22 ม.ค. 2020 เวลา 23:00 • ถ่ายภาพ
29 การจัดองค์ประกอบภาพ มือใหม่ต้องรู้ เอาไปใช้ได้จริง
บทความนี้ผมจะขอเล่าผ่านตัวอย่างภาพถ่ายนะครับ เพื่อความเข้าใจง่าย ๆ เห็นภาพแล้วก็ลองเอาไปใช้ ทำตามได้เลย โดยได้รวบรวมตัวอย่างภาพที่ผู้ถ่ายได้วางองค์ประกอบภาพไว้ได้น่าสนใจ มือใหม่อย่างเราควรศึกษาไว้นะครับ เพราะบางสถานการณ์อาจได้ใช้ประโยชน์จากองค์ประกอบภาพเหล่านี้ได้
29 การจัดองค์ประกอบภาพ มือใหม่ต้องรู้ เอาไปใช้ได้จริง
ซึ่งการจัดองค์ประกอบภาพเป็นเรื่องพื้นฐานที่สำคัญ การจะได้มาของทักษะนี้จะต้องเกิดจากการฝึกฝน ถ่ายบ่อย ๆ ต่อยอดมาจากการสังเกตสิ่งรอบตัว และ ดีไซน์มันออกมาผ่านมุมมองของตนเอง
เรามาดูตัวอย่างทั้ง 29 ภาพกันเพื่อเป็น guideline ในการถ่ายภาพต่อไป
#1 ย้อนแสงหาแสง Flare และ Rim Light เพื่อวางตัวแบบให้มีความโดดเด่นมากยิ่งขึ้น
#2 โครงร่างและฉากหลังแบบ Silhouette เพื่อนำเสนอรูปร่างของตัวแบบให้น่าสนใจ สามารถนำไปเล่าเรื่องราวของภาพได้
#3 กฎ 3 ส่วน แบ่งภาพเป็น 3 ส่วนเพื่อให้ง่ายต่อการดูภาพ
#4 วางภาพให้สมดุล แบ่งภาพซ้าย-ขวา หรือ บน-ล่าง ต้องเท่ากัน
#5 การถ่ายภาพแบบเต็มเฟรม หาสิ่งที่เกี่ยวข้องกันมาประกอบฉาก เพื่อช่วยเสริม เล่าเรื่องราวของภาพมากขึ้น
#6 ออกนอกจุดกึ่งกลาง ให้วาง object อยู่ตรงจุดตัด 9 ช่อง ทำให้ภาพดูมีมิติมากขึ้น
1
#7 Chiaroscuro (ความเปรียบต่างระหว่างแสงและเงา) การจัดองค์ประกอบแบบนี้ช่วยให้สื่ออารมณ์ได้ดี
#8 การวางภาพกลับหัว กลับด้าน เพิ่มความแตกต่าง แปลกใหม่ ช่วยให้คนดูภาพต้องคิดตาม และ หยุดดูได้
#9 ถ่ายเอียงหน่อย ๆ แบบแฟชั่นช่วยเพิ่มมิติของภาพได้
#10 เล่นกับเงา เพิ่มการถ่ายทอดอารมณ์ให้กับภาพถ่ายได้
#11 เงาสะท้อน ในบางสถานการณ์ ก็จะช่วยให้ภาพดูสมบูรณ์ขึ้น
#12 การซ้อนกันเป็น Layer ทำให้ภาพดูมีความลึกลับน่าค้นหา และ ดูยิ่งใหญ่ขึ้น
#13 ลวดลาย และ การซ้ำกันของรูปแบบ เป็นองค์ประกอบภาพง่าย ๆ แต่ทำให้ภาพออกมาสวยงาม
#14 Fibonacci Spirals การจัดองค์ประกอบภาพของศิลปินชื่อดัง ที่มีการจัดองค์กอบแบบ Spira ไล่ระดับจากจุดสนใจกว้าง ๆ ไปหาจุดสนใจที่เล็กที่สุด
#15 ใส่กรอบให้กับภาพช่วยทำให้คนดูโฟกัสจุดสนใจที่เราต้องการนำเสนอได้ง่ายขึ้น
#16 Close up เฉพาะส่วนที่สนใจ เพิ่มจุดสนใจ เน้นเล่าเรื่องราวเฉพาะบางเรื่องที่เราต้องการนำเสนอ
#17 ภาพสะท้อน นอกจากสะท้อนภาพแล้วยังทำให้เกิดความสมดุลของภาพด้วย
#18 เส้นทะแยงมุมที่ตัดผ่านเฟรม
#19 เส้นโค้งจากศูนย์กลาง
#20 การเล่นกับขอบมืดของภาพช่วยทำให้ตัวแบบเป็นจุดสนใจที่เด่นขึ้น
#21 การวางวัตถุแนวตั้งในแนวนอน
#22 การเคลื่อนไหว ทำให้ภาพดูมีชีวิตมากขึ้น
#23 หาความแตกต่างในรูปแบบที่คล้ายคลึงกัน
#24 เส้นทะแยงมุมที่บรรจบกัน
1
#25 เส้นนำสายตา
#26 การเล่าเรื่องให้ต่อเนื่องในภาพเดียวผ่านการจัดองค์ประกอบภาพ
#27 วางจุดสนใจไว้ที่จุดต่ำสุดในเฟรมภาพ
#28 การวางจุดสนใจไว้กลางภาพ และ พื้นหลังต้องไม่รก
#29 วางองค์ประกอบโดยเล่นกับระยะการโฟกัส หน้า-หลัง
ทั้งหมดนี้เป็นการจัดองค์ประกอบภาพที่พวกเราได้รวบรวมจากตัวอย่างภาพที่เราเห็นกันทั่วไป ลองเอาไปประยุกต์ใช้กันดูได้นะครับ ซึ่งการจัดองค์ประกอบภาพเป็นแค่เพียงส่วนเล็ก ๆ ที่จะช่วยเสริมให้ภาพดูมีมิติมากขึ้น
แต่สิ่งที่สำคัญที่ต้องนึกถึงก่อนจัดองค์ประกอบภาพ คือ เราต้องเข้าใจสภาพแวดล้อม สถานการณ์ ณ ตรงที่เราถ่ายอยู่ก่อนว่า สามารถจัดองค์ประกอบแบบที่เราต้องการได้หรือไม่ ถ้าไม่ได้อย่าฝืน ! เพราะองค์ประกอบภาพที่ฝืนมันจะทำให้ลดความน่าสนใจของภาพถ่ายได้เช่นกัน
หากเพื่อน ๆ มีคำถามสงสัยตรงไหนทิ้งคอมเมนต์ถามกันเข้ามาได้เลยนะครับ ผมจะเข้ามาตอบให้แน่นอนครับ
ถ้าหากบทความนี้พอจะเป็นประโยชน์กับเพื่อน ๆ ฝากกดแชร์และติดตามเป็นกำลังให้พวกเราด้วยนะครับ
แล้วเรื่องกล้องและการถ่ายภาพจะไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป " Camera So Easy เรื่องกล้องเรื่องง่าย "
โฆษณา