19 ม.ค. 2020 เวลา 03:23 • ธุรกิจ
ทุกๆครั้งที่เราเรียก GRAB 100 บาท บริษัทต้องจ่ายเงินให้เรา 64 บาท !!!
ผมมีโอกาสได้เห็นงบที่ Grab ส่งกรมการค้าภายในมา
ก็เห็นว่ามีอะไรน่าสนใจดี
เลยมาเล่าให้ฟังกันครับ
1
เรามารู้จัก Grab กันให้มากขึ้นจากงบกันดีกว่า
ต้องอธิบายก่อนว่าบริษัท Grab นี้
ถึงจะใช่ชื่อ Grabtaxi
แต่เข้าใจว่ารวมหมดทั้ง Grabfood, Grab express หรือ Grab อะไรก็ตามครับ
อย่างแรกที่เห็นชัดเลยจากงบคือ
งบของ Grab ที่ส่งมาถึงปี 2561
grab มีรายได้ 1,105 ล้านบาท
แต่ขาดทุนถึง 711 ล้านบาท
หรือแปลว่ารายได้ทุกๆ 100 บาทที่บริษัทได้หรือทุก 100 บาทที่เราใช้บริการไม่ว่า grab อะไร
บริษัทต้องขาดทุนไป 64.3 บาท
ถามว่าทำไมขาดทุนมากขนาดนั้น ???
สาเหตุแรกเพราะลักษณะธุรกิจหรือ Business Model ของ Ride Hailing หรือ Food Delivery
ที่ต้องจ่ายเงินอุดหนุนหรือ subsidies ให้กับ driver หรือ คนส่งอาหาร
ถ้าเราสังเกตดีๆจะพบว่า
บางทีเรียก Grab Food มาส่งนี่ถูกกว่าค่านั่งมอเตอร์ไซด์ไปหน้าปากซอยอีก
นั่นก็เพราะบริษัทเค้า subsidies ให้เราครับ
สาเหตุที่ 2 ก็คือ
รายได้ที่บริษัทได้มายังไม่ cover ค่าใช้จ่ายต่างๆ
ค่าใช้จ่ายต่างๆก็อย่างเช่นค่า maintenance ระบบ, ค่า back office, ค่าโฆษณา, เงินเดือนผู้บริหาร ฯลฯ
เพราะเราต้องไม่ลืมว่า Grab มันไม่ใช่ app ขึ้นมาลอยๆ
แต่มันมีคนทำงานจริงๆอยู่เบื้องหลังด้วย
จ้าง BNK48 มาเป็น presenter แบบนี้ก็ต้องใข้เงินนะครับ
ทีนี้มันก็อาจจะเข้าทำนองที่ว่า
"ยิ่งเรียก ยิ่งเจ๊ง"
เพราะยิ่งเรียกมาก บริษัทก็ยิ่งเสียเงินมาก
1
บางคนอาจจะคิดว่า
ไม่จริงหรอก
ปกติธุรกิจที่เพิ่งเริ่มต้นน่ะ ก็มักจะขาดทุนอยู่แล้ว
โดยเฉพาะกับบริษัทที่เป็น Startup
1
เป็นปกติบริษัท Startup จะมีการ "เผาเงิน" หรือ burn cash ที่สูงมาก
แต่ถ้าเป็นธุรกิจที่โดน price war หรือมีสงครามราคา
จะยิ่งต้อง burn cash หนักมากเข้าไปอีกครับ
ผมขอยกตัวอย่าง IPO ระดับตำนานตัวนึงคือ Uber
Uber ทุกคนน่าจะรู้อยู่แล้วว่าเป็นธุรกิจ Ride Hailing หรือ app เรียกรถ
ซึ่ง Uber ได้เงินจาก IPO มา 9,000m$
แต่ไตรมาสเดียว Uber ขาดทุนไปแล้วถึง 5,000m$
ก็คือเงินจาก IPO หายไปกว่าครึ่งในเวลาเพียง 3 เดือน
เกิดอะไรขึ้นกับ Uber ถึงขาดทุนมากขนาดนั้น
ถามว่าเกิดจากอะไรกัน ???
คำตอบคือการที่ Uber ต้อง subsidies เงินในปริมาณ"มหาศาล"ครับ
เพราะในอเมริการาคา Uber ถูกกว่า taxi ปกติด้วยซ้ำ
ว่ากันว่าทางออกเดียวของ Uber ก็คือการมีรถยนต์ไร้คนขับ
ที่ทำให้บริษัทไม่ต้องจ่ายเงิน subsidies อีกต่อไป
แต่ก็ไม่รู้เหมือนกันว่า Uber จะทนอยู่ได้ถึงตอนนั้นไหม
เมื่อ subsidies บ่อยๆ เงินก็จะไม่เหลือ
สำหรับ Uber ตอนนี้ก็เข้าตำรา "ยิ่งเรียก ยิ่งเจ๊ง" นั่นแหละครับ
แต่เมืองไทยอาจจะไม่เป็นแบบนั้น
เพราะ Uber ยอมถอยทัพไปแล้ว
Ride Hailing ในเมืองไทยจึงเหลือแต่เพียง
Grabcar เท่านั้น
ทำให้เค้าสามารถ charge ค่าบริการในระดับที่เหมาะสมมากขึ้นได้
(ไม่ต้องไปทำ price war กับใครอีกต่อไป)
กลับมาที่ Food Delivery ก็เช่นกันครับ
ค่าเรียกให้มาส่งอาหารที่ถูกกว่าค่านั่งวินไปหน้าปากซอยนั้น
ก็เพราะเค้า subsidies เงินให้คนส่งของพวกนี้ครับ
แต่สิ่งที่ Food Delivery ต่างจาก Ride Hailing คือ
Food Delivery สามารถเรียกเก็บเงินจากร้านอาหารได้ด้วย
ซึ่งตรงนี้จะไปช่วย Subsidies เงินที่ต้องจ่ายให้คนส่งของได้อีกทีนึง
คือมี 2 คนช่วยกันจ่ายเงิน
ทั้งตัวบริษัทและร้านอาหาร
แต่ Ride Hailing นี่คือบริษัทคนเดียวจ่ายเองเต็มๆครับ
ทำให้ Food Delivery บางบริษัทอ้างว่า
"กำไรต่อบิล" ของฉันเป็นบวกนะเอ้อ
ไม่ได้ยิ่งเรียกยิ่งเจ๊งแบบ Uber แล้วนะ
แต่เท่าที่ผมอ่านมาคือบางบริษัทอาจจะกำไรต่อบิลเป็นบวกก็จริง
แต่พอรวมงบแล้วก็ยังไม่มีบริษัทไหนสามารถทำกำไรหรือเป็น profitable company ได้อย่างแท้จริง
บริษัทเหล่านี้พยายามจะเป็น Profitable Company แต่ไม่รู้ว่าจะไหวไหม
อันนี้ผมพูดรวมตั้งแต่ของไทยอย่าง
Lineman, Grabfood, Foodpanda
ไปจนถึงตัวเล็กๆอย่าง Skootar ที่เป็น staprtup ของไทยด้วย
ส่วนของต่างประเทศอย่าง US ก็เข้าใจว่ายังขาดทุนเหมือนกันหมด
ทั้ง Doordash, Postmates และ Uber Eats ด้วย
ซึ่งก็น่าสนใจดีนะครับว่าบริษัทเหล่านี้จะเริ่มเป็น Profitable Company กันเมื่อไหร่
เพราะตอนนี้พวก trend หลักๆอย่าง
Ride Hailing
Shopping Online
และ Food Delivery
ต่างขาดทุนกันถ้วนหน้า
แถมเป็นขาดทุนแบบยิ่งขายยิ่งขาดทุนด้วย
แม้ Startup หลายๆตัว
จะต้องใช้เวลาสักระยะในการทำกำไรก็จริง
แต่สำหรับ Ride hailing และ Food delivery แล้ว
เหมือนยังไม่เห็น Business Model ที่จะทำกำไรได้จริงๆจังๆสักที
เพราะต้องจ่ายเงินออกไปตามจำนวนครั้งที่ทีผู้ใช้บริการอยู่เรื่อยๆ
อีกสาเหตุนึงก็เป็นเพราะพวกนี้เป็น price war อย่างแท้จริง
คือเราแทบไม่มี loyalty ต่อ app ใด app หนึ่งเลย
มีรายงานออกมาว่าคนที่ใช้ app Food Delivery app นึงเป็นประจำ
มักจะมี app อื่นๆเสมอ
อันนี้รวมไปถึง app Ride Hailing หรือ Shopping Online ด้วย
ทางออกของธุรกิจที่เป็น price war ก็คือฟาดฟันกันให้ตายกันไปก่อน
ใครเหลือรอดคนนั้นก็ฟันกำไรไป
price war คือกลยุทธ์ที่ bleeding ทั้ง 2 ฝ่าย
ส่วนอีกทางคือฮั้วกันคิดราคาค่าขนส่งให้สูงๆ
ซึ่งผมคิดว่าการขึ้นราคามากๆน่าจะเป็นไปไม่ได้
เพราะถ้าราคาแพงมากเกินไป
เราน่าจะยอมขับรถไปกินหรือเลือกกินร้านอื่นมากกว่า
ซึ่งก็น่าสนใจดีนะครับว่า price war แบบนี้มันจะไปจบที่ตรงไหน
ใครจะสายป่านยาวกว่ากัน
ใครจะยอมถอยก่อนกัน
ใครจะทน bleeding ได้นานกว่ากัน
และบริษัทพวกนี้จะเป็น profitable company จริงๆกันได้หรือเปล่า
กลับมาที่ Grab ต่อกันสักนิด
สิ่งที่แอบน่าสนใจคือ
รายได้ของ grab เริ่มโตมากกว่าค่าใช้จ่ายแล้ว
ในปี 60
Grab มีรายได้เพียง 360 ล้านบาท
แต่ขาดทุนไปถึง 900 ล้านบาท
แต่ในปี 61
Grab รายได้โตมา 3 เท่าเป็น 1,100 ล้าน
และขาดทุนเพียง 700 ล้าน
อาจจะอนุมานได้ว่าเพราะบริษัทได้ scale ที่ใหญ่ขึ้น
ทำให้ต้นทุนเพิ่มขึ้นน้อยลง
และเพราะบริษัท charge ค่า fee เพิ่มขึ้น
(ก็ทำให้บริษัทจ่ายค่า subsidies น้อยลงนั่นแหละ)
ทำให้ค่าใช้จ่ายในการขายและบริหารเพิ่มน้อยกว่ารายได้
1
แต่อย่างไรก็ดี
ผมก็ยังคิดว่าทุก 100 บาทที่เราเรียก Grab
Grab ก็ยังต้องเสียเงินหรือขาดทุนอยู่ดีนั่นแหละ
ก็ดูกันครับว่า Grab จะต้อง burn cash ไปอีกเท่าไหร่ก่อนจะเริ่มทำกำไรได้
แต่ถ้าโตได้ระดับนี้
ผมว่ามีลุ้นเลยครับ
เพราะมันยังมีช่องทางให้โตได้อีกมาก
และ Grab ก็พยายามหาช่องทางทำกำไรใหม่ๆนอกจาก Ride Hailing อีกด้วย
Grab Kitchen ก็เป็นอีกตัวอย่างนึงของ Grab ที่พยายามลดค่าใช้จ่าย
แต่ถ้า Grab ยังต้อง subsidies ในอัตราสูงๆต่อไปก็ไม่เป็นไร
เพราะ price war มันก็ข้อดีอยู่เหมือนกันสำหรับผู้บริโภค
คือทำให้เราจะได้บริการในราคาที่ถูกกว่าความเป็นจริง
(เพราะบริษัทมัน subsidies มาให้แล้ว)
แต่ถ้า price war จบเมื่อไหร่
บริษัทเอาคืนแน่นอนครับ
1
จบ Price War เมื่อไหร่ จะเกิด Winner takes ALL แน่ๆ
โฆษณา