8 ม.ค. 2020 เวลา 02:34 • ประวัติศาสตร์
⚡ทำไมปลาไหลไฟฟ้าถึงปล่อยกระแสไฟฟ้าได้ ?⚡
ภาพ : www.thenature.com
เรารู้กันดีว่าหนึ่งในปลาที่มีอาวุธติดตัวที่แปลกประหลาดมากที่สุดคือปลาไหลไฟฟ้า จากที่เราได้เห็นวิธีการช็อตเหยื่อหรือป้องกันตัวของพวกมันตามคลิปวิดิโอหรือสารคดีต่างๆ แต่เคยสงสัยมั๊ยว่า ทำไมมันจึงปล่อยกระแสไฟฟ้าออกมาจากร่างกายของมันได้ แล้วพวกมันใช้พลังพิเศษนี้ในสถานการณ์ใดบ้าง วันนี้แอดรวบรวมข้อมูลของเจ้าปลาไหลไฟฟ้ามาฝากกันครับ
#ติดตามเพจของเรากด like #ลิ้งค์นี้นะครับ
พวกมันสร้างกระแสไฟฟ้าขึ้นมาได้อย่างไร ?
ในร่างกายของปลาไหลไฟฟ้าจะมีอวัยวะในการผลิตไฟฟ้า 2 ชนิด ที่ทำงานควบคู่กัน โดยนักวิทยาศาสตร์เรียกมันว่า Main organ  และ  Hunter's organ
Main organ คืออวัยวะหลักที่มีขนาดใหญ่ 80% ของตัวปลาไหล ประกอบไปด้วยเซลล์ที่คล้ายกล้ามเนื้อเรียกว่า Electrocytes ที่มีการเรียงตัวเป็นชั้นๆ มากถึง 4-5,000 ชั้น ซึ่งในแต่ละชั้นจะผลิตกระแสไฟฟ้าออกมาได้ไม่มากนัก แต่ด้วยจำนวนชั้นที่มากมายขนาดนี้ เมื่อรวมกันจึงทำให้มันสามารถสร้างกระแสไฟฟ้าแบบอนุกรมได้ และเกิดเป็นกระแสไฟฟ้าที่มีกำลังศักย์สูงจนเกิดอันตรายได้ในที่สุด
ส่วน Hunter's organ จะเป็นอวัยวะที่ผลิตไฟฟ้าได้น้อยมากเมื่อเทียบกับ Mian organ แต่ข้อดีของมันคือสามารถผลิตไฟฟ้าได้ต่อเนื่องกว่า และมีคุณสมบัติที่ดีในการตรวจจับเหยื่อรอบรัศมีของมันเป็นหลัก
ภาพ : คุณ Pertita สมาชิกเว็บไซต์ Pantip
วิธีการปล่อยกระแสไฟฟ้าของปลาไหลไฟฟ้า ?
กระแสไฟฟ้าในร่างกายของพวกมันจะถูกสั่งการผ่านนิวเคลียสไปยังเส้นประสาท โดยเซลล์ประสาทดังกล่าวจะมีค่าเป็นประจุขั้วลบ ซึ่งมีศักย์ไฟฟ้าน้อยกว่า 100 ไมโครโวลต์จากภายนอกเมื่อเทียบกับภายในเซลล์
ต่อมาเมื่อสัญญาณจากนิวเคลียสถูกส่งมายังเส้นประสาท ส่วนต่อไปที่จะทำงานคือส่วนของปลายประสาท ปลายประสาทของมันจะค่อยๆ ปล่อยสารสื่อประสาทชื่อ อะซีตีคลอรีน ออกมา (acetylcholine) สารตัวนี้จะทำหน้าที่สร้างเซลล์ประสาทที่มีความต้านทานต่ำขึ้นมาเพื่อเชื่อมต่อส่วนของเซลล์ภายนอกและภายในเข้าด้วยกัน จนเกิดเป็นประจุขั้วบวกและขั้วลบขึ้นมา และก่อให้เกิดกระแสไฟฟ้าขึ้นมาได้ในที่สุด
อ่านมาถึงตรงนี้เพื่อนๆ งงไหมครับ ?
ถ้าอ่านแล้วมันดูซับซ้อนเกินไป ให้ลองคิดแบบง่ายๆ คือรูปแบบการปล่อยกระแสไฟฟ้าของมันจะคล้ายกับการทำงานของแบตเตอรี่ไฟฉาย คือมีการเรียงตัวของเซลล์จากอวัยวะภายในเป็นชั้นๆ กระแสไฟฟ้าแต่ละชั้นจะถูกผลิตเป็นช่วงสั้นๆ และไหลไปตามตัวของมัน กระแสไฟฟ้าบนตัวปลาจะถูกผลิตออกมาเป็นช่วงๆ และมีความถี่ต่อเนื่อง และด้วยจำนวนชั้นของกล้ามเนื้อราว 4-5,000 ชั้นที่กล่าวไว้ตอนต้น ทำให้กระแสไฟฟ้าจากปลาไหลมีศักย์ไฟฟ้าเฉลี่ยสูงถึง 600 โวลต์นั่นเอง
พวกมันจะปล่อยกระแสไฟฟ้าในสถานการณ์ใดบ้าง ?
มีอยู่ 2 สถานการณ์หลักที่ปลาไหลไฟฟ้าจะปล่อยกระแสไฟฟ้าออกมา คือ
1.เพื่อป้องกันตัว - ถ้าเราเคยดูคลิปวิดิโอเกี่ยวกับปลาไหลไฟฟ้า จะต้องมีคลิปเกี่ยวกับการปล่อยกระแสไฟฟ้าเพื่อป้องกันตัวจากผู้บุกรุกอยู่บ่อยครั้ง นักล่าบางตัวเมื่อถูกปลาไหลไฟฟ้าช็อตก็จะรีบหนีเอาชีวิตรอด แต่ถ้าบางตัวยื้อยุดไม่ยอมหนีก็ต้องจบชีวิตลงอย่างน่าอนาถ
(คลิปวิดิโอการป้องกันตัวของปลาไหลไฟฟ้า)
2.เพื่อตรวจจับเหยื่อและสังหารเหยื่อ - โดยปกติพวกมันจะปล่อยกระแสไฟฟ้าอ่อนๆ ออกมาเพื่อสำรวจเส้นทางและตรวจจับเหยื่อ ซึ่งในส่วนนี้เรียกว่า Hunter mode กระแสไฟฟ้าส่วนจะช่วยให้พวกมันรับรู้การเคลื่อนไหว หรือการเปลี่ยนแปลงของสิ่งรอบตัวได้ และเมื่อมันตรวจพบเหยื่อที่เคลื่อนไหวอยู่ในรัศมีของมัน กระแสไฟฟ้าในโหมดที่สองก็จะเริ่มทำงาน โดยเราเรียกมันว่า Attack mode
Attack mode คือการปล่อยกระแสไฟฟ้าในระดับ Main organ ออกมาเพื่อทำให้เหยื่อที่อยู่ในระยะ 8-10 ฟุตเป็นอัมพาตแล้วค่อยกินพวกมันเป็นอาหาร
นอกจากปลาไหลไฟฟ้า ยังมีปลาชนิดไหนอีกที่ปล่อยกระแสไฟฟ้าได้ ?
ปลากระเบนไฟฟ้า (8-220 โวลต์)
ปลาดุกไฟฟ้า (100-600 โวลต์)
ปลาในกลุ่ม knife fish (ผลิตกระแสไฟฟ้าอ่อนๆ ใช้ในตรวจจับเหยื่อเป็นหลัก)
ปลางวงช้าง (ผลิตกระแสไฟฟ้าอ่อนๆ ใช้ในตรวจจับเหยื่อเป็นหลัก)
กระเบนไฟฟ้า
ปลางวงช้าง
ภาพและข้อมูลโดย
https://m.pantip.com/topic/32994704? (ข้อมูลจาก Partita)
ขอบคุณทุกเว็บไซต์ที่นำเสนอข้อมูลอันเป็นประโยชน์ครับ🙏🙏🙏
แอดฝากเพื่อนๆ กด like & Share เพจ Fish Blogger Thailand ด้วยนะครับ จะได้ช่วยกันแบ่งปันเรื่องราวสาระและดีๆเรื่องสัตว์น้ำให้พวกเราติดตามไปด้วยกัน มาเป็นครอบครัวเดียวกันนะครับผม
โฆษณา