21 ม.ค. 2020 เวลา 15:11 • สุขภาพ
ชะพลู หรือ ช้าพลู
(ชื่อวิทยาศาสตร์:
Piper sarmentosum Roxb.)
เป็นพืชในวงศ์ Piperaceae
บางคนมักสับสนกับพลู แต่ใบรสไม่จัดเท่าพลูและมีขนาดเล็กกว่า
ชะพลูเป็นพันธุ์ไม้ที่ชอบพื้นที่ลุ่ม มีความชื้น
การขยายพันธุ์ด้วยวิธีปักชำ
ซึ่งทำได้ง่ายๆโดยการเลือกกิ่งที่มีใบอ่อนและใบแก่ เด็ดใบแก่ออกและนำไปปักชำได้เลยค่ะ
ลักษณะของใบชะพลู
ชะพลูมีชื่อพื้นเมืองอื่น ๆ อีกคือทางภาคเหนือเรียกว่า "ผักปูนา" "ผักพลูนก" "พลูลิง" "ปูลิง" "ปูลิงนก" ทางภาคกลาง เรียกว่า "ช้าพลู" ทางภาคอีสานเรียกว่า "ผักแค" "ผักปูลิง" "ผักนางเลิด" "ผักอีเลิด" และ ทางภาคใต้เรียกว่า "นมวา"
ลักษณะของใบชะพลู
ใบมีลักษณะคล้ายรูปหัวใจรูปทรงคล้ายกับใบพลู แต่มีขนาดใบเล็กกว่า
ใบมีสีเขียวเข้มเป็นใบเดี่ยว รสชาติเผ็ดอ่อน ๆ
ดอกออกบริเวณปลายยอด มีสีขาวอัดแน่นกันเป็นทรงกระบอกขนาดเล็ก ลักษณะคล้ายดีปลีแต่สั้นกว่าชะพลู
ลักษณะของดอกชะพลู
จากข้อมูลพบว่าเป็นพืชในเขตร้อนของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ทางตะวันออกเฉียงเหนือของอินเดีย และตอนใต้ของจีน และไกลถึงหมู่เกาะอันดามัน
จึงหาได้ไม่ยากในบ้านเรานะคะ
อันนี้นำมาปั่นผสมกับพืชสมุนไพรชนิดอื่น ทำน้ำคลอโรฟิลล์ค่ะ
ซึ่งประโยชน์ของน้ำคลอโรฟิลล์เคยนำมาเสนอในอาหารเป็นยา แล้วค่ะ ย้อนดูได้นะคะ
ในใบชะพลูมีสารบีตา-แคโรทีนสูงมาก
ใบนำมารับประทานกับเมี่ยงคำ นำมาแกงใส่กะทิ ข้าวยำ ห่อหมก หรือเป็นผักจิ้มน้ำพริก
ทางภาคใต้ใส่ในแกงกะทิหอยขม แกงคั่วปู
ในจังหวัดจันทบุรีใส่ในแกงป่าปลา
ในใบมีออกซาเลทสูง จึงไม่ควรรับประทานมากเป็นประจำ
สรรพคุณทางยาของชะพลู
ดอกทำให้เสมหะแห้ง ช่วยขับลมในลำไส้
บำรุงธาตุ
รากขับเสมหะให้ออกมาทางระบบขับถ่าย ขับลมในลำไส้ ทำให้เสมหะแห้ง ต้นขับเสมหะในทรวงอก
ใบมีรสเผ็ดร้อน ทำให้เจริญอาหาร ขับเสมหะ
ใบ ต้น และดอกใช้ขับเสมหะ
รากใช้ขับลม น้ำต้มทั้งต้นช่วยลดน้ำตาลในเลือดของกระต่ายที่เป็นเบาหวานได้
ประโยชน์มากมายเลยนะคะ
อยากให้เพื่อน ทานอาหารให้เป็นยากันค่ะ จะได้ไม่ต้องทานยาเป็นอาหารกัน
หามาปลูกติดบ้านกันไว้นะคะ ปลูกใส่ในกระถางก็ได้ค่ะ สำหรับเพื่อนที่บ้านมีพื้นที่น้อย หรือพักอยู่คอนโด
ลักษณะของต้นชะพลู
สุขภาพดีไม่มีขายอยากให้ทุกคนดูแลสุขภาพตัวเองและคนที่คุณรัก
โฆษณา