22 ม.ค. 2020 เวลา 04:03 • ธุรกิจ
การ copy ไม่เคยทำให้ใครประสบความสำเร็จ(จริงหรือ ???)
ถ้าพูดถึงการ copy ก็ต้องพี่จีนเลย
มีหนังสือเล่มนึงที่เขียนโดยนาย Kai Lee Fu ที่ชื่อ AI superpowers
เล่มนี้ถือเป็นหนังสือเกี่ยวกับประเทศจีนที่ขึ้นหิ้งอีกเล่มนึง
และนาย Kai Lee Fu นี่ก็ถือเป็นปรมาจารย์เกี่ยวกับจีนคนนึงเหมือนกัน
นี่คือนายไค ฟู ลี และ AI superpowers
เพราะเคยเป็น CEO ของ Google ที่เข้าไปในจีนและพ่ายแพ้ยับเยินกลับมา
(อ้าวววววว~วว)
ในบทที่ 2 ของหนังสือเล่มนี้ชื่อตอนว่า Copy Cat in Coliseum
หรือยอดนักเลียนแบบในสนามรบ
บทนี้พูดถึงนาย Wang Xing(หวัง ชิง) สุดยอดนัก copy ในตำนาน
ที่ copy ทุกอย่างของอเมริกามาแบบหน้าด้านๆสุด
นายหวังชิง Copy Master ในตำนานยิ่งกว่า Copy นินจาคาคาชิ
ครั้งที่ 1 คือในปี 2003
เมื่อครั้งที่ Friendster ออกมา
นายหวัง ชิงก็ copy เอาไอเดียไป
แต่ครั้งนั้นล้มเหลว
โดยนายหวังบอกว่า เพราะ user interface มันน่าเกลียดมาก
(ครั้งนั้นเค้า copy แค่ไอเดีย แต่ไม่ได้ copy มาทั้งดุ้น)
ครั้งที่ 2 คือเมื่อ 2 ปีต่อมา(2005)
เมื่อ Facebook ได้รับความนิยม
เค้าก็ copy ไปโดยใช้ชื่อว่า Xiaonei
และคราวนี้นายหวัง ชิงก็ลอก Facebook มาแทบจะทุกบรรทัด
แต่มันโตเร็วเกินไปจนนายหวังรับมือไม่ทัน
จึงจำเป็นต้องขายออกไปก่อนเวลาอันควร
และถูกเปลี่ยนชื่อเป็น Renren(เหรินเหริน)แบบที่เรารู้จักทุกวันนี้
นี่ไม่ใช่ FB ภาษาจีน แต่นี่คือเหรินเหริน
ครั้งที่ 3 ก็เกิดขึ้นในอีก 2 ปีต่อมาอีก(2007)
เมื่อนายหวังไป copy Twitter โดยใช้ชื่อว่า Fanfou
มันประสบความสำเร็จอย่างรวดเร็ว
แต่ก็ถูกปิดไปด้วยนโยบายทางความมั่นคงของประเทศจีน
นี่ก็ไม่ใช่ Twitter แต่นี่คือ Fanfou ของนายหวังชิง
หลังจากนั้นอีก 3 ปี
คือครั้งที่ 4ในปี 2010
นายหวังก็ไป copy Groupon
มาเป็น Meituan(เหม่ยถวน)
ธุรกิจขนส่งอาหาร(และส่งทุกๆอย่าง)ที่เอาชนะ Alibaba ในธุรกิจ Food Delivery ได้
ตอนนี้มีมูลค่า 1.5 ล้านล้านบาท
มากกว่าทุกบริษัทในตลาดหลักทรัพย์ประเทศไทยด้วยซ้ำ
เหม่ยถวน สุดยอดผลงานจากปรมาจารย์ copy หวังชิง !!!
สำหรับ Startup ใน Silicon Valley แล้ว
นายหวัง ชิงอาจจะถือเป็นความน่าละลายของวงการ
แต่สำหรับนักธุรกิจแล้ว
ใครเลยจะกล้าบอกว่านายหวังไม่ประสบความสำเร็จได้บ้าง
ดังนั้นที่เคยบอกว่าการ copy อะไรใครไปจะไม่ประสบความสำเร็จ
อาจจะไม่เป็นจริงแล้วก็ได้
แต่ที่มากกว่าการ copy เอาไปทำดื้อๆ
เบื้องหลังมันคือการต้องพยายามดิ้นรนปรับตัวให้เข้ากับท้องถิ่นนั้นๆ
การพยายามแข่งขันด้านราคาแม้เพียงสักหยวนเดียวกับนัก copy คนอื่นนับร้อยๆพันๆคน
การเผาเงินอย่างมหาศาลเพื่อให้ได้ User มา
1
การแจ้งจับ CEO คู่แข่งก็มีมาแล้ว
ฯลฯ
นั่นจึงเปลี่ยนให้นัก copy ธรรมดาทั่วๆไป
กลายเป็น Gladiator ใน Coliseum
ผู้แข็งแกร่งเท่านั้นจึงจะอยู่รอดได้
ดังนั้นแม้นายหวัง ชิง
จะดูเผินๆเหมือนแค่ copy ไอเดียใครก็ได้ที่ประสบความสำเร็จ
แต่ความเป็นจริงแล้วเค้าคือนักรบที่ยืนอยู่ในสมรภูมิที่เค้าเข้าแข่งขันแล้วชนะครั้งแล้วครั้งเล่า
เค้ายืนอยู่ท่ามกลางศพนัก copy มากมาย
2
ผู้ชนะที่ยืนอยู่ท่ามกลางศพนับพัน
ว่ากันว่าบริษัทอย่าง Meituan ในจีนมีถึง 6,000 บริษัทเลยทีเดียว !!!
1
เมื่อคุณคิด Application ดีๆออกมาได้
วันที่คุณมันสำเร็จแล้ววางจำหน่ายใน App Store
มันไม่ใช่วันที่คุณประสบความสำเร็จ
แต่มันคือวันที่คุณประกาศสงคราม
ไอเดียที่ดีของคุณคือจุดเริ่มต้นของสงคราม
สำหรับอเมริกา
วัฒนธรรม Startup เป็นแบบ mission-driven
คือมีเป้าหมายเป็นตัวขับเคลื่อน
อยากจะเปลี่ยนโลก
ด้วยการพัฒนาสร้าง facebook, Uber หรือรถยนต์ไร้คนขับ
แต่สำหรับจีน
วัฒนธรรม Startup จะเป็นแบบ market-driven
คือมีเงินเป็นตัวขับเคลื่อน
ทำทุกอย่างเพื่อเงิน
ด้วยการ copy, การตัดราคา, แม้แต่การแทงข้างหลังคู่แข่ง
สำหรับจีน เงินคือทุกสิ่งครับ
มาถึงตรงนี้น่าสนใจดีนะครับ
ว่าอะไรคือความสำเร็จของเรากันแน่
ถ้าเราอยากได้เงิน
เราจะพยายามทำทุกอย่างเพื่อให้ได้เงินมา
ไม่ว่าจะดูน่าขายหน้าหรือน่าอับอายแค่ไหนก็ตาม
หรือเราจะต้องทำเงินให้ได้อย่างสวยงาม
แม้อาจจะประสบความสำเร็จยากกว่าก็ตาม
เพื่อเอาชนะให้ได้ คุณจะลง Fail หรือ Success ครับ
สำหรับสนามรบของธุรกิจ
ผู้ที่แพ้ไม่เคยถูกจารึกชื่อ
มีแต่ผู้ที่ประสบความสำเร็จเท่านั้นที่ได้รับการเล่าขานต่อๆกันมา
ไม่ว่าจะเป็นในแง่ไหนก็ตาม
นายหวัง ชิง เองก็เป็นคนที่ได้รับการจารึกชื่อในฐานะผู้ประสบความสำเร็จ
และนัก copy ที่น่าอับอายแห่งวงการ Startup
นี่แหละครับ Copy Cat in Coliseum
คุณล่ะครับ
ชอบแบบไหน ???
อยากเป็นแบบไหน ???
อยากได้เงินแบบไหน ???
mission-driven หรือ market-driven กันครับ
โฆษณา