะ
เขาคนนั้น ก็น่าจะได้ไปแต่
ซากปรักหักพัง..
ความขัดแย้งระหว่างเชื้อชาติและศาสนา ยังคงเป็นปัญหาให้กับอีกหลายๆ ประเทศ
2
นอกจากซีเรียแล้ว ทวีปเอเชียยังมีอีกประเทศหนึ่ง
ที่ความขัดแย้งทำให้เศรษฐกิจมีปัญหามาจนถึงทุกวันนี้
ทั้งที่มีทำเลที่ดี และครั้งหนึ่งเคย “รวย” กว่าไทย
ประเทศนั้นคือ “สาธารณรัฐสังคมนิยมประชาธิปไตยศรีลังกา”..
Cr. Financial Times
References
-
https://www.chathamhouse.org/sites/default/files/field/field_document/20150623SyriaEconomyButter.pdf
-
https://www.indexmundi.com/g/g.aspx?c=sy&v=69
-
https://www.theatlantic.com/international/archive/2013/12/understanding-syria-from-pre-civil-war-to-post-assad/281989/
-
https://www.eia.gov/beta/international/analysis_includes/countries_long/Syria/archive/pdf/syria_2011.pdf
1
90 บันทึก
461
43
102
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
ประเทศที่ “เคยรวยกว่า” ไทย
90
461
43
102
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย