Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
เกมจริงจัง
•
ติดตาม
9 ม.ค. 2020 เวลา 00:30 • เกม
เคยสงสัยกันไหมว่า
กว่าจะได้เกมออกมาดี ๆ สักเกม
มีอะไรต้องทำบ้าง ? (1/2)
สื่อที่เรียกว่า ‘เกม’ เป็นสื่อที่ไม่ว่าใครในปัจจุบัน ก็ต้องเคยเล่นกันมาบ้างนะครับ เพราะเกมนั้น ให้ทั้งความรู้ ความสนุกไปพร้อม ๆ กัน ได้รับประสบการณ์ใหม่ ๆ จากเกมอีกด้วย
ส่งผลให้อุตสาหกรรมเกมนั้น มีเม็ดเงินเข้ามาหมุนเวียนมหาศาล ในปี 2019 ที่ผ่านมาก็เกือบ 1.4 แสนล้านเหรียญสหรัฐ
ข้อมูลจาก Newzoo
ทำให้ในปัจจุบัน มีนักลงทุนมากมาย ที่มีความสนใจอยากจะกระโดดเข้ามามีส่วนร่วมในเม็ดเงินตรงนี้มาก
แต่ทว่าในสถานการณ์ของประเทศไทยนั้น ส่วนมากจะเป็นการที่บริษัทเกม ไปขอซื้อลิขสิทธิ์เพื่อเผยแพร่จากเกมประเทศอื่นมา แล้วให้บริการในประเทศ มากกว่าที่จะผลิตเกมกันในประเทศไทยเอง
วันนี้ เกมจริงจัง เลยอยากจะมาเล่าให้ทุกคนฟังคร่าว ๆ ว่า จริง ๆ แล้วกว่าจะได้เกมออกมาสักหนึ่งเกม มันระบวนการอะไรที่สำคัญบ้าง แต่ละขั้นตอนทำอะไร โดยเกมจริงจังจะขอแบ่งขั้นตอนออกเป็น 8 ขั้นตอน วันนี้ผมจะพูดถึง 4 ขั้นแรกก่อนนะครับ
พร้อมแล้วก็ไปดูกันเลย !
1. ตั้งไอเดีย
เริ่มกันที่ส่วนที่สำคัญที่สุดกันเลย การตั้งไอเดียเกม
สิ่งแรกที่ควรทำคือ ประเมินความสามารถของคนพัฒนาครับ ถ้าเราทำเกมคนเดียว เรารู้ตัวอยู่แล้วว่า มีเวลาว่างเท่าไหร่ ฝีมือเป็นอย่างไร แต่ถ้ามีทีมของตัวเอง ก็ต้องประเมินทีมด้วยว่า มีความสามารถทำได้ถึงขนาดไหนครับ
ต่อมา หลาย ๆ คนอาจจะเข้าใจว่า การตั้งไอเดียเกม คือการไปดูว่าเกมไหน กำลังฮิต ๆ อยู่ตอนนี้ แล้วเราก็มาทำบ้าง
แต่จริง ๆ แล้วคือผิดนะครับ เพราะกว่าเราจะพัฒนาเกมแบบนั้นเสร็จ เกมที่กำลังฮิต ๆ นั้นก็กินตลาดนั้นเรียบไปแล้วครับ
เหมือนกับเห็นว่าตุ๊กตาเฟอร์บี้กำลังฮิต แล้วก็ซื้อมาขาย สุดท้ายเทรนด์มันหมุนไปเร็ว ทำให้ขายไม่ออกนั่นเอง มุมมองเดียวกันเลยครับ
การตั้งไอเดียที่แท้จริง คือ การหาช่องว่างทางการตลาด ที่เราสามารถจะเข้าไปมีส่วนร่วมได้
ขั้นตอนนี้จริง ๆ แล้วไม่ซับซ้อน แต่ยากที่การตัดสินใจครับ เราอาจจะเริ่มจากการไปดูรีวิวเกมที่เราหวังว่าจะทำไว้ก่อน และคอยหารีวิวที่คนเล่นไม่ชอบเกี่ยวกับเกมนั้น ๆ มาเป็นตัวเลือกครับ
สมมติว่าเราอยากทำเกมรถแข่ง ให้เราลองไปอ่านรีวิวของผู้เล่น หรือสำนักข่าวต่าง ๆ ดูครับว่า มีข้อเสียอะไรบ้างที่เราสามารถที่จะทำได้
การทำแบบนี้ จะทำให้เกมของเรา ไม่ซ้ำกับเกมของคนอื่นโดยอัตโนมัติครับ แต่ถ้าเมื่อไหร่ เราไปลอกเกมของเขามาทำดื้อ ๆ เลย ยังไงก็ขายลำบากครับ เพราะคุณตอบไม่ได้ว่า ทำไมผู้เล่นต้องย้ายมาเล่นเกมคุณด้วย
หลังจากที่เราได้ไอเดียมาแล้วว่า จะต้องมีดี ในส่วนที่เกมอื่นทำได้ไม่ดี เราต้อง ‘เขียน’ ลงในเอกสารให้ทีมได้เห็นครับ
ผลิตเกมก็เหมือนผลิตภาพยนตร์ เราไม่สามารถคิดสิ่งที่ซับซ้อนในหัวได้เพียงอย่างเดียว ยังไงเราก็จะลืมในที่สุด ทีมก็จะไม่เข้าใจสอ่งที่เราจะบอกอีกด้วยครับ
2. ศึกษาความเป็นไปได้
ประเด็นสำคัญของขั้นตอนนี้ อยู่ที่ ‘การค้นคว้า’ เลยครับ
เรื่องที่สำคัญ ๆ ก็หนีไม่พ้นสิ่งที่เรียกว่า Game Engine นั่นเอง ซึ่งเป็นโปรแกรมที่ใช้ในการสร้างเกมนั่นเอง แต่ละโปรแกรมก็จะมีจุดเด่นจุดด้อยแตกต่างกันออกไป
นอกจากนี้ก็จะมีเรื่องที่ต้องค้นคว้าอีกเยอะ เพื่อให้เป้าหมายของเราชัดเจนมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นฐานผู้เล่นจะต้องเป็นใคร การทำ SWOT ของเกมเราเอง
การลองวาด ลองเอาภาพมาตัดแปะกันก่อนว่า เกมเรา ผู้เล่นจะเล่นเป็นใคร เป้าหมายของเกมคืออะไร หน้าตาเกมต้องเป็นยังไง จะทำเกมลงเครื่องเล่นไหน มือถือหรือว่าคอมพิวเตอร์ เป็นต้นครับ
อย่าลืมนะครับว่า ทุก ๆ การค้นคว้า ข้อมูลที่ใช้ในการประกอบการตัดสินใจทุกอย่าง ต้องมีบันทึกไว้เป็นเอกสารนะครับ ไม่เช่นนั้น เราจะหลุดโฟกัสได้ง่าย ๆ เลย
หลังจากที่เราได้ศึกษาค้นคว้ากันแล้ว ตัดสินใจกันแล้วว่า เกมจะเป็นอย่างไร จะใช้โปรแกรมอะไรทำ ขั้นตอนต่อไปก็คือ ลงมือทำ !!
3. ลงมือทำตัวอย่างเกม
ลงมือทำเกมกันเลย !! แต่ย้ำว่า ตัวอย่างเกมนะครับ ยังไม่ใช่เกมจริง ๆ
ประเด็นสำคัญสุด ๆ อยู่ที่ “การทำตามแผนที่วางไว้” ครับ
สิ่งที่เราได้ค้นคว้ามา สิ่งที่เราได้ตัดสินใจกันมา จากข้อก่อน ๆ เราต้องทำตามที่เอกสารเราได้บันทึกไว้ก่อนนะครับ
หลาย ๆ คนตายน้ำตื้นตรงที่ พอมาทำจริง ๆ แล้วรู้สึกว่าตรงนี้อาจจะไม่ดี ตรงนั้นน่าจะไม่สวย เปลี่ยนแบบไปมาทันที ทำให้เสียเวลาเปล่า สุดท้ายเพื่อนตามไม่ทัน เราก็จะทำไม่เสร็จสักทีครับ
วิธีแก้คือ กำหนดวันสำหรับตรวจสอบกันกับทีมครับ อาจจะเป็นทุก ๆ สัปดาห์ มาดูกันว่า มีอะไรที่ควรปรับแก้ เปลี่ยนแปลงกันบ้าง ให้ตัดสินใจในที่ประชุมให้ดีนะครับ จะได้ไม่มีใครตามไม่ทัน
ตัวอย่างเกมนี้ อาจจะไม่จำเป็นจะต้องมีของตกแต่ง ไม่ต้องทำงานให้ละเอียดมากก็ได้นะครับ งานบางชิ้นอาจจะถูกตัดออก บางชิ้นอาจจะต้องทำใหม่ จะทำให้เสียเวลาเปล่า
บางครั้งสามารถใช้กล่องสี่เหลียม สามเหลี่ยมวางไว้คร่าว ๆ ก่อนก็ได้
ตัวอย่างเกมยิง ๆ ส่วนมากจะมีหน้าตาเป็นแบบนี้
ประโยชน์ของตัวอย่างเกมของเรานั้น จะต้องอธิบายคนที่ไม่เคยเห็นได้ว่า เกมนี้มันสนุกยังไง ทำไมมันถึงสนุก ไม่เหมือนกับเกมอื่นยังไง หรืออาจจะยาวไปถึงจะสามารถทำเงินจากเกมนี้ได้ยังไงก็ได้ครับ
ยิ่งตัวเกมสามารถตอบคำถามเหล่านี้ได้มากเท่าไหร่ เราก็จะสามารถขอระดมทุนจากผู้ที่สนใจเเพิ่มเติมก็ทำได้ครับ
เอาละ เมื่อมีตัวอย่างเกมแล้ว รู้แล้วว่าต้องให้ความสำคัญกับอะไร ถึงจะทำให้เกมออกมาเหมือนกับที่ได้ตั้งไอเดียกันไว้
เราก็มาลงมือทำจริง ๆ กันเลย !!
4. เริ่มลงมือทำจริง (Alpha)
ในวงการเกม เราเรียกขั้นตอนนี้ว่า อัลฟ่า (α) ซึ่งเป็นตัวอักษรแรกในภาษากรีก ใช้เรียกขั้นตอนของการพัฒนาเกมในช่วงแรก
ขั้นตอนนี้ มีส่วนสำคัญที่ ‘การพัฒนาวิธีการทำงาน’ ครับ ก็คือ ทีมจะมาหาวิธีกัน ว่าเราจะสามารถผลิตงานให้ออกมาดี และเร็วที่สุดยังไง
จากที่ผมได้กล่าวไปในข้อที่แล้วว่า ตัวอย่างเกมของเรา อาจจะมีงานบางอย่างที่ทำมาลวก ๆ อยู่ ยังไม่ได้เก็บรายละเอียด อีกทั้งอาจจะมีปัญหาสื่อสารกันในทีมด้วย
จังหวะอัลฟานี้แหละ เป็นโอกาสที่ดีที่จะได้พัฒนาวิธีการร่วมงานกัน มีวิธีการคุยกันที่มีประสิทธิภาพ
ทำยังไงขั้นตอนเหล่านี้ถึงจะเร็วขึ้น ดีขึ้นได้บ้าง
เมื่อทีมของเรามีวิธีการทำงานเป็นระบบที่ดีแล้ว เราก็จะสามารถผลิตชิ้นงานออกมาได้มากขึ้น เร็วขึ้นอีกด้วย เพื่อให้สอดคล้องกับขั้นตอนต่อไป
พบกับตอนต่อไปในวันพรุ่งนี้นะครับ อดใจรอกันก่อนนะครับ ^^
59 บันทึก
121
37
47
59
121
37
47
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย