18 ม.ค. 2020 เวลา 07:00 • ธุรกิจ
“จีนกับหนทางสู่ผู้นำรถยนต์เชื้อเพลิงไฮโดรเจนของโลก”
1
ในปี ค.ศ. 2015 รัฐบาลจีนได้ตั้งเป้าหมายที่จะเป็นผู้นำในด้านอุตสาหกรรมรถยนต์ภายในอีก 10 ปีข้างหน้า ซึ่งอยู่ในนโยบาย “Made in China 2025” โดยมุ้งเน้นการพัฒนาและการใช้งานไปที่รถยนต์พลังงานใหม่ (New Energy Vehicle) ได้แก่ ไฮบริดแบบปลั๊กอิน (Plug-in hybrid electric vehicle, PHEV), รถยนต์ไฟฟ้าแบตเตอรี่ (Battery electric vehicle, BEV), รถยนต์เซลล์เชื้อเพลิง (Fuel cell electric vehicle, FCEV)
5
เปรียบเทียบรถยนต์ไฟฟ้าแบบต่างๆ
ปัจจุบันนี้รถยนต์พลังงานใหม่ที่นำมาใช้กันอย่างแพร่หลายในประเทศจีนแล้วคือ ประเภทรถยนต์ไฟฟ้าแบตเตอรี่ที่ขับเคลื่อนโดยการจ่ายไฟจากแบตเตอรี่ไปยังมอเตอร์เพื่อขับเคลื่อนรถยนต์ แทนที่เครื่องยนต์สันดาปภายใน (Internal Combustion Engine, ICE) แบบดั้งเดิมที่ประเทศไทยเรากำลังใช้กันอยู่ส่วนใหญ่
1
รถยนต์พลังงานใหม่อีกประเภทหนึ่งที่รัฐบาลจีนกำลังขับเคลื่อนสู่การเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่คือ รถยนต์เซลล์เชื้อเพลิงหรือ FCEV ซึ่งใช้เชื้อเพลิงคือ ไฮโดรเจน มาทำปฎิกิริยากับ ออกซิเจน ที่มีอยู่ในอากาศ เกิดกระแสไฟฟ้าส่งไปขับมอเตอร์ส่งกำลังขับเคลื่อนรถยนต์ได้เช่นเดียวกัน โดยมีผลิตภัณฑ์จากการทำปฏิกิริยาออกมาคือน้ำ ไม่ส่งผลเสียต่อสิ่งแวดล้อมเหมือนกับเครื่องยนต์สันดาปที่ใช้น้ำมันหรือแก๊สเชื้อเพลิงอย่างในปัจจุบัน
1
กระบวนการทำงานของรถยนต์เซลล์เชื้อเพลิงไฮโดรเจน
เมื่อเทียบกันระหว่าง FCEV และ BEV จะพบว่า FCEV กำลังงานที่ได้ต่อน้ำหนักหรือปริมาตรของเชื้อเพลิง จะมากกว่าของ BEV ที่ใช้แบตเตอรี่ลิเทียมไอออนอยู่ถึง 100 เท่า นั่นหมายความว่า FCEV สามารถวิ่งได้ในระยะทางที่ไกลกว่าต่อการเติมเชื้อเพลิงแต่ละครั้ง
1
และเมื่อเทียบ FCEV กับ ICE แล้วนั้นพบว่า FCEV สามารถวิ่งได้ในระยะทางไกล้เคียงกับ ICE อีกด้วยและใช้เวลาในการเติมเชื้อเพลิงเพียง 3 นาทีเท่านั้น
การเปรียบเทียบกำลังงานของรถยนต์แต่ละประเภท
ในแผน Made in China 2025 ที่ออกมาในปี ค.ศ. 2015 นั้นได้ระบุเป้าหมายที่ไว้ว่าจะมีการผลิตรถยนต์ FCEV 5,000คันในปี 2020, 50,000 คันในปี 2025 และ 1ล้านคันในปี 2030
แผนพัฒนารถยนต์เซลล์เชื้อเพลิง
จากรูปจะเห็นได้ว่าในช่วงเริ่มต้นของการใช้งานของ FCEV จะมุ่งเอาไปใช้ในรถยนต์สาธารณะและรถขนส่งสินค้า ซึ่งต้องวิ่งระยะทางปริมาณมากในแต่ละวัน การนำ FCEV มาใช้จะส่งผลดีกว่า BEV ซึ่งสามารถนำมาวิ่งได้ในระยะทางที่สั้นกว่าต่อการชาร์ตหนึ่งครั้ง BEV จึงเหมาะกับรถยนต์ขนาดเล็กส่วนบุคคลที่วิ่งระยะทางไม่ไกลนัก
เมื่อมองในมุมมองสถานีเติมเชื้อเพลิงไฮโดรเจนของ FCEV การนำ FCEV มาใช้ในรถยนต์สาธารณะและขนส่ง ทำให้สามารถจัดการบริหารสถานีเติมเชื้อเพลิงไฮโดรเจนได้ง่าย เพราะว่ารถที่วิ่งในลักษณะดังกล่าวจะวิ่งด้วยระยะทางและเส้นทางที่แน่นอนในทุกวัน ทำให้ง่ายต่อการกำหนดจำนวนและตำแหน่งสถานีได้ง่ายและเพียงพอต่อการใช้งาน
1
สถานีเติมเชื้อเพลิงไฮโดรเจนในเซี่ยงไฮ้ประเทศจีน
ในประเทศจีนการเกิดขึ้นของ FCEV หรือ BEV นั้น เกิดจากการกลไกของรัฐบาลคือ “สนับสนุน”และ “ข้อบังคับ”
ในช่วงเริ่มแรกรัฐบาลให้การสนับสนุนทางด้านการเงินแก่บริษัทผลิตรถยนต์ในประเทศ อย่างเช่น ในกลุ่ม FCEV ได้รับเงินสนับสนุน 500,000 CNY สำหรับกลุ่มรถสาธารณะและรถบรรทุกสินค้า เป็นต้น นอกจากนั้นยังมีการออกข้อบังคับในบางเมืองโดยห้ามรถสันดาปภายใน (ICE) วิ่งเข้าเมือง หรือบังคับให้บริษัทขนส่งทั้งหลายเปลี่ยนมาใช้รถในกลุ่ม NEV จึงเป็นการกระตุ้นทำให้เกิดความต้องการซื้อรถ FCEV มาใช้ดำเนินงานไปโดยปริยาย ถือว่าเป็นตัวอย่างกลยุทธ์ที่มีประสิทธิภาพหนึ่งในการเปลี่ยนผ่านจากเทคโนโลยีหนึ่งไปสู่อีกหนึ่งของรัฐบาลจีน
เมื่อแผนพัฒนาของจีนได้ออกมา ผู้ผลิตรถยนต์ในประเทศจีนต่างตื่นตัวและปรับตัวเข้าสู่การผลิตรถยนต์ FCEV
1
การผลิตรถยนต์ FCEV ของจีนในระยะเริ่มแรก ในเมื่อไม่มีเทคโนโลยีเซลล์เชื้อเพลิงเป็นของตัวเองแต่ต้องการเน้นไปที่การนำมาใช้งานได้อย่างรวดเร็วสอดคล้องกับแผนพัฒนา จึงเลือกใช้วิธี Outsource การผลิตสำหรับส่วนประกอบที่ประเทศอื่นที่ได้พัฒนาไว้แล้ว ดังในรูป ประเทศจีนได้พึ่งพาเทคโนโลยีเซลล์เชื้อเพลิงจากบริษัทสัญชาติแคนาดาและสวีเดน และร่วมกับผู้ผลิตในประเทศที่มีความเชี่ยวชาญในการผลิตส่วนอื่นๆอยู่แล้วเช่น แบตเตอรี่ อุปกรณ์ควบคุมต่างๆ เป็นต้น ออกมาเป็นรถยนตร์ FCEV ในประเทศจีน
1
ห่วงโซ่คุณค่าในการผลิต FCEV ในประเทศจีน
สอดคล้องกับการเติบโตของธุรกิจ E-Commerce ในประเทศจีน ที่กำลังเติบโตขึ้นเรื่อยๆและคาดการณ์ว่าในปี ค.ศ. 2022 จะเติบโตเป็น 30% ของยอดขายปลีกทั้งหมดในประเทศจีน นั้นหมายถึงการขนส่งสินค้าโดยรถบรรทุกย่อมมีความต้องการสูงขึ้นไปด้วย และด้วยกฎหมายทางด้านสิ่งแวดล้อม บริษัทขนส่งจึงปรับตัวอย่างรวดเร็วในการหันมาใช้ FCEV อย่างบริษัท Shanghai Sinotran New Energy Automobile Operation (STNE) ซึ่งเป็นบริษัทร่วมทุนระหว่างบริษัทพลังงานที่สำคัญในประเทศจีน ได้แก่ Sinopec, ChinaPetro, และ Shenergy Group โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างระบบการขนส่งในเมืองที่สะอาดโดยใช้พลังงานไฮโดรเจน
รถบรรทุกสินค้าดำเนินงานโดย STNE ในประเทศจีน
ในปี 2018 ได้ซื้อรถบรรทุกสินค้า FCEV กว่า 500 คัน และตั้งเป้าเพิ่มรถบรรทุก FCEV ขึ้นเรื่อยๆ และได้ดำเนินการให้บริการกับบริษัทอีคอมเมิร์ซยักใหญ่อย่าง JD.com, Alibaba Hema Fresh, IKEA และบริษัทอื่นๆที่มีการขนส่งพัสดุ เป็นที่เรียบร้อย
นอกจากการผลักดันทางด้านการผลิตเพื่อให้เกิดการนำมาใช้งานจริงอย่างรวดเร็วได้นั้น รัฐบาลจีนยังผลักดันในเรื่อง R&D ในประเทศเพื่อพัฒนาเทคโนโลยีระบบเซลล์เชื้อเพลิงของประเทศจีนเองเพื่อให้ไปถึงระดับผู้นำเทคโนโลยีด้านยนตรกรรมของโลกตามแผน Made in China 2025
รถยนต์เซลล์เชื้อเพลิงในงานแสดงรถยนต์ในมนฑลเจียงซู ประเทศจีน
References:
โฆษณา