Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
13055
•
ติดตาม
9 ม.ค. 2020 เวลา 02:51 • ธุรกิจ
ทำไมการประหยัดถึงไม่ช่วยให้เราเป็นหนี้ลดลง : Big Debt Crises ฉบับเข้าใจง่าย(ขึ้น)
3
บางครั้งการประหยัดอาจจะไม่ใช่คำตอบที่ดีเสมอไป
เวลาผมเห็นข่าวการเกิดวิกฤตเศรษฐกิจทีไร
มักจะมีคนมาบอกว่าทำไมไม่รู้จักประหยัดกัน
ถ้าเรารู้จักประหยัด ไม่ใช้จ่ายเกินตัว
เราอาจจะไม่มีปัญหานี้ก็เป็นได้
แต่ในความเป็นจริงแล้วไม่ง่ายแบบนั้นเสมอไป
เพราะเราทุกคนมักจะต้องก่อหนี้หรือกู้ยืมเสมอ
ในระดับคนธรรมดาทั่วๆไป
มีใครไม่เคยก่อหนี้หรือไม่เคยเป็นหนี้บ้าง
เราเคยผ่อน Iphone ไหม ???
เราเคยผ่อนรถยนต์ Toyota ไหม ???
เราเคยผ่อนคอนโดให้น้องๆไหม ???
นี่คือการก่อหนี้ทั้งนั้น
2
ตอนนี้แม้แต่เที่ยวก็ยังผ่อนได้
ในกลุ่มนักลงทุนก็เช่นกัน
กู้เงินมาลงทุนสร้างธุรกิจ
กู้มาสร้างโรงงาน
กู้เงินมาเพื่ออัด margin เล่นหุ้น
นี่ก็คือการก่อหนี้ทั้งนั้น
1
ถ้าเราได้เลื่อนตำแหน่ง
จากผ่อนรถ Toyota เราอาจจะเปลี่ยนมาผ่อนรถ Benz
ดังนั้นสำหรับนักลงทุน หรือรัฐบาลเมื่อมีรายได้เข้ามาเยอะขึ้น
ก็ย่อมสามารถก่อหนี้ได้เยอะขึ้นด้วย
ทีนี้ปัญหาหนี้หรือวิกฤตเศรษฐกิจจะเกิดขึ้นเมื่อคุณ "ไม่สามารถหาเงินจ่ายหนี้ได้เพียงพอ"
นี่คือหลักการง่ายๆ
แต่เป็นหลักการพื้นฐานของการเกิดวิกฤตหนี้ทั้งหมด
Ray Dalio ได้แบ่งวิกฤตหนี้ออกเป็น 2 ชนิดคือ
วิกฤตหนี้แบบเงินฝืดและวิกฤตหนี้แบบเงินเฟ้อ
1
debt crises หรือวิกฤตหนี้มี 2 แบบนะจ๊ะหลานๆ
1. วิกฤตหนี้แบบเงินฝืด
มักจะเกิดกับประเทศที่มีหนี้อยู่ในสกุลเงินขอตัวเองเป็นส่วนใหญ่
วิกฤตของหนี้แบบนี้จะเริ่มต้นการกู้ยืมเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ
แต่ยังไม่มากกว่ารายได้ที่เพิ่มขึ้น
เช่น ถ้าเราเลื่อนตำแหน่งและได้เงินเดือนเพิ่มมาอีก 30,000 บาท
เราก็สามารถกู้หนี้เพิ่มขึ้นอีก 20,000 บาทได้สบายๆ
ดังนั้นการกู้เงินมาเพื่อใช้จ่ายอะไรก็ตาม
ก็ย่อมทำให้เกิดเศรษฐกิจเติบโตมากขึ้น
ทำให้เรารายได้เพิ่มมากขึ้นอีก
และสามารถกู้เงินเพิ่มได้มากขึ้นอีกนั่นเอง
1
สรุปง่ายๆก็คือ
กู้เพิ่ม -> รายได้เพิ่ม -> กู้เพิ่ม -> รายได้เพิ่ม
เมื่อรายได้เพิ่มขึ้น เราก็พร้อมที่จะซื้อบ้านหลังใหญ่ขึ้น !!!
แต่จะเริ่มมีปัญหาเมื่อเราก่อหนี้มากกว่ารายได้
เพราะเมื่อทุกอย่างดูดีขึ้น
เราได้เลื่อนตำแหน่ง
บริษัทที่เราทำงานเติบโตขึ้น
เราก็จะกล้ากู้ยืมมากขึ้นเพื่อซื้อรถ Benz
แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นการเติบโตส่วนนึงของรายได้และงบบริษัท
ก็มาจากการก่อหนี้ที่ทำให้เศรษฐกิจเติบโตนั่นเอง
ทั้งเศรษฐกิจและตำแหน่งของเราเหมือนกันคือมันขยายตัวได้จำกัด
พอฟองสบู่เริ่มตึงตัว มันก็เริ่มเสี่ยงที่จะแตก
สิ่งที่ธนาคารจะทำก็คือการขึ้นดอกเบี้ยและเพิ่มความเข้มงวดในการกู้
ส่งผลให้เราก็จะไม่อยากกู้
เพราะดอกเบี้ยมันแพงกว่าเดิม
เราอาจจะเคยกู้เพื่อซื้อ iphone ทั้งหมด 70,000 บาท
แต่พอขึ้นดอกเบี้ยเราอาจจะต้องเสียเงินซื้อ iphone ใหม่เป็น 80,000 บาทหรือ 90,000 บาทเลยก็ได้
เราก็ไม่อยากกู้รอบหลังจริงไหมครับ
พอของราคาแพงขึ้น เราก็เริ่มไม่อยากกู้แล้ว
ปัญหามันอยู่ตรงนี้ครับ
พอขึ้นดอกเบี้ย เราก็ไม่อยากจะกู้เพิ่ม
พอเราไม่กู้เพิ่ม รายได้เราก็จะไม่เพิ่ม
เราต้องไม่ลืมว่าการกู้เงินของเรา
มันทำให้เศรษฐกิจขยายตัวและทำให้รายได้เราเพิ่ม
ทีนี้พอรายได้เราไม่เพิ่มขึ้น
เราจะหาเงินที่ไหนพอที่จะจ่ายหนี้
พอเราไม่มีเงินจ่ายหนี้
สิ่งที่เราต้องทำก็คือตัดใจขาย iphone ในราคา 35,000 บาท
เช่นเดียวกับนักลงทุนที่ต้องขายหุ้น อสังหา ในราคาถูก
ทำให้ราคาสินทรัพย์ร่วงลงทั้งแผง
1
พอเงินไม่พอผ่อน ก็จำเป็นจะต้องไปขายของในราคาถูก
พอราคาสินทรัพย์ทั้งหมดร่วงลงเพราะการเทขายแบบ"ทั้งระบบ"
ทำให้รายได้ของบริษัทต่างๆหรือผลประกอบการณ์ก็จะตกต่ำลงด้วย
ส่งผลให้เกิด "วิกฤตเศรษฐกิจ" แบบเงินฝืด
2. วิกฤตเศรษฐกิจแบบเงินเฟ้อ
มักจะเกิดขึ้นกับประเทศที่มีหนี้ส่วนมากอยู่ในสกุลเงินต่างประเทศ
ระยะแรกจะมีเงินทุนจากต่างชาติไหลเข้ามา
เพราะประเทศนั้นๆมีความได้เปรียบในการแข่งขันหรือมีปัจจัยน่าลงทุน
ทีนี้พอมีเงินจากต่างชาติเข้ามาก็จะทำให้ค่าเงินของประเทศนั้นๆเกิดแข็งค่าขึ้น
เพราะตามหลัก demand-supply
ถ้ามีคนอยากได้ iphone 11 มากขึ้น
ราคา iphone 11 ก็จะต้องแพงขึ้น
ค่าเงินก็เช่นกัน
แต่ค่าเงินที่แข็งเกินไปก็ไม่ดี
เพราะเราจะส่งออกของได้แพงขึ้น
ทำให้ต่างชาติไม่อยากซื้อของเรา
เพราะค่าเงินแพงขึ้น
ทำให้นักท่องเที่ยวไม่อยากมาเที่ยวบ้านเรา
(แต่มันก็มีข้อดีนะครับ แต่ถ้่าค่าเงินแข็ง"เกินไป"ก็จะไม่ดี)
เพื่อป้องกันไม่ให้ค่าเงินแข็งเกินไป
สิ่งที่ธนาคารกลางจะทำคือการขายสกุลของออกตัวเองออกไปซื้อสกุลเงินต่างชาติ
เช่น ขายเงินบาทไปซื้อเงินดอลลาร์
ซึ่งโดยส่วนมากจะซื้อในรูปของพันธบัตร
หรือเราอาจจะเรียกเท่ๆว่า "สำรองเงินต่างชาติ"
6
เมื่อเงินบาทแข็ง รัฐบาลก็ขายเงินบาทไปซื้อเงินดอลลาร์แทน
ถึงแม้ธนาคารกลางจะขายสกุลเงินตัวเองออกไปเพื่อลดการแข็งค่าของเงิน
แต่ความน่าสนใจของผลตอบแทนค่าเงิน ผลตอบแทนของสินทรัพย์
ทำให้มีเงินต่างชาติไหลเข้า และเงินในชาติไหลออกน้อย
ส่งผลทำให้สินทรัพย์ในประเทศมีมูลค่าแพงเกินจริง
และด้วยค่าเงินที่สูงขึ้นทำให้ความสามารถในแข่งขันของการส่งออกลดลง(เพราะของแพงจากค่าเงินขึ้น)
ทำให้เงินต่างชาติเริ่มไหลออก
พอเงินต่างชาติไหลออกก็ทำให้การเติบโตของเศรษฐกิจมีปัญหา
ทั้งในแง่การผลิตด้วย เพราะมีเงินลงทุนจากต่างชาติอยู่ในประเทศ
รวมถึงเงินที่ต้องเอาไปจ่ายหนี้สกุลต่างชาติจะต้องแพงขึ้น
เพราะมูลค่าเงินสกุลของเรามูลค่าต่ำลง
ทำให้หนี้เพิ่มมากขึ้นกว่ารายได้
1
และนี่คือวิกฤตเศรษฐกิจแบบเงินเฟ้อ
ทีนี้เราลองมาดูวิธีการแก้ปัญหาวิกฤตเศรษฐกิจกันบ้าง
หลักๆจะมี 4 วิธี คือ
3
1. การรัดเข็มขัด (Austerity)
2. การผิดนัดชำระหนี้(defaults)/การปรับโครงสร้างหนี้(restructrings)
3. การพิมพ์เงินออกมาเพิ่ม
4. การโอนเงินและหนี้ไปยังผู้อื่น
ขออธิบายแค่บางอันนะครับ
วิธีการที่เราชอบพูดถึงกันมากที่สุด(และอาจจะคิดว่าดีที่สุดด้วย)
คือการรัดเข็มขัด
1. การรัดเข็มขัด
เป็นวิธีที่ตรงกับธรรมชาติและสามัญสำนึกของเรามากที่สุด
เพราะถ้าเรามีหนี้ที่เราจ่ายไม่ไหว เราก็ควรประหยัด
จริงไหมครับ
นั่นอาจจะจริงในแง่ของตัวบุคคล
แต่ในแง่ของระบบ
การพยายามลดค่าใช้จ่ายก็คือการลดการเติบโตของเศรษฐกิจ
การที่เศรษฐกิจไม่เติบโตก็คือการลดรายได้ของเราลง
(ลองนึกถึงคนไม่มากินร้านอาหารเพราะประหยัด แล้วร้านอาหารจะเอาเงินที่ไหนมาจ่ายหนี้ล่ะครับ)
พอรายได้ของเราลดลง
แม้ว่าหนี้ของเราจะลดลงด้วย
แต่รายได้มักจะลดในอัตราที่เร็วกว่า
บางครั้งการประหยัดเงิน
อาจจะทำให้หนี้เหลือเยอะกว่าการกู้ยืมเพิ่มด้วยซ้ำ
มันจะแย่แค่ไหนถ้าเราต้องประหยัด
อยู่อย่างอดๆอยากๆ
แต่หนี้ดันเพิ่มขึ้นกว่าแต่ก่อนเสียอีก
3
บางทีการรัดเข็มขัดอาจจะทำให้เราแย่กว่าที่คิด
2. การพิมพ์เงินออกมา
การพิมพ์เงินออกมาเรามักจะชอบด่าว่าเป็นการ"สิ้นคิด"
การพิมพ์เงินออกมาทำให้ค่าเงินของสกุลนั้นๆลดลง
เพราะมีเงินในระบบเพิ่มมากขึ้น
(หรืออาจจะเรียกได้ว่าเงินมีค่าลดลง)
เช่น เวเนซูเอลาที่พิมพ์เงินจนข้าวของแพงขึ้นเกือบ 100 เท่า
แต่การพิมพ์เงินสามารถใช้กระตุ้นเศรษฐกิจได้
เพราะเมื่อคนมีเงินมากขึ้นก็จะทำให้มีการจับจ่ายใช้สอยมากขึ้น
รวมถึงการพิมพ์เงินออกมายังสามารถช่วย"ซื้อเวลา"ในกรณีที่กระแสเงินสดเราไม่พอ
เช่น เดือนนี้เราต้องจ่ายค่าเทอมให้เด็กๆเพิ่มจนไม่มีเงินเหลือพอไปผ่อนค่ารถ Vios
ถ้ามีการอัดฉีดเงินเข้ามา เช่น เบิกเงินเดือนล่วงหน้า
ก็จะช่วยให้เรารอดจากวิกฤตในเดือนนั้นๆได้
เงินตึงๆบางทีก็ต้องมีการพิมพ์เงินเข้าระบบเพิ่ม เพื่อเพิ่มสภาพคล่อง
นอกจากนี้ในวิกฤตเศรษฐกิจแบบเงินเฟ้อ
การพิมพ์เงินออกมาเยอะๆ อาจจะทำให้ค่าเงินลดลง 30% ก็จริง
แต่การที่ค่าเงินลดลง 30%
จะทำให้เกิดความน่าสนใจในการลงทุนในค่าเงินเพิ่มขึ้นทั่วโลก
โดยไม่ต้องผลิตเพิ่มขึ้นหรือลดราคาของสินทรัพย์ภายในประเทศเลยทีเดียว
3. การโอนหนี้หรือการกระจายรายได้
เช่น การเก็บภาษี
เพราะในช่วงเศรษฐกิจเจริญเติบโต
คนรวยจะทำเงินได้มากกว่าคนจน
การเก็บภาษีเพิ่มทำให้รัฐมีรายได้มากขึ้น
ทำให้การกระจายรายได้มีมากขึ้น
(เพราะเก็บเงินกับคนรวยมากกว่า)
แต่ในบางครั้งคนรวยมีการโยกย้ายสินทรัพย์เพื่อเลี่ยงการถูกเก็บภาษี
ทำให้รัฐเก็บภาษีได้ไม่เพียงพอ
และคนจนในระบบได้รับความเจ็บปวดจากการถูกเก็บภาษีเพิ่ม
4. การปรับเพิ่ม/ลดดอกเบี้ย
การปรับเพิ่ม/ลด ดอกเบี้ย จะมีผลหลายทางในหลายระยะของวงจรหนี้
เช่น การลดดอกเบี้ยจะทำให้เกิดการกู้ยืมที่มากขึ้นในช่วงเศรษฐกิจเติบโต
และการลดดอกเบี้ยจะช่วยลดภาระหนี้ในช่วงเศรษฐกิจตกต่ำ
การลดดอกเบี้ยช่วยให้เรากล้ากู้ยืมมากขึ้น และช่วยให้เราไม่อยากจะฝากเงิน
ส่วนการเพิ่มดอกเบี้ยจะช่วยให้คนอยากถือเงินสดมากกว่ากู้ยืม
ลดความร้อนแรงในการกู้ยืม
เพิ่มความน่าสนใจของเงินทุนไหลเวียนให้เข้าประเทศ
นอกจากนี้ยังมี subset ของวิกฤตเศรษฐกิจแบบเงินเฟ้ออีกคือ
วิกฤตเศรษฐกิจแบบเงินเฟ้ออย่างสุดโต่ง(hyperinflation)
ปกติการพิมพ์เงินออกมาจะช่วยเศรษฐกิจแบบเงินเฟ้อได้
แต่เมื่อเกิดความไม่สมดุลกันระหว่าง
รายได้และรายจ่ายในสกุลเงินต่างประเทศและการใช้หนี้
และการพิมพ์เงินออกมา
จะทำให้เกิดวิกฤตเศรษฐกิจแบบเงินเฟ้ออย่างสุดโต่งขึ้นมา
ดังนั้นการพิมพ์เงินออกมามากแค่ไหนอาจจะไม่สำคัญ
ถ้าคุณยังสามารถรักษาสมดุลนี้อยู่ได้
แต่ในบางกรณีก็ไม่สามารถยับยั้งภาวะเงินเฟ้ออย่างสุดโต่งได้
เช่น ไวมาร์เยอรมันที่ต้องใช้หนี้ปฏิกรรมสงครามซึ่งไม่สามารถผิดนัดชำระหนี้ได้
(ไวมาร์มีเงินเฟ้อถึง 247 ล้านเท่าใน 1 ปี)
เวเนซุเอลาคือตัวอย่างของวิกฤตเศรษฐกิจแบบเงินเฟ้ออย่างสุดโต่ง
หลักการในการลงทุนในวิกฤตเศรษฐกิจแบบเงินเฟ้ออย่างสุดโต่งมีเพียงไม่กี่อย่าง คือ
- เปิด short ค่าเงิน
- ทำทุกอย่างเพื่อเอาเงินออกจากประเทศนั้น
- ซื้อสินค้าโภคภัณฑ์หรือลงทุนในบริษัทเกี่ยวกับโภคภัณฑ์
เมื่อวิกฤตเศรษฐกิจแบบเงินเฟ้อกลายเป็นวิกฤตเศรษฐกิจแบบเงินเฟ้ออย่างสุดโต่ง
สกุลเงินปัจจุบันจะไม่สามารถรักษาความมั่งคั่งเอาไว้ได้
การสร้างเงินสกุลใหม่และกำจัดเงินสกุลเก่าจึงเป็นทางเลือกตามตำราที่สุดในการไถ่ถอนหนี้
สุดท้ายแล้วการจะแก้ปัญหาวิกฤตเศรษฐกิจจะต้องใช้นโยบายทางการเงินที่หลากหลายร่วมกัน(4 วิธีข้างต้น)
ในระดับความเข้นข้นที่เหมาะสมและในช่วงเวลาที่เหมาะสม
การรัดเข็มขัดมากเกินไปก็ไม่ดี
การพิมพ์เงินออกมาเยอะมากเกินไปก็ไม่ดี
การขึ้นดอกเบี้ยอย่างเดียวก็ไม่ดี
รวมถึงการไม่ก่อหนี้เลยก็ไม่ดีเช่นกัน
บางครั้งนโยบายทางการเงินที่เราคิดว่าดีที่สุดอาจจะเป็นนโยบายที่แย่ก็ได้
และบางครั้งนโยบายทางการเงินที่เราคิดว่าสิ้นคิดอาจจะคิดมามากกว่าเราคิดก็ได้เช่นกัน
1
68 บันทึก
97
5
51
68
97
5
51
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย