Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
กฎหมายย่อยง่าย by Natarat
•
ติดตาม
13 ม.ค. 2020 เวลา 12:55 • การศึกษา
“ลูกจ้างที่ลาป่วยหรือลากิจบ่อย ๆ ควรระวัง เพราะอาจถูกเลิกจ้างได้”
แม้ว่าการลาป่วย หรือลากิจจะเป็นสิทธิที่ลูกจ้างพึงได้รับตามกฎหมายก็ตาม
เช่น ลูกจ้างมีสิทธิลาป่วยได้เท่าที่ป่วยจริง และให้นายจ้างจ่ายค่าจ้างให้แก่ลูกจ้างในวันลาป่วยเท่ากับค่าจ้างในวันทำงาน แต่ปีหนึ่งต้องไม่เกิน 30 วันทำงาน เป็นต้น
แต่การใช้สิทธิดังกล่าวนั้นก็ควรจะใช้เท่าที่เหมาะสมและตามความเป็นจริง ไม่ควรใช้อย่างพร่ำเพรื่อ เพราะอาจเป็นสาเหตุให้ถูกเลิกจ้างด้วยเหตุที่หย่อนประสิทธิภาพในการทำงานได้
1
อย่างเช่นคดีตัวอย่างนี้...ลูกจ้างได้ถูกเลิกจ้างด้วยสาเหตุหย่อนสมรรถภาพในการทำงาน เนื่องจากลาป่วยและลากิจบ่อย
ลูกจ้างจึงได้นำคดีมาฟ้องต่อศาลแรงงานเพื่อขอให้นายจ้างชำระค่าเสียหายจากการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม ซึ่งศาลแรงงานได้ให้เหตุผลในการตัดสินไว้อย่างน่าสนใจ
โดยการลาป่วยหรือลากิจบ่อยจนถึงขั้นที่เรียกว่าหย่อนประสิทธิภาพในหน้าที่การงานนั้นจะต้องร้ายแรงเพียงใด?
และขนาดไหนที่นายจ้างจึงใช้สิทธิเลิกจ้าง และไม่ถือว่าเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมได้? ซึ่งศาลท่านได้พิจารณาจาก...
1) การหย่อนประสิทธิภาพในการทำงานจะต้องพิจารณาถึงตำแหน่งหน้าที่ ความสามารถในการทำงานและการหย่อนลงของความสามารถมาประกอบ
คดีนี้ลูกจ้างเป็นพนักงานเดินเครน (เครนสำหรับขนของ) จะต้องอุทิศเวลาและความสามารถในการทำงานให้แก่นายจ้างอย่างเต็มความสามารถ
แต่กลับลาป่วยและลากิจบ่อยจนเคยได้รับหนังสือเตือนจากนายจ้าง และมีผลทำให้นายจ้างไม่ได้รับการทำงานจากลูกจ้างเป็นการตอบแทน
2) แม้จะเป็นการลาตามสิทธิที่ลูกจ้างได้รับอนุมัติจากนายจ้างแล้วก็ตาม แต่ก็เป็นการลาบ่อยเกินสมควร
3) ลูกจ้างได้รับผลการประเมินการปฏิบัติงานในระดับที่ “ต้องปรับปรุง” เป็นเวลา 3 ปีติดต่อกัน ย่อมแสดงให้เห็นว่าประสิทธิภาพการทำงานของลูกจ้างลดน้อยลงตลอดมา
4) นายจ้างไม่ได้เลิกจ้างทันทีหลังจากที่มีการประเมิน แต่ยังให้โอกาสลูกจ้างในการฟื้นฟูความสามารถตามโครงการพัฒนาปรับปรุงประสิทธิภาพการทำงานของพนักงาน แต่ลูกจ้างเองก็ไม่ได้ปรับปรุงการทำงานให้ดีขึ้น...
พฤติการณ์ดังกล่าวของลูกจ้างถือได้ว่าเป็นการหย่อนประสิทธิภาพในการทำงาน การเลิกจ้างจึงมีเหตุผลตามสมควรและ
เพียงพอ "ไม่ใช่การเลิกจ้างไม่เป็นธรรม"
นายจ้างจึงไม่ต้องจ่ายค่าเสียหายจากการเลิกจ้างดังกล่าว
(อ้างอิงคำพิพากษาศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษที่ 48/2560)
ขอบคุณภาพจาก pixabay
ถ้าได้ประโยชน์จากบทความนี้ ช่วยกด Like, Share ด้วยนะครับ 😻
20 บันทึก
178
49
39
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
กฎหมายแรงงาน
20
178
49
39
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย