16 ม.ค. 2020 เวลา 13:01 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
#ภาพการเกิดออโรราบนดาวเสาร์ภาพสุดท้ายจากยานอวกาศแคสสินี (Cassini spacecraft)
ยานอวกาศแคสสินี (Cassini Spacecraft) เป็นยานอวกาศที่ถูกส่งออกไปนอกโลกเมื่อปี 1997 พร้อมๆ กับ Huygens Probe เพื่อทำการสำรวจระบบดาวเสาร์อย่างละเอียด
ชื่อของยานอวกาศแคสสินีมาจากชื่อของนักดาราศาสตร์ Giovanni Cassini ผู้ค้นพบว่าวงแหวนดาวเสาร์นั้นไม่ได้ติดกันเป็นแผ่นเดียว แต่มีช่องว่างระหว่างวงแหวนอยู่ด้วย ทุกวันนี้นักดาราศาสตร์เรียกช่องว่างนั้นว่า ช่องว่างแคสสินี
โดยยานอวกาศแคสสินีมีวัตถุประสงค์ในการสำรวจดังนี้
-ศึกษาโครงสร้างสามมิติของวงแหวนดาวเสาร์
-ตรวจวัดโครงสร้างสามมิติของสนามแม่เหล็กดาวเสาร์
-ศึกษาการเปลี่ยนแปลงของบรรยากาศบนดาวเสาร์
-ศึกษาองค์ประกอบของพื้นผิวของดาวดวงจันทร์บริวาร
-ศึกษาการเปลี่ยนแปลงของเมฆและหมอกแดดบนดวงจันทร์ไททัน
-ปล่อยกระสวยอวกาศลงสู่พื้นผิวของดวงจันทร์ไททัน
ยานอวกาศแคสสินีได้เดินทางผ่านห้วงอวกาศหลายล้านกิโลเมตร จนเข้ากระทั่งเข้าสู่วงโคจรดาวเสาร์ในปี 2004 และนับตั้งแต่ปี 2004 เป็นต้นมา ยานอวกาศแคสสินีก็ใช้เวลา 13 ปีสำรวจทุกซอกทุกมุมของดาวเสาร์และดาวบริวาร แล้วส่งข้อมูลเหล่านั้นกลับมายังโลก เพื่อใช้เป็นแหล่งข้อมูลให้กับมนุษยชาติ จนกระทั่งวันที่ 15 กันยายน ค.ศ.2017 ก็เป็นปีสุดท้ายในการปฏิบัติหน้าที่ของยานอวกาศแคสสินี ก่อนจบภารกิจด้วยการพุ่งเข้าโม่งดาวเสาร์
แต่นี้ไม่ใช่ความทรงจำครั้งสุดท้ายที่ยานอวกาศแคสสินีทิ้งไว้ให้เราได้รับรู้จากภารกิจสุดท้าย แต่เป็นข้อมูลมากมายจากยานที่ส่งมาให้เราได้ทึ่งกับภาพที่เกิดขึ้นกับเทหวัตถุในอวกาศที่ห่างไกลอย่างดาวเสาร์ หนึ่งในข้อมูลที่มีค่านั้นก็คือ ภาพการเกิดออโรราบนดาวเสาร์
ภาพการเกิดออโรราบนดาวเสาร์ที่ชัดที่สุด ที่ได้มาจากยานอวกาศแคสสินีและได้รับการวิเคาะห์จากนักวิจัยจาก Lancaster University ซึ่งเป็นข้อมูลชุดสุดท้ายที่ส่งมาจากยาน มันไม่ใช่แค่ทำให้เหล่านักวิจัยได้เห็นวงแหวนดาวเสาร์อย่างใกล้ชิดเท่านั้น แต่ยังให้ภาพการเกิดออโรรา (Saturn's ultraviolet auroras) ที่ขั่วเหนือของดาวเสาร์ในระดับความละเอียดที่ไม่เคยมีมาก่อนด้วย
การศึกษาวิจัยในครั้งนี้ นำโดยนักศึกษาระดับปริญาเอก Alexander Bader ผู้ที่วิเคราะห์ข้อมูลดังกล่าวจนทำให้เห็นถึงภาพการเกิดการเกิดออโรราที่ขั่วเหนือของดาวเสาร์นั่นเองและการศึกษาวิจัยได้ถูกตีพิมพ์ลงในวาร Geophysical Research Letters และ JGR: Space Physics
แน่นอนว่านี่จะทำให้นักวิจัยเข้าใจกลไกการทำงานและการเกิดออโรราบนดาวเคราะห์ยักดวงอื่นๆ มากยิ่งขึ้น
ขอบคุณทุกท่านที่เข้ามารับชม ติดตามเรื่องราวดี ๆ ด้าน #วิทยาศาสตร์ #เทคโนโลยี และ #นวัตกรรม ได้ที่ #antnumber9 #มดหมายเลข9
#อวกาศ #ภาพการเกิดออโรราบนดาวเสาร์ #space #NASA #ยานอวกาศแคสสินี #CassiniSpacecraft #ดาวเสาร์ #Saturn #ESA
โฆษณา