ชื่อ The Kop เกี่ยวกับสงครามเมื่อ 200 กว่าปีที่แล้ว อย่างไร ?
1.
พูดถึง the Kop เชื่อว่าแฟนฟุตบอลอังกฤษคงจะคุ้นเคยกับคำนี้ดี
แต่เคยสงสัยไหมครับว่า the Kop หมายถึงแฟนของทีมลิเวอร์พูลได้อย่างไร ?
สำหรับคำอธิบายมันมีจุดเริ่มต้นจากสงครามที่เกิดขึ้นทางตอนใต้ของทวีปแอฟริกาเมื่อประมาณสักสองร้อยปีที่แล้วครับ
สงครามในครั้งนั้น ทุกวันนี้ชาวอังกฤษรู้จักกันในชื่อสงครามบัวร์ (Boer war) ซึ่งเป็นการรบกันระหว่างกองทัพอังกฤษและชาวนาชาวดัชต์
2
คำถามแรกที่ผุดขึ้นมาคือ ทำไมชาวอังกฤษและชาวดัชต์จึงไปรบกันไกลถึงทางตอนใต้ของทวีปแอฟริกา ?
เรื่องราวมันเริ่มต้นก่อนหน้านั้นนานเป็นร้อยปีครับ จะเข้าใจที่มาของสงครามเราต้องย้อนเวลากลับไปเริ่มต้นขึ้นเมื่อชาวยุโรปเริ่มเรียนรู้ที่จะออกเดินเรือไปสำรวจโลกครับ ...
2.
ในช่วงแรกที่ยุโรปเดินทางออกสำรวจโลกนั้น ชาวยุโรปไม่ได้คิดจะบุกหรือไปยึดดินแดนอื่นเป็นหลัก
เรื่องราวมันเกิดจากการที่ชาวยุโรปขณะนั้นคลั่งไคล้เครื่องเทศและพริกไทยมาก แต่ปัญหาคือมีชาวอาหรับและชาวอิตาลีเป็นพ่อค้าคนกลางทำให้ต้องซื้อสินค้าในราคาแพง ยิ่งต่อมากรุงคอนสแตนติโนเปิลล่มสลายลง (ซึ่งวันหลังจะเขียนถึงเรื่องนี้ครับ) การค้าขายผ่านเส้นเดิมซึ่งยากอยู่แล้วยิ่งทำได้ยากขึ้น
สีแดงคือเส้นทางสายไหม สีน้ำเงินคือเส้นทางเครื่องเทศ ภาพจาก wikipedia
ชาวยุโรปเลยพยายามจะแก้ปัญหาด้วยการหาเส้นทางค้าขายใหม่ โดยหวังว่าจะสามารถเดินเรืออ้อมพ่อค้าคนกลางชาวอาหรับไปหาแหล่งเครื่องเทศแถวๆ อินโดนิเซียและอินเดียโดยตรง
แรกทีเดียวเป็นชาวโปรตุเกสที่สามารถเดินเรือลัดเลาะไปจนถึงปลายสุดของทวีปแอฟริกา (แหลมกู๊ดโฮป) ได้ก่อนประเทศอื่น
1
การเดินทางอ้อมปลายแหลมของแอฟริกาโดย บาร์โทโลมิว ดิแอส
ถ้าอ้อมปลายสุดของแอฟริกาได้โอกาสที่จะอ้อมไปอินเดียก็จะมากขึ้น
ต่อมาเมื่อชาวดัตช์เป็นมหาอำนาจทางทะเล บริษัท Dutch East India Company (ชื่อก็บอกอยู่แล้วว่าเป็นบริษัทของดัตช์ที่หวังไปค้าขายกับอินเดียที่อยู่ทางทิศตะวันออก วันหลังจะเขียนถึงบริษัทนี้ครับ) ก็เข้าไปสร้างป้อมไว้ที่ปลายสุดของแหลมกู๊ดโฮป
ซึ่งจริงๆ ก็ไม่ได้หวังจะเข้าไปยึดครองอะไรหรอกครับ แค่ไว้เป็นที่จอดพักเรือเพื่อเติมน้ำจืดและอาหารก่อนจะแล่นเรือต่อเท่านั้น เพราะเป้าหมายหลักของชาวยุโรปคือเครื่องเทศและพริกไทยที่อินโดนิเซียและอินเดีย
แต่ต่อมาจากป้อมเล็กๆ ที่มีชาวดัชต์ประจำอยู่เล็กน้อย ก็เริ่มมีการนำครอบครัว นำเพื่อนย้ายเข้ามาอาศัยมากขึ้นเรื่อยๆ จนเติบโตเป็นชุมชน เป็นเมืองเล็กๆ แล้วก็เป็นเมืองที่หนาแน่นขึ้นมา
1
ชาวดัตช์ที่อพยพมาอาศัยอยู่นี้มีชื่อเรียกว่า บัวร์ (Boer) ซึ่งแปลว่าชาวนาหรือคนเลี้ยงวัว (นามสกุล Bauer ของชาวดัชต์หรือชาวเยอรมันที่เห็นในปัจจุบัน เช่น Jack Bauer หรือ Franz Beckenbauer ก็มีรากร่วมกับคำนี้ และบ่งให้รู้ว่าบรรพบุรุษมีอาชีพเป็นชาวนาหรือคนเลี้ยงวัวมาก่อน)
2
3.
ต่อมาเมื่ออังกฤษเริ่มขยายอำนาจทางทะเลบ้างก็เข้ายึดครองอาณานิคมต่างๆ ของดัตช์ ซึ่งก็รวมไปถึงดินแดนที่อยู่ทางใต้สุดของทวีปแอฟริกาบ้านใหม่ของชาวบัวร์ด้วย
1
จริงๆ อังกฤษก็ไม่ได้สนใจจะไปยึดครองแผ่นดินอะไรของชาวดัชต์หรอกครับ อังกฤษต้องการแค่ป้อมและท่าเรือเพื่อเป็นที่จอดพักเรือเช่นกัน ชาวดัตช์ที่เคยอาศัยอยู่เดิมกับชาวอังกฤษที่เข้าไปอยู่ใหม่จึงอยู่กันไปอย่างไม่มีปัญหาอะไร
1
แต่ต่อมาเมื่อเริ่มมีการอพยพชาวอังกฤษเข้ามามากขึ้นจนพลเมืองอังกฤษเป็นคนส่วนใหญ่และกลายเป็นเมืองของอังกฤษ จึงมีการนำกฎหมายอังกฤษมาบังคับใช้โดยกฎหมายหนึ่งที่สำคัญและมีผลต่อชีวิตของชาวดัตช์ที่อาศัยอยู่เดิมอย่างมากคือ การยกเลิกไม่ให้มีแรงงานทาส
1
หลายสิบปีก่อนที่จะเกิดสงครามบัวร์นั้นอังกฤษได้ออกกฎหมายห้ามซื้อขายทาสและตามมาด้วยการบังคับให้เลิกทาส ซึ่งกฎหมายนี้มีผลไปยังทุกอาณานิคมของประเทศอังกฤษ
1
ชาวบัวร์ที่รู้สึกว่าตัวเองกลายเป็นพลเมืองชั้นสองอยู่แล้วและยังมาถูกสั่งให้เลิกมีแรงงานทาสจึงไม่พอใจ
ชาวบัวร์จึงค่อยๆ อพยพย้ายถิ่นหนีจากชายฝั่งเข้าไปตั้งถิ่นฐานลึกภายในทวีปมากขึ้น แน่นอนครับเมื่อชาวบัวร์รุกไปที่ไหน ชาวพื้นเมืองท้องถิ่นผิวดำที่มีชื่อว่าชาวคอย (Khoi) และชาวซัง (San ปัจจุบันเราเรียกพวกเขารวมกันว่า Khoisan) ก็ต้องร่นหนีไปที่อื่น
4.
แรกๆ กองทัพอังกฤษก็ไม่ได้ไปสนใจมากนักว่าชาวบัวร์จะย้ายไปไหน แต่ต่อมาเมื่อมีการขุดค้นพบเพชรและทองในดินแดนแห่งใหม่ที่ชาวบัวร์ย้ายไป (ที่ได้มาจากการเบียดเบียนชาวพื้นเมืองอีกต่อหนึ่ง) อังกฤษจึงเข้ารุกรานเพื่อที่จะยึดดินแดนนั้น
สงครามระหว่างอังกฤษและชาวดัตช์ที่ชื่อว่า Boer War จึงเกิดขึ้น
Boer War เกิดขึ้นสองครั้งในช่วงเวลาที่ห่างกันไม่นานด้วยมูลเหตุที่คล้ายๆ กัน ซึ่งเราคงจะไม่ไปลงรายละเอียดในสงครามแต่ละครั้งกันนะครับ
และเป็นสงคราม Boer war ครั้งที่ 2 ที่นำไปสู่การเกิดชื่อของ the kop
2
5.
หนึ่งในยุทธศาสตร์ของอังกฤษในการรบครั้งนั้น คือต้องการจะปลดปล่อยเมืองที่ชื่อว่า เลดี้สมิธ (Ladysmith) ออกจากการยึดครองของชาวบัวร์
4
ไม่ไกลจากตัวเมืองมากนักมีเนินเขาสูงอยู่ลูกหนึ่งชื่อว่า Spion kop (สปิออน-คอป) ซึ่งถ้าอังกฤษยึดได้ก็จะทำให้ได้เปรียบในการรบ
2
เนินเขา Spion kop
คำว่า spion คำนี้แปลว่า spy ในภาษาดัชต์ ส่วนคำว่า kop มีรากมาจากภาษาละตินว่า cuppa ซึ่งแต่เดิมจะหมายถึงอ่างน้ำ รวมถึงภาชนะที่คล้ายอ่างทั้งหลาย เช่น ชาม ถ้วย
ในเวลาต่อมาคำว่า cuppa ก็มีความหมายที่กว้างขึ้น คือ อะไรที่มีลักษณะโค้งคล้ายถ้วยที่คว่ำก็สามารถเรียกว่า cuppa ได้หมด คำนี้จึงเป็นรากที่มาของคำว่า cup ที่แปลว่าถ้วยในภาษาอังกฤษ รวมถึง คำว่า copa หรือ coppa ในภาษาอิตาลี เช่น การแข่งฟุตบอลชิงถ้วย Copa América และ coppa italia
2
ถ้วย Copa América
คำว่า cuppa ยังนำไปสู่คำว่า kopp หรือ kopf ที่แปลว่า หัว (เพราะหัวก็จะโค้งมนคล้ายถ้วยคว่ำ) และยังเป็นที่มาของคำว่า cap ที่แปลว่าหมวกแก๊ป, captain และ chief ที่หมายถึงหัวหน้า และอื่นๆอีกหลายคำ
2
และแน่นอนครับ เนินเขาก็สามารถเรียกด้วยคำว่า kopp ด้วยเช่นกัน
Spionkop เป็นจุดยุทธศาสตร์ที่สำคัญเพราะเนินเขาแห่งนี้สูงที่สุดในบริเวณที่แห่งนั้น ทำให้เหมาะแก่การ spy บริเวณรอบๆ
6.
กลางดึกคืนหนึ่งทหารอังกฤษก็ค่อยๆ แอบไต่ขึ้นเนินไปอย่างเงียบ ๆ
แต่ด้วยความที่ไม่ชำนาญในพื้นที่บวกกับความมืดที่ทำให้เห็นพื้นที่โดยรอบไม่ชัด เมื่อขึ้นไปถึงที่ราบจุดหนึ่งก็เข้าใจว่าได้ขึ้นมาถึงบนยอดเขาแล้ว จึงขุดสนามเพลาะเพื่อใช้เป็นหลุมกำบัง แต่ด้วยความที่เนินเขานี้เต็มไปด้วยหินแข็งทำให้หลุมที่ขุดได้มีความตื้นมากเสียจนแทบจะไม่ได้ช่วยบังกระสุนสักเท่าไหร่
เลวร้ายไปกว่านั้นคือ เมื่อพระอาทิตย์ขึ้นในตอนเช้าและหมอกจางลง ทหารอังกฤษถึงได้รู้ว่าจุดที่ตัวเองมาหยุดนั้นยังไม่ใช่ยอดที่สูงที่สุด และเมื่อมองขึ้นไปด้านบนก็พบว่า ทหารบัวร์ได้ขึ้นไปยึดยอดด้านบนของเนินเขาไว้เป็นที่เรียบร้อยแล้ว
2
เมื่อการต่อสู้เริ่มต้นขึ้นกองกำลังของอังกฤษจึงเหมือนเป้านิ่งให้ทหารบัวร์เลือกยิงจากที่สูงได้อย่างสบายๆ
หลังจากพยายามทนฝืนต่อสู้อยู่บนเนินเกือบยี่สิบชั่วโมงสุดท้ายทหารอังกฤษก็ต้องถอนกำลังหนีตายกันลงมาอย่างหมดสภาพ
2
ข่าวความพ่ายแพ้ที่ Spionkopในครั้งนั้นกลายเป็นข่าวใหญ่ของชาวอังกฤษที่ถูกพูดถึงไปนาน จนคำว่า Spionkop กลายเป็นคำที่ชาวอังกฤษคุ้นเคยกันดี พูดถึงคำนี้ครั้งใด ภาพของเนินเขาที่ดูน่าเกรงขามก็จะผุดขึ้นในหัวของชาวอังกฤษ
1
6.
สนามฟุตบอลในอังกฤษยุคนั้นส่วนใหญ่ อัฒจรรย์ฝั่งที่อยู่ด้านหลังของประตูทั้งสองข้าง จะเป็นตั๋วยืนซึ่งมีราคาถูก แต่เน้นขายจำนวนมากๆ
1
เมื่อตั๋วบริเวณนี้มีราคาถูกเราก็พอเดาได้ว่าคนส่วนใหญ่ที่มายืนดูการแข่งขันตรงนี้จะเป็นคนหนุ่มสาววัยรุ่นหรือชนชั้นแรงงานที่มีรายได้ไม่มากนัก
1
ด้วยเหตุนี้บรรยากาศและเสียงเชียร์ที่มาจากอัฒจรรย์หลังประตูจะมีเสียงดังกระหึ่ม และมีพลังกว่าอัฒจรรย์บริเวณอื่นอย่างรู้สึกได้ชัดเจน
วันหนึ่งบก.กีฬาของหนังสือพิมพ์คนหนึ่งชื่อเออร์เนสต์ เอ็ดเวิร์ดส์ (Ernest Edwards) เงยหน้ามองขึ้นไปบนอัฒจันทร์ของสนามฟุตบอลแอนฟิลด์แล้วรู้สึกถึงความน่าเกรงขามของเหล่ากองเชียร์ลิเวอร์พูล เขาจึงเทียบความรู้สึกที่มองเห็นกองเชียร์นี้กับการมองขึ้นไปบนยอดเนิน Spion kop
1
Spion kop ที่แอนฟิลด์
เอ็ดเวิร์ดจึงเขียนว่าจากนี้ไปจุดนี้ (ของอัฒจันทร์) จะเป็นที่รู้จักในชื่อ Spion kop
1
ปรากฎว่าคำนี้ติดตลาด พื้นที่ยืนเชียร์ฟุตบอลด้านหลังของประตูจึงนิยมเรียกกันว่า Spion kop
แต่ Spion kop ในช่วงแรกนั้นไม่ได้ใช่แต่ที่แอนฟิลด์เท่านั้น อัฒจันทร์บริเวณด้านหลังของสนามฟุตบอลอื่นๆ ก็จะถูกเรียกด้วยชื่อ Spion kop เช่นเดียวกัน
เนื่องจากเป็นที่ยอมรับกันทั่วไปว่าในหมู่ Spion kop ทั่วยุโรปแล้วไม่มี Spion kop ที่ไหนจะน่าเกรงขามและทรงพลังเท่า Spion kop แห่งแอนฟิลด์อีกแล้ว
1
สุดท้ายชื่อเรียก Spion kop สนามอื่นๆ จึงค่อยๆ เลือนหายไป เหลือไว้แต่ the Kop แห่งเมือง Liverpool เท่านั้น
1
(ปิดท้ายด้วยโฆษณา)
ชอบประวัติศาสตร์ที่มาของคำศัพท์แบบนี้ อย่าลืมอ่านหนังสือ
ทำไมเราเลี้ยง pig แต่กิน pork และ ทำไมแฮมเบอร์เกอร์จึงไมมีแฮม
สามารถสั่งซื้อหนังสือได้จากลิงก์
อ่านบทความประวัติศาสตร์อื่นๆเพิ่มเติมได้ที่
อ่านบทความวิทยาศาสตร์และการแพทย์ได้ที่
คลิปวีดีโอเกี่ยวกับประวัติศาสตร์
เพิ่งเริ่มทำนะครับ ช้านิดแต่จะมีคลิปใหม่ๆตามมาอีกแน่นอน

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา