13 ม.ค. 2020 เวลา 10:16 • ประวัติศาสตร์
หนังสือสุดอันตราย ที่คุณเคยอ่าน
1.
ทุกวันนี้พูดถึง wikipedia เชื่อว่าคนส่วนใหญ่คงรู้สึกว่าสารานุกรมออนไลน์เป็นสิ่งที่มีประโยชน์ ให้ความรู้ และยากที่จะจินตนาการว่า สิ่งที่รวบรวมความรู้ไว้ในที่เดียวกันเช่นนี้ จะเป็นสิ่งของอันตรายต่อสังคมได้อย่างไร
แต่ไอเดียของการทำสารานุกรม เคยเป็นสิ่งอันตรายต่อสังคม ถึงขนาดว่าใครอ่าน ใครพิมพ์ ใครขาย ใครมีในครอบครอง อาจจะถึงขั้นโดนโทษประหารได้
เพื่อให้เข้าใจว่า สารานุกรม เคยอันตรายอย่างไร เดินทางย้อนกลับไปอดีตไปกับผมนะครับ เราจะไปกรุงปารีสในปีค.ศ. 1746 กัน
2.
ฝรั่งเศสยุคที่เราเดินทางมาถึงนี้ไม่เหมือนยุคที่เราจากมา เพราะรัฐบาลฝรั่งเศสยุคนี้ควบคุมความคิด การพูดและการเขียนรุนแรงมาก
ถ้าคุณเพลอไปพูดหรือเขียนอะไรที่บ่งไปในทางต่อต้านหรือวิจารณ์ รัฐบาล ศาสนาหรือสถาบันกษัตริย์ มีโอกาสจะถูกจับแขวนคอหรือตัดคอประจานได้ง่ายๆเลยนะครับ แล้วเขาก็ไม่ได้ประหารกันในแดนประหารอย่างมิดชิดด้วย เขาประหารกันสดๆตรงที่เรายืนกันอยู่นี่เลย
ทันใดนั้นเอง เบื้องหน้าของเราก็มีเจ้าหน้าที่ของรัฐเดินออกมายังลานประหาร เขาชูหนังสือขึ้นมาเล่มหนึ่ง จากนั้นก็ฉีกหนังสือออกเป็นชิ้นๆ ก่อนจะโยนเศษกระดาษเหล่านั้นเข้าไปในกองเผลิงที่มีหนังสือหลายเล่มกำลังไหม้ไฟอยู่ ...
หนังสืออันตรายที่ถูกฉีกเป็นชิ้นๆเล่มนั้น มีชื่อว่า philosophical thoughts สาเหตุที่หนังสือนี้ต้องถูกทำลายเพราะมีเนื้อหาบางส่วนที่วิพากษ์วิจารณ์ศาสนา
หนังสือเล่มนี้ไม่ได้เกี่ยวกับเรื่องที่เราคุยกันในตอนนี้โดยตรง แต่เป็นผู้เขียนหนังสือเล่มนี้ที่เราสนใจ
เขาคนนี้มีชื่อว่า เดนี ดีเดอโร (Denis Diderot)
ภาพวาด Denis Diderot โดย Louis-Michel van Loo
3.
แม้ว่าหนังสือจะโดนเผาไปแล้ว แม้ว่าจะโดนข่มขู่จากทางรัฐ แต่ดีเดอโรยังไม่เลิกเขียนสิ่งที่เขาเชื่อว่าสำคัญ เขายังคงเขียนหนังสือที่มีเนื้อหาวิจารณ์สิ่งต่าง ๆ ที่รัฐห้ามต่อไป สุดท้ายในปีค.ศ.1749 เขาจึงถูกจับเข้าคุก
ดิเดอโรถูกขังอยู่ประมาณ 3 เดือน ก็ได้รับการช่วยเหลือจนถูกปล่อยตัวออกมา โดยเขาต้องสัญญาว่าจะไม่เขียนโจมตีรัฐบาล ศาสนาหรือสถาบันกษัตริย์อีก
แล้วเขาทำตามที่สัญญาไว้ไหม? แน่นอนครับว่าไม่
ถ้าเขาทำตามสัญญาเรื่องราวของเขาก็คงหายไปในประวัติศาสตร์ไม่มีอะไรให้น่าพูดถึง แต่ที่ทุกวันนี้เราต้องมาอ่านเรื่องราวของเขาเพราะไม่เพียงแค่ไม่ทำตามสัญญา แต่โปรเจคใหม่ของเขากลับสร้างความไม่พอใจกับรัฐหนักขึ้นไปกว่าเดิมเสียอีก
โปรเจคใหม่ของเขามีจุดเริ่มต้น ย้อนกลับไป 2-3 ปีก่อนหน้า
4.
ประมาณปีค.ศ. 1747 ดีเดอโรได้รับว่าจ้างจากเจ้าของโรงพิมพ์ที่ร่ำรวยชื่ออังเดร เลอ บาทอง (André le Breton) ให้เป็นบก.และช่วยแปลชุดหนังสือที่ชื่อ Cyclopædia: or, An Universal Dictionary of Arts and Sciences จากภาษาอังกฤษเป็นภาษาฝรั่งเศส หนังสือชุดสองเล่มนี้ อาจจะถือได้ว่าเป็นสารานุกรมแบบนึง แต่เป็นสารานุกรมที่มีหัวข้อค่อนข้างจำกัดมาก
หนังสือ Cyclopædia
หลังจากคุยไปคุยมา ดิเดอโร ก็โน้มน้าวว่า ไหนๆจะทำหนังสือความรู้กันทั้งทีแล้ว เราจะแค่แปลหนังสือจากอังกฤษมาเป็นภาษาฝรั่งเศสไปทำไม สู้เรามาหาผู้มีความรู้หลายๆคนแล้วช่วยกันเขียนความรู้ทั้งหมดที่มีอยู่ในตอนนี้ให้สมบูรณ์ไปเลยดีกว่า
อังเดร เลอ บาทอง ซึ่งเป็นพ่อค้าไม่ใช่นักคิดนักปรัชญาที่มีอุดมการณ์เหมือน ดิเดอโร พิจารณาแล้วเห็นว่า อภิมหาเมกะโปรเจคนี้น่าจะทำเงินได้มากกว่า ก็เลยเห็นดีเห็นงามตามไปด้วย พวกเขาเรียกหนังสือที่จะทำขึ้นมานี้ว่า encyclopedia
5.
คำว่า encyclopedia เป็นคำโบราณที่มีใช้มาตั้งแต่สมัยอารยธรรมกรีกโบราณเมื่อประมาณ 2500 ปีที่แล้ว มาจากคำสองคำคือ คำว่า cyclo ที่แปลว่าเป็นวง กับ pedia ที่แปลว่า การสอนหรือความรู้ คำว่า en cyclo pedia (เดิมไม่ได้เป็นคำเดียวกัน) ตามรากศัพท์ จึงมีความหมายว่า ความรู้ที่เชื่อมโยงกันเป็นวง คือรู้รอบด้านหรือรู้ครบถ้วนนั่นเอง
2
นักปรัชญาสมัยกรีก เชื่อว่าความรู้ต่างๆนั้นจะมีความเกี่ยวข้องเชื่อมโยงกัน ถ้ารู้กว้างรู้รอบก็จะรู้แบบครบวงจร ซึ่งเรียกว่า ไคคลอสหรือ คูคลอส (kyklos หรือ kúklos) ในภาษากรีกหรือ ไคคลูส (cyclus) ในภาษาละติน ซึ่งเป็นรากที่มาของคำว่า cycle ที่แปลว่า วง ในคำว่า bicycle จักรยาน หรือ recycle เป็นต้น
เด็กๆ กรีกโบราณ หรือ paedos (พีดอส ซึ่งคำนี้นำไปสู่คำในภาษาอังกฤษว่า Pediatrician ออกเสียงว่า พี-ดี-ทริเชี่ยน ที่แปลว่ากุมารแพทย์) จะได้รับการศึกษารอบด้าน (หรือ kyklos) เด็กที่ได้รับการศึกษาแบบนี้จึงได้รับการศึกษาแบบ en-cyclo-paedic
เมื่ออารยธรรมกรีกเสื่อมลง อารยธรรมโรมันก็เข้ามาแทนที่ แม้ว่าโรมันจะแกร่งด้านทหารแต่ในแง่วัฒนธรรมหรือความรู้แล้ว โรมันรับของคนอื่นมาใช้เกือบหมดโดยเฉพาะวัฒนธรรมของ กรีก และอีธรัสคัน (Etruscan วัฒนธรรมโบราณหนึ่งในคาบสมุทรอิตาลี)
ด้วยความที่ชาวโรมันชื่มชมการศึกษาของกรีกเมื่อพวกเขาเขียนหนังสือที่ภายในบรรจุความรู้สารพัดเรื่อง พวกเขาจึงเรียกหนังสือแบบนี้ว่า encyclopaedias (เขียนรวบเป็นคำเดียวกัน) ตัวอย่างเช่น Pliny the elder นักคิด นักปรัชญา นักสำรวจชาวโรมัน ก็พยายามเขียนทุกสิ่งที่เขารู้หรือเคยได้ยินมา (โดยไม่สนว่าจะเป็นเรื่องจริงหรือไม่) ลงไปใน encyclopedia ของเขา
1
Pliny the Elder
จะเห็นว่า จริงๆแล้วแนวคิดของการทำสารานุกรมหรือ encyclopedia นั้นไม่ใช่ความคิดใหม่ และไม่ได้มีแต่วัฒนธรรมตะวันตกเท่านั้น แต่วัฒนธรรมอื่นๆเช่น จีน ก็มีความคิดที่จะรวบรวมความรู้ทั้งหมดเข้าไว้ด้วยกันเป็นในหนังสือมานานแล้วเช่นกัน
คำถามที่น่าสนใจคือ ทำไม encyclopedia ที่มี ดิเดอโร เป็นบรรณาธิการ จึงสำคัญสำหรับคนยุคเรานัก?
และ ทำไมหนังสือที่ให้ความรู้กับประชาชนจึงกลายเป็นสิ่งอันตรายสำหรับรัฐไปได้ ?
ความลับมันซ่อนอยู่ในรายละเอียดของการเขียนครับ
6.
นับตั้งแต่ยุโรปในยุคกลางมาจนถึงยุคสมัยของดิเดอโร หนังสือเกือบทั้งหมดที่เคยเขียนขึ้นจะมีเนื้อหาวนเวียนอยู่แต่เรื่องของ กษัตริย์ ขุนนางและนักบุญ แทบจะไม่มีหนังสือที่เขียนเรื่องราวของคนธรรมดาสามัญเลย
ดิเดอโรมองว่าหัวข้อที่เกี่ยวข้องกับประวัติของกษัตริย์ ขุนนางหรือนักบุญ ไม่ค่อยมีประโยชน์สำหรับประชาชนทั่วไปนัก เขาตั้งใจว่า หนังสือสารานุกรมชุดใหม่ที่จะทำขึ้น เป็นหนังสือที่มีประโยชน์ต่อคนธรรมดาทั่วไป
4
และสำคัญสุดคือ เขาหวังว่าหนังสือชุดนี้จะเปลี่ยนวิธีการคิดของคนทั่วไปที่มีต่อการอ่านหนังสือ
1
อย่างไรก็ตามหนังสือชุดนี้ผลิตขึ้นในยุคสมัยที่มีการปิดกั้นความคิด มีการตรวจสอบสิ่งพิมพ์ต่างๆอย่างเข้มข้น และลงโทษผู้กระทำความผิดอย่างรุนแรง การเขียนข้อความที่ต่อต้านสถาบันเก่าจึงทำอย่างเปิดเผยไม่ได้
ดิเดอโร จึงต้องแอบแฝงข้อความหลายอย่างที่ขัดกับรัฐ สถาบันและศาสนาไว้อย่างแยบยล
นอกจากหัวข้อที่เกี่ยวข้องกับธรรมชาติ สัตว์ต่างๆ ดาราศาสตร์ (ที่ปัจจุบันเราเรียกว่าวิทยาศาสตร์) แล้ว ในหนังสือยังมีหัวข้อที่เกี่ยวข้องกับชีวิตของชาวบ้านทั่วไปด้วย เช่น
มีหัวข้อที่อธิบายให้เข้าใจการทำงานของอาชีพต่างๆ มีหัวข้อที่อธิบายให้เข้าใจว่าแต่ละอาชีพมีบทบาทสำคัญในสังคมอย่างไร รวมไปถึงการนำเทคนิคลับที่ปกติช่างฝีมือจะไม่ยอมบอกคนนอกวงการมาเปิดเผยให้คนทั่วไปได้รู้กัน เช่น เทคนิคการสร้างอวน เคล็บลับการทำเหมือง เป็นต้น
สำหรับเราฟังดูแล้วอาจจะแปลกเพราะปัจจุบันรายละเอียดของแต่ละอาชีพไม่ถือว่าเป็นความลับ แต่ในยุโรปสมัยโบราณ แต่ละวิชาชีพจะหวงความรู้ของตัวเอง เหมือนๆกับที่จอมยุทธ์ในแต่ละสำนักของจีนหวงวิชาการต่อสู้ของสำนักตัวเอง ไม่ถ่ายทอดให้กับคนนอกสำนัก
4
เมื่อหนังสือเต็มไปด้วยเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันของคนสามัญในสังคม หนังสือ encyclopedia จึงมีเรื่องของกษัตริย์ ขุนนาง และศาสนา ปะปนกระจัดกระจายอยู่เป็นส่วนน้อยเท่านั้น การทำเช่นนี้เป็นเรื่องที่แปลกมาก และยังเหมือนเป็นการลดความสำคัญของกษัตริย์ ขุนนางและศาสนาลงไปอย่างเห็นได้ชัด
อย่างที่สองที่สารานุกรมชุดนี้ต่างไปจากหนังสือในอดีตคือ การจัดเรียงหัวข้อจะจัดเรียงตามลำดับอักษร แม้แต่หัวข้อที่เกี่ยวกับกษัตริย์ ขุนนางหรือนักบุญคนสำคัญก็ไม่ได้รับการยกเว้น
ลักษณะแบบนี้จึงเป็นการทำให้หัวข้อต่างๆถูกมองว่ามีความเท่าเทียมกันมากขึ้น ไม่มีหัวข้อไหนได้รับสิทธิพิเศษเหนือหัวข้ออื่น เรื่องของกษัตริย์ นักบวช ที่มีชื่อเสียงจึงถูกฝังไว้ตามหมวดหมู่ ลักษณะเช่นนี้ถือได้ว่าเป็นรากฐานที่สำคัญของการมองว่า เรื่องของคนธรรมดาสามัญ ก็สำคัญไม่ต่างไปจากเรื่องของชนชั้นสูง
1
นอกเหนือไปจากการเรียงหัวข้อตามลำดับอักษรแล้ว หนังสือสารานุกรม 10 กว่าเล่มนี้ยังมีการจัดหมวดหมู่หัวข้อต่างๆ เพื่อให้ง่ายต่อการเห็นภาพใหญ่ขององค์ความรู้ทั้งหมด
ที่น่าสนใจคือ หัวข้อที่เกี่ยวกับทางศาสนาจะถูกจัดรวมไว้กับหัวข้ออย่าง ความเชื่อในพลังเหนือธรรมชาติ (superstitions) การทำนายหรือการดูดวง มนต์ดำ ซึ่งการทำเช่นนี้เป็นเหมือนการแอบแฝงข้อความว่า เรื่องของศาสนาก็ไม่ต่างไปจากความเชื่องมงายเรื่องอื่นๆ
1
อย่างที่สามที่ถือได้ว่าเป็นการปฏิวัติวงการหนังสือมากๆ คือ วิธีการเลือกว่าจะเชื่อถือเรื่องหนึ่งๆได้มากน้อยแค่ไหน
สิ่งที่เคยปฏิบัติมากันเป็นพันๆปีคือ ถ้าใครอยากจะอ้างว่าสิ่งที่พูดหรือเขียนน่าเชื่อถือมากแค่ไหน จะต้องบอกว่าสิ่งนั้นเก่าแค่ไหน
ถ้าเรื่องที่เล่าเป็นเรื่องเก่ามาก เล่ากันมานานมาก ใช้ต่อกันมานานมาก เช่น การรักษาโรคด้วยวิธีนี้ใช้ต่อๆกันมาเป็นพันปี คนจะยิ่งเชื่อว่าการรักษานั้นดีมาก เชื่อถือได้
1
แต่ในหนังสือ encyclopedia ชุดนี้จะทำสิ่งที่ต่างไป คือ จะชี้ให้เห็นว่า ความเชื่อทุกอย่างที่เคยเชื่อตามๆกันมาจะต้องถูกตรวจสอบ ต้องผ่านการถกด้วยเหตุผลก่อน
3
ถ้าเรื่องนั้นผ่านการคัดกรองด้วยเหตุผลว่าพอจะเชื่อถือได้ จึงจะนำมาเขียน ซึ่งจะต่างไปจากหนังสือรวบรวมความรู้ในโลกโบราณที่เรื่องเล่า ตำนานต่างๆ จะถูกเขียนลงไปด้วย
1
การทำเช่นนี้สำหรับเราฟังดูธรรมดาและสามัญสำนึกมากๆ แต่สำหรับยุคนั้นถือได้ว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่
2
อย่างที่สี่คือ ในรายละเอียดของบทความ หลายครั้งจะมีการเขียนคำอธิบายเป็นนัยๆ ถึงความไม่สมเหตุสมผล ของความเชื่อเก่าหลายๆอย่าง เช่น ทำไมคนบางคน จึงมีสิทธิ์เหนือคนอื่นๆ เพียงแค่เพราะเขาเกิดมาในครอบครัวที่เป็นกษัตริย์หรือขุนนาง ?
8
ขณะเดียวกันหลายบทความจะอธิบายถึงวิชาชีพต่างๆ ว่ามีประโยชน์ต่อสังคมอย่างไร ทำให้เหมือนเป็นการชื่นชมชนชั้นแรงงาน ช่างฝีมือ คนมีความสามารถแนวปราชญ์ชาวบ้านกลายๆ ว่าเป็นคนที่มีคุณค่าต่อสังคม
1
การชื่นชมเช่นนี้พลอยทำให้ชนชั้นสูง ซึ่งมักไม่ได้ผลิตอะไรให้สังคมแต่อยู่อย่างสุขสบาย ดูเหมือนเป็นชนชั้นที่ไม่จำเป็นต่อสังคมขึ้นมา
1
7.
ปรากฎว่าหนังสือสารานุกรมของดิเดอโรชุดนี้ได้รับการตอบรับจากประชาชนทั่วไปอย่างมาก เรียกได้ว่าคนอ่านกันทั่วบ้านทั่วเมือง และไม่เพียงแค่ในฝรั่งเศสเท่านั้น แต่ยังได้รับความนิยมในหลายประเทศทั่วยุโรป
แต่หนังสือทำออกมาได้แค่สองเล่มก็โดนพระเจ้าหลุยส์ที่ 15 แห่งฝรั่งเศส สั่งแบน ห้ามอ่าน ห้ามพิมพ์และห้ามซื้อขาย ซึ่งโทษที่กำหนดไว้รุนแรงถึงขั้นว่าอาจจะโดนประหารชีวิตได้
1
ทางศาสนาจักรก็มองว่าหนังสือสารานุกรมชุดนี้อันตรายเช่นกัน พระสันตปาปา เคลมองต์ ที่ 13 (Clement XIII) ก็สั่งให้หนังสือสารานุกรมของดิเดอโร เป็นหนังสือห้ามอ่าน ถ้าใครอ่านหรือมีไว้ครอบครองจะถูกขับออกจากศาสนา หรือที่เรียกว่า excommunication ซึ่งถือว่าเป็นบาปหนัก เพราะเมื่อตายแล้วจะต้องตกนรกชั่วกัปชั่วกัลป์ (หรือ eternal damnation)
2
เมื่อทางรัฐสืบรู้มาว่า ดิเดอโร ยังมีต้นฉบับส่วนที่ยังไม่ได้ตีพิมพ์เก็บไว้กับตัวเอง จึงส่งเจ้าหน้าที่ไปค้นบ้านของดิเดอโรเพื่อหาต้นฉบับนั้นมาทำลาย แต่หาเท่าไหร่ก็หาไม่เจอ ที่เป็นเช่นนั้นเพราะเจ้าหน้าที่ซึ่งเป็นหัวหน้าทีมมีความเห็นต่างไปจากรัฐ เขามองว่าหนังสือเหล่านี้มีคุณค่าต่อสังคม
1
และไม่เพียงแค่ไม่นำต้นฉบับไปทำลาย เขายังหาทางช่วยลักลอบนำต้นฉบับออกไปจัดพิมพ์ที่ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ แล้วลักลอบกลับมาขายในรูปแบบของหนังสือเถื่อนในฝรั่งเศสอีกรอบนึง
6
8.
ยิ่งห้ามก็เหมือนยิ่งยุ เมื่อหนังสือสารานุกรมชุดนี้กลายเป็นสิ่งต้องห้าม ยิ่งทำให้คนอยากอ่าน หนังสือชุดนี้จึงเป็นที่ต้องการและได้รับการพิมพ์ซ้ำแล้วซ้ำอีกหลายรอบ มีการแอบคัดลอก เลียนแบบ หรือนำไปเล่าต่ออย่างกว้างขวางทั่วยุโรป
2
หนังสือ สารานุกรม ชุดนี้จึงได้ทำหน้าที่ของมันอย่างที่ บก.ดิเดอโร ตั้งใจไว้เต็มที่ คือ เมื่อคนอ่านก็ได้รับรู้ข้อมูลมากขึ้น เข้าใจสังคมที่ตัวเองอาศัยอยู่มากขึ้น เห็นภาพจากมุมมองที่กว้างขึ้น เริ่มเกิดความคิด เกิดความสงสัยกับสิ่งต่างๆที่เป็นไปรอบตัวตามที่บทความชวนให้คิดและสงสัย
1
แล้วก็อดถามต่อไม่ได้ว่าสิ่งต่างๆที่เป็นอยู่ในสังคมมันเกิดขึ้นได้อย่างไร ทำไมจึงเป็นเช่นนี้ และที่เป็นอยู่นี้มันดีแล้วหรือ ? มีทางเลือกอื่นอีกไหม? มีคำอธิบายอื่นอีกไหม? สามารถเปลี่ยนแปลงให้ดีขึ้นได้ไหม?
3
ซึ่งคำถามเหล่านี้ไม่ได้จำกัดอยู่แค่เรื่องที่เกี่ยวกับการทำมาหากิน แต่ยังรวมไปถึงการตั้งคำถามกับระบอบการปกครอง ระบอบศักดินา และความเชื่อทางศาสนา
1
หนังสือสารานุกรมชุดนี้จึงปัจจัยสำคัญปัจจัยหนึ่งที่นำให้ฝรั่งเศสก้าวเข้าสู่ยุค enlightment หรือยุคเรืองปัญญา ซึ่งเป็นรากฐานสำคัญนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงอื่นๆที่เกิดตามมาอีกมากมาย ไม่ว่าจะเป็น การปฏิวัติในฝรั่งเศส(และในหลายประเทศทั่วยุโรป)เพื่อโค่นล้มระบอบศักดินา
การปฏิวัติในฝรั่งเศส
การปฏิวัติและการประกาศแยกตัวจากสหราชอาณาจักรของประเทศอเมริกา
วอชิงตันข้ามแม่น้ำ ในสงครามปฏิวัติของอเมริกา
สารานุกรมชุดนี้ยังนำไปสู่การเกิดแนวคิดทางการเมืองในรูปแบบอื่นๆไม่ว่าจะเป็น การปกครองแบบระบอบเผด็จการแบบฟาสซิสต์ ลัทธิชาตินิยม ระบอบคอมมิวนิสต์ และประชาธิปไตย (ซึ่งเป็นการปกครองทางเลือกอื่นจากการปกครองด้วยกษัตริย์หรือจักรพรรดิ์)
รวมไปถึงการนำไปสู่การปฏิวัติอุตสาหกรรมในเวลาต่อมา
9.
ในวันที่ ดิเดอโร จากโลกนี้ไปในปีค.ศ. 1784 เขาเชื่อว่าโปรเจค Encyclopedia ของเขาล้มเหลวในการเปลี่ยนแปลงสังคม แต่ปัจจุบันเมื่อเรามองย้อนกลับไปในประวัติศาสตร์ เรารู้ว่า Encyclopedia ของเขาไม่ได้ล้มเหลว แต่ Encyclopedia ต้องใช้เวลาในการซึมซาบเข้าไปสู่คนรุ่นใหม่ เพราะอีกไม่กี่สิบปีต่อมา เมื่อคนรุ่นใหม่เติบโตมาทดแทนคนเจเนอเรชั่นเก่า
1
ผลที่ตามมาคือ . . .
การปฏิวัติครั้งใหญ่ที่พลิกสังคม พลิกสถาบันเก่าแก่อายุหลายพันปี ทั่วยุโรปและอเมริกา
Lady Liberty นำกองทัพประชาชน ภาพวาดโดย Eugène Delacroix
(ปิดท้ายด้วยโฆษณา)
สนใจอ่านหนังสือ non-fiction ที่สนุกเช่นนี้ แนะนำเข้าไปเลือกซื้อหนังสือได้จากลิงก์
อ่านบทความประวัติศาสตร์อื่นๆเพิ่มเติมได้ที่
อ่านบทความวิทยาศาสตร์และการแพทย์ได้ที่
คลิปวีดีโอเกี่ยวกับประวัติศาสตร์
เพิ่งเริ่มทำนะครับ ช้านิดแต่จะมีคลิปใหม่ๆตามมาอีกแน่นอน
โฆษณา