Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
นำเข้าส่งออก สุดขอบฟ้า
•
ติดตาม
17 ม.ค. 2020 เวลา 12:15 • ธุรกิจ
ชายผู้ที่ทำให้โลกาภิวัตน์เกิดขึ้นได้จริง
โลกาภิวัตน์ (Globalization) ส่วนหนึ่งคือการค้าขายแลกเปลี่ยนสินค้าระหว่างประเทศ
แต่มีเรื่องราวนวัตกรรมจากคนธรรมดาๆ คนหนึ่ง ที่หลายๆ ท่านอาจยังไม่ทราบ ที่มีส่วนทำให้การขนส่งระหว่างประเทศ เป็นไปได้จริง เราไปติดตามเรื่องราวนี้กันเลย!
ย้อนอดีตกลับไปปี ค.ศ.1937 หนุ่มชาวอเมริกันวัย 24 ปี นามว่า มัลคอม แม็คลีน ทำอาชีพคนขับรถบรรทุกส่งฝ้าย จากรัฐนอร์ธแคโรไลน่า ทางตะวันออกของสหรัฐอเมริกา ไปลงเรือที่รัฐนิวเจอร์ซีย์ ทางตะวันออกเฉียงเหนือ ระยะทางกว่า 900 กิโลเมตร
Cr. TED Ed
โดยทุกครั้งที่เขาไปส่งของที่ท่าเรือ เขาจะต้องเจอกับเหตุการณ์ซ้ำๆ ที่น่าเบื่อมากๆ ก็คือ การรอโหลดของลงเรือสินค้าที่จะออกเดินทางไปสู่ อิสตันบูล ประเทศตุรกี
ในสมัยนั้น การโหลดสินค้าลงเรือ ยังต้องขนสินค้าเป็นชิ้นๆ ขึ้นเรือ โดยใช้แรงงานคน ซึ่งทำให้ มัลคอม ต้องรอเป็นวันๆ กว่าที่จะได้คิวโหลดสินค้า และกว่าที่จะโหลดสินค้าเสร็จ
การโหลดสินค้าลงเรือ Cr. Works that work
เขามักจะบ่นกับเพื่อนๆ ทุกครั้ง ในทำนองว่า “มันต้องมีวิธีการที่ดีกว่าการมานั่งรอ ยกสินค้าขึ้นเรือทีละชิ้นแบบนี้ ทำไมถึงไม่มีใครคิดที่จะยกรถทั้งคันขึ้นเรือไปเลย แล้วก็เอาไปใช้งานต่อ”
โดยเฉลี่ยการโหลดสินค้าลงเรือ ใช้เวลารวมประมาณ 8 วัน...
จากปัญหาที่เขาเจอกับตัวเองในวันนั้น ทำให้ต่อมาในช่วงปี ค.ศ. 1950 เขาได้คิดค้นทางแก้ปัญหา โดยใช้ไอเดีย “กล่องขนาดใหญ่” หรือ “Big Box” ซึ่งก็ประยุกต์มาจากตู้บรรทุกสินค้าของรถไฟ
Cr. Pinterest
นวัตกรรมดังกล่าวคือ ไอเดียต้นแบบของ ตู้คอนเทนเนอร์ ที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในปัจจุบัน และในปี ค.ศ. 1956 มัลคอมในฐานะเจ้าของบริษัทขนส่ง ก็ได้ทำให้ความฝันของเขาเป็นความจริง
1
โดยเขาทำการเปลี่ยนเรือบรรทุกผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม สมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 ที่มีชื่อเท่ห์ๆ ว่า “SS Ideal X” ให้เป็นเรือขนส่งสินค้าทางทะเล โดยบรรทุกตู้คอนเทนเนอร์ถึง 58 ตู้ (ความยาวตู้ประมาณ 35 ฟุต) และมีผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมกว่า 15,000 ตัน
1
มัลคอม คำนวณเปรียบเทียบว่า การขนส่งโดยใช้ตู้คอนเทนเนอร์แบบใหม่ของเขาจะช่วยลดต้นทุนขนส่งจาก 5.83 เหรียญสหรัฐฯ ต่อตัน เหลือเพียง 0.16 เหรียญสหรัฐฯ ต่อตัน หรือ 36 เท่า
และการใช้ตู้คอนเทนเนอร์ และเครนยกตู้ จะช่วยลดเวลาโหลดสินค้าลงเรือ จาก 8 วัน เหลือเพียงหลัก 1-3 วันเท่านั้น
ปัจจุบันตู้คอนเทนเนอร์ถูกใช้กันอย่างแพร่หลาย และมีหลากหลายกว่า 16 รูปแบบ ตามชนิดสินค้า
นอกจากนี้เรือขนส่งทางทะเลก็มีแข่งกันสร้างเรือที่ใหญ่ที่สุดในโลก ทำลายสถิติเดิมอย่างต่อเนื่อง
โดยปกติแล้วการวัดขนาดของเรือ จะใช้วิธีเปรียบเทียบกับขนาดตู้สินค้ามาตรฐานหรือ TEUs ย่อมาจาก Twenty-foot คือ หน่วยนับสินค้าที่บรรจุในตู้คอนเทนเนอร์ความยาว 20 ฟุต
โดยตู้คอนเทนเนอร์ 20 ฟุต เท่ากับ 1 ทีอียู ตู้คอนเทอนเนอร์ 40 ฟุต เท่ากับ 2 ทีอียู
ล่าสุดปลายปี 2019 เรือขนส่งทางทะเลที่ใหญ่ที่สุดในโลกก็คือ เรือ MSC Gülsün โดยมีขนาดถึง 23,756 TEU ความยาวเรือกว่า 400 เมตร ความกว้างกว่า 62 เมตร หรือหากเทียบง่ายๆ ก็เทียบเท่าสนามฟุตบอล เกือบ 4 สนาม!
Cr. Port of Rotterdam
การมาถึงของตู้คอนเทนเน่อร์ ช่วงลดต้นทุนค่าขนส่ง และลดเวลาขนส่งอย่างมหาศาล ทำให้ โลกาภิวัฒน์ (Globalization) เกิดขึ้นได้จริง การขนส่งสินค้าทางเรือ จากประเทศที่มีสินค้า ไปสู่ประเทศที่ไม่มีสินค้าสามารถเป็นไปได้
ตัวอย่างสินค้าที่คลาสสิก ก็คือ “กล้วยหอมเขียว” หรือ กล้วยคาเวนดิช ที่มีปลูกเฉพาะในประเทศเขตร้อนชื้น เช่น อินเดีย ละตินอเมริกา และเอเชียตะวันออก และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ สามารถขายไปได้ทั่วโลก ในราคาที่ถูกเหมือนให้ฟรีในหลายๆประเทศ
เรื่องราวของ มัลคอม แม็คลีน ที่สามารถคิดค้นนวัตกรรมเพื่อแก้ความเบื่อของเขาจากการที่ต้องมารอโหลดสินค้า ได้สร้างคุณค่าอย่างมหาศาลต่อโลก ทำให้การค้าขายแลกเปลี่ยนสินค้าจากประเทศที่มีสินค้า ไปสู่ประเทศที่ไม่สามารถผลิตสินค้านั้นๆ เป็นไปได้จริง
จะเรียกว่า ช่วยให้คนพ้นความจากความยากจน ก็ได้ โดยเฉพาะการก้าวขึ้นมาเป็นโรงงานผลิตสินค้าของโลก ของประเทศจีน
อย่างไรก็ตาม โลกในยุคปัจจุบัน ดูเหมือนจะกลับด้าน นำโดยทรัมป์ ที่ปลุกกระแสชาตินิยม และเรียกร้องให้มีการย้ายฐานการผลิตกลับประเทศอเมริกา
ช่วงเปิดต้นปีมา ดูเหมือนจีนกับสหรัฐฯ จะเจรจาเฟส 1 กันได้ อย่างไรก็ตามต้องบอกว่าการย้ายฐานการผลิต ออกจากจีนก็ได้เริ่มขึ้นมาก่อนหน้าแล้ว และไทยเรา ก็ต้องมานั่งลุ้นว่าจะได้รับอานิสงค์ (ทางบวก) จากการย้ายฐานการผลิตครั้งนี้ มากน้อยเพียงใด
Cr. Newyork times
แต่อีกทางหนึ่ง เราคงต้องกลับมานั่งคิดว่า ประเทศเราถนัดผลิตสินค้าหรือบริการอะไรกันแน่ ถ้าอยากจะยืนหยัดในเวทีโลกต่อไป
ถ้าคิดเร็วๆ ก็ ประเทศเราในน้ำมีปลาในนามีข้าว สินค้าอาหารของกิน ยังไงก็ต้องกินต้องใช้ สามารถไปได้แน่ๆ อีกด้านหนึ่งก็เรื่องที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวและวัฒนธรรมอันดีงาม ก็คงต้องช่วยกันเสริมให้แข็งแกร่งยิ่งขึ้น
ที่แอดมินรู้สึกภูมิใจมากๆ คือ ทุกวันนี้พอบอกเพื่อนใหม่ชาวต่างชาติว่า “ฉันมาจาก ไทยแลนด์” ก็จะไม่เจอย้อนถามเราว่า ไทยแลนด์ หรือ ไทวาน (ไต้หวัน) อีกต่อไป…ททท. โปรโมตไว้ดี จุดแข็งนี้เราน่าจะได้ไปต่อ…
ที่มา:
https://www.maritime-executive.com/article/the-story-of-malcolm-mclean
http://www.worldshipping.org/about-the-industry/history-of-containerization/the-birth-of-intermodalism
THE CONTAINERSHIP REVOLUTION Malcom McLean’s 1956 Innovation Goes Global
http://www.laemchabangportphase3.com/know_02.html
https://www.portofrotterdam.com/en/news-and-press-releases/msc-gulsun-worlds-largest-container-ship-arrives-at-the-port-of-rotterdamrlds-largest-container-ship-arrives-at-t
💡ไม่อยากพลาดข้อมูลสำคัญเกี่ยวกับการค้าระหว่างประเทศ และกลยุทธ์ทางธุรกิจ
กดติดตาม "นำเข้าส่งออก สุดขอบฟ้า"
https://zupports.co/
และสำหรับผู้นำเข้าส่งออก เชิญเข้าร่วมกลุ่มเพื่อแลกเปลี่ยนความรู้ หาช่องทางนำเข้าส่งออก และข้อมูลที่สำคัญเกี่ยวกับการนำเข้าส่งออก ได้ที่
http://bit.ly/2OYDbxL
61 บันทึก
180
31
37
61
180
31
37
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย