ร่นการย่อยสลายจาก 500 ปีเหลือ 6 วัน! ล้ำไม่หยุด ทีมนักวิทยาศาสตร์สิงคโปร์วิธีย่อยพลาสติกให้เป็นสารเคมีได้ใน 6 วันด้วยแสงอาทิตย์! นำไปใช้ประโยชน์ต่อสารพัด ไม่ต้องฝังกลบ-เผาให้เป็นมลพิษอีกต่อไป
•
ต้องขอบคุณวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่ทำให้มนุษย์คิดค้นนวัตกรรมใหม่ ๆ ที่น่าสนใจมาช่วยเหลือมวลมนุษยชาติและโลกอยู่เสมอ หนนี้ทีมนักเคมีจากมหาวิทยาลัยหนานหยาง (Nanyang Technological University) ประเทศสิงคโปร์ ได้ค้บพบวิธีใหม่ในการย่อยสลายพลาสติกได้ในระยะเวลาเพียง 6 วันเท่านั้น
•
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ Soo Han Sen และทีมนักเคมีจากSchool of Physical and Mathematical Sciences จาก Nanyang Technological University, Singapore ได้เขียนรายงานในวารสาร “Advanced Science” ว่าพวกเราได้ค้นพบวิธีที่ทั้งประหยัดและมีประสิทธิภาพสูงมาก
•
วิธีนั้นก็คือการอาศัยพลังงานสะอาดจากแสงอาทิตย์เป็นตัวทำปฏิกิริยาในขั้นตอนการย่อยสลาย ใช้ตัวเร่งปฏิกิริยาวาเนเดียม (Vanadium) ที่ไม่เป็นพิษ เปลี่ยนพลาสติกให้กลายเป็นกรดฟอร์มิก (Fomic Acid)
•
พลาสติกที่สามารถย่อยในกระบวนการนี้ได้ก็คือพลาสติก Polyethylene (PE) ที่มีลักษณะโปร่งใส และเมื่อมันถูกเปลี่ยนเป็นกรดฟอร์มิกแล้ว เราสามารถนำพวกมันไปใช้เป็นสารกันบูด สารยับยั้งแบคทีเรีย และยังสามารถนำไปทำเป็นพลังงานทดแทนสำหรับรถเครื่องยนต์ไฮโดรเจนได้ด้วย
•
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ซูฮันเซนกล่าวว่า “นี่ถือเป็นครั้งแรกที่มีการใช้เคมีในการย่อยสลายอนุภาคของสารอนินทรีย์ที่เป็นพลาสติกประเภท PE ได้อย่างหมดจด โดยใช้แค่แสงแดดเป็นตัวเร่งปฏิกิริยา”
•
ที่ประเทศสิงคโปร์มีการเผาขยะพลาสติก ซึ่งก่อให้เกิดก๊าซเรือนกระจกอย่างคาร์บอนไดออกไซด์ และเถ้าถ่านมหาศาล เศษเถ้าที่เหลือจากการเผานั้นถูกส่งไปยังเกาะเซมาเกา ซึ่งคาดการณ์ว่าน่าจะไม่เหลือพื้นที่ให้ทิ้งขยะอีกต่อไปภายในปีค.ศ. 2035
•
ที่มา