20 ม.ค. 2020 เวลา 15:22 • การเมือง
10. [ ใช้ครุภัณฑ์จนเป็น “ซาก” อาจจะ “พราก” เงินภาษีของประชาชนไปมากกว่า ]
จะ “ได้ซ่อม” หรือ “ได้ใช้” อยู่ที่การบริหารจัดการ
.
จากข้อสังเกตในการจัดทำงบประมาณที่เป็นค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับครุภัณฑ์ในหลายๆ หน่วยรับงบประมาณของรัฐจะพบว่าหน่วยงานส่วนใหญ่มักจะตั้งงบประมาณเพื่อจัดซื้อครุภัณฑ์ไปทดแทนของเดิมเฉพาะที่สิ้นสภาพ หรือหมดอายุการใช้งานจนกลายเป็น “ซาก” ไปแล้วเท่านั้น เช่นในกรณีของกรมชลประทาน ซึ่งเป็นหน่วยงานที่ต้องอาศัยการใช้ เครื่องจักรหนักในการดำเนินภารกิจเป็นจำนวนมาก ก็มีอายุการใช้งานครุภัณฑ์เฉลี่ยอยู่ที่ราวๆ 30 ปีก่อนที่จะถูกตัดจำหน่ายเพื่อจัดซื้อครุภัณฑ์ใหม่เข้าไปทดแทน
.
ซึ่งแนวคิดการบริหารจัดการครุภัณฑ์ในลักษณะนี้ แท้จริงแล้วอาจไม่เป็นวิธีการบริหารจัดการครุภัณฑ์ที่ทำให้เกิดความคุ้มค่าที่สุด เพราะกรมชลประทานยังคงต้องขอตั้งงบประมาณไว้อีกส่วนหนึ่งเพื่อใช้สำหรับการ “ซ่อมบำรุง” ครุภัณฑ์เก่าอยู่เป็นจำนวนมาก ซึ่งแนวทางในการบริหารจัดการครุภัณฑ์ที่ดีและเกิดความคุ้มค่าที่สุดนั้นก็คือ การคำนวณหา “อายุที่ทำให้เกิดความคุ้มค่าที่สุดเชิงเศรษฐศาสตร์ (Optimal Econ-nomic Life)” ของครุภัณฑ์แต่ละชนิด กล่าวคือ การตัดจำหน่ายออกเพื่อจัดซื้อของ ใหม่มาทดแทนครุภัณฑ์เก่า ในขณะที่ครุภัณฑ์นั้นๆ ยังคงอยู่ในช่วงอายุที่มีราคาขายใน ตลาดคุ้มค่ามากกว่าค่าซ่อมบำรุงที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต สำนักงบประมาณจึงควรนำแนวคิดนี้ไปใช้ประกอบการพิจารณางบประมาณให้กับหน่วยรับงบประมาณต่างๆ ในปีงบประมาณถัดๆ ไปด้วย
#อนาคตใหม่ #พรรคอนาคตใหม่ #FutureForwardParty #FWPthailand #30ข้อสังเกตอนาคตใหม่ในการทำงบแผ่นดินปี63
#อย่ากลัวอนาคต #อนาคตเรา #เปลี่ยนปัจจุบัน #เปลี่ยนอนาคต
โฆษณา