8 ม.ค. 2020 เวลา 10:30 • ไลฟ์สไตล์
เมื่อเป้าหมายไม่ได้มีแค่ทางเดียวที่ไปถึง🎯
ถ้ามีโอกาส วิธีการ หรือข้อเสนอ ที่สามารถทำให้เป้าหมายของคุณสำเร็จได้ โดยผ่านการศึกษา คิด วิเคราะห์โดยตัวเองมาเป็นอย่างดีแล้ว ซึ่งคุณพบว่ามันจะสามารถทำให้มีความสุข สนุก ตรงลักษณะนิสัยและบุคลิก แต่มันอาจจะไม่เป็นที่นิยมใช้กัน หรือเป็นวิทีที่บางคนคิดว่ามีโอกาสสำเร็จได้น้อย หรือมีโอกาสสำเร็จแต่จะมีความเสี่ยงค่อนข้างสูง คุณจะยอมเสี่ยงกับวิธีการเหล่านั้นหรือไม่🤔
ขอบคุณภาพจาก: https://pixabay.com/users/geralt-9301
ในเรื่องของการวิ่งแน่นอนว่าทุกคนรู้ว่ามันดีต่อสุขภาพ มันทำให้สุขภาพร่างกายแข็งแรง โดยใช้ระยะเวลาในการออกกำลังกายให้เหมาะสมไม่มาก และไม่น้อยจนเกินไป ควบคู่ไปกับการเลือกกินอาหารที่มีประโยชน์ และครบห้าหมู่
แต่ถ้าเราต้องการออกกำลังกายเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพให้มากขึ้น ต้องการวิ่งในระยะทางที่ไกลขึ้น ความเร็วที่เพิ่มขึ้น ซึ่งมันจะทำให้เลยคำว่าออกกำลังกายเพื่อสุขภาพไป มันจะต้องอาศัยทั้งพละกำลังของร่างกาย กล้ามเนื้อ รวมถึงจิตใจด้วย แน่นอนว่าแค่วิ่งอย่างเดียวอาจจะไม่เพียงพอ ต้องอาศัยการเวทเทรนนิ่งเพื่อเพิ่มมวลกล้ามเนื้อ การใช้วิทยาศาสตร์การกีฬาเข้ามาช่วย รวมถึงคำนึงถึงโภชนาการอาหารให้มากกว่าเดิมด้วย🥑🏋️‍♂️
โภชนาการอาหารของนักวิ่ง โดยหลักแล้วก่อนที่จะเริ่มทำการแข่งขัน นักกีฬาจะนิยมรับประทานอาหาร โดยการเพิ่มสัดส่วนคาร์โบไฮเดรตให้สูงขึ้น เพื่อให้ร่างกายได้สะสมไกลโคเจน และนำไปใช้ในวันแข่งขันได้อย่างมีประสิทธิภาพ
จากนั้นหลังจากการแข่งขัน นักวิ่งเองก็ยังจะต้องการพลังงานจากแร่ธาตุ และโปรตีนที่เพียงพอ เพื่อให้ร่างกายและกล้ามเนื้อกลับมาฟื้นฟู หายจากอาการล้า อ่อนเพลียให้ได้เร็วที่สุด
ขอบคุณภาพจาก: www.pexels.com/@scottwebb
แต่จะมีนักวิ่งบางส่วนโดยเฉพาะนักวิ่งระทางที่ไกลมาก จะใช้หลักการอื่นที่แตกต่างไป ซึ่งหลักการนั้นคือการกินแบบ"คีโตเจนิก"
👉การกินแบบ"คีโตเจนิก"
คือการกินโดยเน้นในส่วนของไขมันให้เยอะ โปรตีนในระดับปานกลาง แล้วลดสัดส่วนของคาร์โบไฮเดรต และน้ำตาลให้น้อย เพื่อให้ร่างกายได้ใช้ไขมันเพื่อสร้างโมเลกุลที่มีชื่อว่า "Ketone" ไว้ใช้เป็นพลังงานให้แก่เราแทนพลังงานจากคาร์โบไฮเดรตที่เราคุ้นเคย
👉การกินแบบคีโตเจนิกเกี่ยวข้องอย่างไรกับนักวิ่ง
โดยปกติแล้วนักวิ่งจะใช้พลังงานจากไกลโคเจนที่ได้จากการสะสมไว้ในร่างกาย แต่เมื่อพลังงานนั้นหมดจะทำให้เกิดภาวะชนกำแพง ซึ่งก็คือไม่สามารถที่จะวิ่งต่อไปได้ ส่วนมากจะเกิดกับนักวิ่งระยะทางไกล
แต่เมื่อเรากินอาหารแบบคีโตเจนิก ร่างกายจะดึงไขมันมาใช้เป็นพลังงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้เรามีความอึดขึ้น ทนทานขึ้น และสามารถวิ่งขึ้นได้ไกลกว่าเดิม เพราะพลังงานจากไขมันสามารถใช้ได้เรื่อย ๆ และนานกว่าพลังงานจากไกลโครเจน🥑🥦🥬
แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นนักกีฬากับการกินแบบคีโตเจนิก มันเป็นแค่ส่วนประกอบหนึ่งเท่านั้น ยังมีอีกหลายองค์ประกอบที่จะทำให้การวิ่งดีขึ้น ทั้งในเรื่องของการฝึกซ้อม การพักผ่อนและอื่น ๆ อีกมากมาย
มีนักกีฬาอีกหลายคนที่คุณภาพของการวิ่งที่ดีโดยไม่จำเป็นต้องใช้การกินแบบคีโตเจนิกเช่นกัน ทุกอย่างมันต้องใช้เวลา และการฝึกซ้อมเท่านั้น แม้แต่การกินแบบคีโตเจนิก ก็ต้องอาศัยเวลาเพื่อให้ร่างกายปรับตัว ให้เกิดความคุ้นชินในการใช้พลังงานจากไขมัน และที่สำคัญต้องใช้เวลาศึกษา ทำความเข้าใจอย่างถ่องแท้ถึงข้อเสีย และประเมิณกับร่างกายของเรา🤔
ขอบคุณภาพจาก: https://lowcarbalpha.com
👉ทุกอย่างไม่มีทางลัด และเป้าหมายก็ไม่ได้มีแค่ทางเดียวที่ไปถึง มันขึ้นอยู่กับว่าเราศึกษา และเข้าใจมันอย่างเพียงพอไหม แล้วเรายอมรับถึงความเสี่ยงนั้นได้มากน้อยแค่ไหน และที่สำคัญเวลาเราทำมันแล้วเรามีความสุข และเหมาะสมกับตัวเราหรือไม่
เราไม่มีทางจะรู้ได้ว่าสิ่งที่เราทำจะประสบความสำเร็จ หรือจะล้มเหลว จนกว่าที่เราจะได้ลองทำมัน ถ้าสิ่งนั้นเป็นสิ่งที่ประเมิณแล้วว่าจะไม่ทำให้ตัวเราเองลำบาก หรือเดือนร้อนจนเกินไป และความเสี่ยงนั้นอยู่ในระดับที่เรารับมันได้ ก็ไม่มีเหตุผลที่จะไม่ลองทำดู
ไม่สำคัญว่าสิ่งที่ทำจะประสบความสำเร็จหรือล้มเหลว ถ้าสำเร็จแน่นอนว่ามันจะต้องเป็นสิ่งที่น่าดีใจมาก ๆ แต่ถ้ามันล้มเหลวมันก็คงจะเป็นแค่เรื่องราวที่ผ่านมา ซึ่งอาจถูกเก็บไว้ในความทรงจำไว้เป็นเรื่องเล่าในอนาคต หรือไม่ก็เป็นเรื่องราวที่ผ่านมาแล้วก็จางหายไปก็ได้❤️
โฆษณา