11 ม.ค. 2020 เวลา 22:04 • ไลฟ์สไตล์
🔥เบิร์นเอ้าท์ซินโดรม (Burnout Syndrome)🔥 คำใหม่สำหรับอาการหมดไฟ☄ของมนุษย์ออฟฟิศ 🤯🤯🤯
เบิร์นเอ้าท์ หรือจะแปลตรงๆ เรียกให้ชัดๆแบบไทยก็คือ อาการหมดไฟ โดยที่อาการหมดไฟ หมดพลังชนิดที่เรียกว่า เบิร์นเอ้าท์ นั้น มีหลายหน่วยงานในระดับนานาชาติในขณะนี้ให้ความสนใจอย่างมาก เพราะอาการเบิร์นเอ้าท์นั้นส่งผลต่อสุขภาพร่างกายหลายอย่าง 😷🤒🤕🤧
จริงๆแล้ว องค์การอนามัยโลก หรือ WHO ไม่ได้นับว่า "เบิร์นเอ้าท์" เป็นโรคทางพยาธิสภาพ เพราะไม่ได้เกิดจากเชื้อโรค แต่มองว่าเป็นลักษณะที่เรียกว่า ซินโดรม (syndrom) ซึ่งหมายถึงกลุ่มอาการหลายอย่างที่แสดงออกมารวมกัน และเป็นปรากฏการณ์ที่เกิดจากการทำงาน (occupational phenomenon) แล้วแสดงอาการออกมาทางอารมณ์และจิตใจ ซึ่งอาการนั้นเกิดจากความเครียดที่ต่อเนื่องมาเป็นเวลานาน (prolonged stress/ chronic workplace stress) และที่สำคัญคือไม่สามารถจัดการกับความเครียดที่มีนั้นได้มาอย่างต่อเนื่อง
การจะดูว่าเรามีสภาวะ เบิร์นเอ้าท์ รึเปล่านั้น WHO ให้ตั้งข้อสังเกต 3 ประการหลักๆคือ
1. รู้สึกหมดพลังหรือเหนื่อยล้าอย่างมาก 🤢
2. มีความรู้สึกไม่อยากทำงาน หรือรู้สึกไม่ดีต่องานในหน้าที่ที่ตัวเองกำลังทำอยู่เอาซะเลย😔
3. ประสิทธิภาพในการทำงานที่เคยมีลดลง 😑
เมโยคลินิก🏥 ซึ่งเป็นคลินิกชื่อดังของอเมริกา ได้พบว่าสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการ เบิร์นเอ้าท์ มีมากมาย เช่น งานที่ไม่สามารถควบคุมจัดการได้ ความคาดหวังต่อผลของงานไม่ชัดเจน สภาพแวดล้อมในที่ทำงานที่ไม่เอื้อต่อการทำงาน ขาดการสนับสนุนจากคนในที่ทำงาน เวลาทำงานที่ไม่สมดุลกับชีวิตส่วนตัว และงานที่ถาโถมเข้ามาจนมากเกินจะรับได้ เป็นต้น
นอกจากนี้ยังมีแหล่งศึกษาอื่นๆกล่าวว่า ผู้ที่มีลักษณะนิยมความสมบูรณ์แบบในทุกเรื่อง หรือที่เรียกว่า พวกperfectionists ผู้ที่ชอบมองเชิงลบ (pessimists) และผู้ที่มีลักษณะบุคลิกภาพแบบ type A (high achieving) หรือคนที่มีลักษณะที่ต้องการความสำเร็จสูงในทุกสิ่ง กลุ่มคนเหล่านี้ยังมีความเสี่ยงสูงกว่าคนทั่วไปที่จะประสบอาการเบิร์นเอ้าท์
แล้ว เบิร์นเอ้าท์ ต่างจาก ความเครียดทั่วไป (stress) ตรงไหนล่ะ? 🤔 ที่ต่างกันก็คือ ความเครียด เกิดจากแรงกดดัน (pressures) เกิดจากปัญหาและความต้องการจากผู้อื่นที่มีเข้ามา และความเครียดจะสามารถดีขึ้นได้เมื่อปัญหานั้นถูกแก้ แต่เบิร์นเอ้าท์ เกิดจากความเครียดที่สะสมเป็นเวลานานจนทำให้เกิดสภาวะหมดไฟ หมดพลัง หรือเรียกง่ายๆว่า สภาวะเคว้งคว้างว่างเปล่าแบบหมดอาลัยตายอยาก (feeling empty) ประมาณนั้น ซึ่งอาการแบบเบิร์นเอ้าท์ที่น่าเป็นห่วงก็คือ เบิร์นเอ้าท์เป็นสภาวะทางจิตใจและอารมณ์ที่สามารถทำให้ร่างกายเราอ่อนแอตามจนเกิดโรคต่างๆได้ เช่น เป็นหวัดง่ายขึ้น ติดเชื้อง่ายขึ้น มีความเสี่ยงต่อโรคหัวใจ และอื่นๆอีกมากมาย 🤒😷🤧🤕
สำหรับวิธีการแก้อาการเบิร์นเอ้าท์อาจจะมีความยาก เพราะอาการเบิรน์เอ้าท์ เกิดจากความเครียดที่สะสมต่อเนื่องมาระยะหนึ่ง จึงทำให้หลายคนไม่รู้ตัวว่าตัวเองถึงจุดที่เรียกว่า เบิร์นเอ้าท์ตอนไหน และแต่ละคนก็ยังมีระดับความอ่อนไหวต่อสิ่งที่ทำให้เครียดต่างกัน จึงไม่มีวิธีการตายตัวที่ใช้ได้กับทุกคน แต่สิ่งจะแนะนำให้ทุกคนทำก็คือ
1. สังเกตตัวเองอยู่เสมอว่า มีอาการ 3 ประการตามข้างต้นรึเปล่า ประมาณว่าหมดอาลัยกับงานเหลือเกิน ไม่อยากไปทำงาน หมดพลังกายพลังใจที่มี อะไรๆรอบตัวก็ท่วมท้นจนจัดการไม่ได้ไปหมด(overwhelm) หรือมีความคิดในเชิงลบต่างๆในการทำงานของตัวเอง
2. รู้สึกว่าป่วยบ่อยเกินไป และนอนไม่ค่อยหลับติดต่อกันหรือไม่
3. ถ้าสังเกตได้ว่าตนเองน่าจะเป็นอาการเบิร์นเอ้าท์จากข้อสังเกตที่ว่ามา ก็ให้พักจากงานหรือสิ่งที่รู้สึกว่าเป็นลบทางความคิดกับเราเสียก่อน (ไม่ได้บอกให้ลาออกนะจ๊ะ... แค่ถอยมาพักกายพักใจซักนิดเพื่อชาร์จแบตในตัว)
4. พยายามหาคนที่ให้คำปรึกษาเกี่ยวกับปัญหาเรื่องงานที่แก้ไม่ได้ หรืองานที่รู้สึกไม่ดีนั้นๆ
5. พยายามพักผ่อนด้วยวิธีต่างๆที่ถูกจริตกับเรา เช่นการท่องเที่ยว การนอน การอ่านหนังสือที่ชอบ นัดเพื่อนเล่นกีฬา ไปช้อปปิ้งกับเพื่อนหรือครอบครัว หรือกิจกรรมอื่นๆที่ทำให้ผ่อนคลายตามแบบของเรา
นอกจากวิธีแก้ที่ว่ามาแล้ว กาศึกษาหาวิธีฝึกการจัดการความเครียด (stress management) ในแบบที่ถูกจริตกับเราก็จะสามารถป้องกันอาการเบิร์นเอ้าท์ได้นะ
สุดท้ายก็ขอให้ทุกคนมีการจัดการสภาพกายสภาพจิตใจที่ดี มีความสุขกับการทำงานและการใช้ชีวิต และปลอดจากสภาวะเบิร์นเอ้าท์กันทุกคนค่ะ
อ่าน📖📙เรื่อง Burnout เพิ่มเติมได้ที่:
Credit ภาพจาก cliparts-library.com
โฆษณา