22 ม.ค. 2020 เวลา 04:09
10 พฤติกรรมการทำงานที่ไม่ควรทำในชีวิตประจำวัน
เราใช้เวลาทำหลายสิ่งหลายอย่างในชีวิตประจำวัน หากเป็นเรื่องสำคัญ ๆ เรามักใช้เวลาไตร่ตรอง ส่วนเรื่องที่เรารู้สึกว่าเป็นเรื่องเล็ก ๆ น้อย ๆ เราแทบไม่ได้คิดอะไรและทำไปโดยอัตโนมัติ โดยหารู้ไม่ว่า เรื่องเล็ก ๆ น้อย ๆในชีวิตประจำวัน ทั้งที่บ้านและชีวิตทำงานนี้ อาจทำให้เวลาในชีวิตถูกใช้ไปอย่างไร้ประสิทธิภาพ หรือถึงขั้นเสียสุขภาพ โดยที่เราไม่รู้ตัวด้วยซ้ำไป
1
เชื่อเถอะว่า ต้องมีข้อสองข้อบ้างล่ะ ที่คุณหมดเวลาไปกับ พฤติกรรมการทำงาน เหล่านี้อย่างเปล่าประโยชน์ ใครไม่โดนเลยสักข้อนี่ยอมใจจริง ๆ มาดูวิธีแก้ ก่อนที่มันจะกลายเป็นนิสัยติดตัวกัน
1. เริ่มทำงานชิ้นง่ายที่สุดก่อน
คุณควรทำงานชิ้นยากที่สุดก่อน มีงานวิจัยพบว่า ในแต่ละชั่วโมงที่เวลาผ่านไป พลังความมุ่งมั่นในการทำงานจะลดลงตามไปด้วย ดังนั้น การทำงานที่ต้องใช้สมาธิมากๆในช่วงเช้า จึงเป็นเรื่องที่สมเหตุสมผล เพราะเป็นช่วงที่เรายังมีพลังเหลือเฟือ อีกเหตุผลหนึ่งคือ เราไม่มีวันรู้เลยว่า จะมีงานอะไรแทรกขึ้นมา และทำให้เราต้องเสียพลังไปกับงานแทรกนั้นหรือไม่อย่างไร
1
2. เช็คอีเมลตลอดเวลา
คุณคือคนที่เห็นตัวเลขแจ้งจำนวนเมลที่ยังไม่ได้อ่านแล้วหงุดหงิด ต้องกดอ่านโดยเร็วหรือเปล่า สำหรับบางคนนั้น การพยายามไม่เหลือบดูปุ่มแจ้งเตือนเมลใหม่ในอินบ็อกซ์ ถือเป็นเรื่องยากเกินห้ามใจ
1
มีงานวิจัยที่เสนอว่า การสลับกันไปมา ระหว่างการทำงานและการเช็คอีเมลที่เข้ามาใหม่ ใช้เวลามากกว่าการทำงานทีละชิ้นถึง 40% ถึงแม้คุณจะรู้สึกว่า คุณกำลังทำงานอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ด้วยการทำงานหลายชิ้นในคราวเดียวกัน แต่แท้จริงแล้วไม่ใช่เลย
การแก้ปัญหาง่าย ๆ ได้แก่ การปิดเสียงโทรศัพท์ เพื่อให้คุณไม่ต้องได้ยินเสียงเตือนเวลามีอีเมลเข้ามา หรือปิดอีเมลที่หน้าจอ เมื่อคุณกำลังทำงานสำคัญอยู่ และหาเวลาเช็คและตอบเมล์รวดเดียว
3. วางโทรศัพท์ไว้บนโต๊ะทำงาน
ใครบ้างจะไม่วางมือถือไว้ใกล้มือ แต่การเปิดโทรศัพท์ให้เป็นโหมดสั่น หรือปิดโทรศัพท์ ก็ยังไม่ควรทำด้วยซ้ำไป มีงานวิจัยที่แนะว่า เพียงแค่คุณวางโทรศัพท์มือถือไว้บนโต๊ะ ก็ทำให้สมองในส่วนของการรับรู้ถูกรบกวน ถึงแม้ว่าคุณจะไม่ได้รู้สึกถึงอิทธิพลของมันก็ตาม
วิธีแก้ปัญหาที่ดีที่สุด คือการเก็บโทรศัพท์ไว้ให้พ้นสายตาโดยสิ้นเชิง ไหวไหม ตอบ!
1
4. นั่งทำงานติดโต๊ะทั้งวัน
งานออฟฟิศอาจไม่ทำให้เราได้ยืดเส้นยืดสายมากนัก แต่เราก็ไม่จำเป็นต้องลุกออกจากโต๊ะไปบิดขี้เกียจครั้งละเป็นชั่วโมง มีงานวิจัยที่บอกว่า แม้เราจะลุกจากโต๊ะ และขยับร่างกายเพียงครั้งละไม่กี่นาที แต่หากทำหลายๆครั้งต่อวัน ก็แปลว่าเราได้ช่วยให้สุขภาพโดยรวมดีขึ้นแล้ว
มีงานวิจัยเมื่อไม่นานมานี้ พบว่าคนที่ขยับตัวให้กล้ามเนื้อได้ผ่อนคลายเป็นเวลารวมกัน 1 ชั่วโมงต่อวัน อาจมีความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตด้วยโรคต่าง ๆ น้อยกว่าคนที่ไม่ทำอะไรเลย ดังนั้น ไม่ว่าคุณจะเหยียดแขนเหยียดขาครั้งละ 5 นาที หรือทำรวมกันในคราวเดียวก็ได้
5. จ้องหน้าจอครั้งละหลายชั่วโมง
การจ้องหน้าจอคอมพิวเตอร์ทั้งวัน ทำให้สายตาอ่อนล้า เกิดอาการตาแห้งและพร่า จึงมีคำแนะนำให้หันมาใช้กฎ 20-20-20 โดยทุก 20 นาที ให้หันไปมองสิ่งที่อยู่ไกลออกไป 20 ฟุตอย่างน้อย 20 วินาที
6. รอจนบ่ายคล้อยถึงพักเบรกจากงาน
ให้พักในช่วงสายแทน มีงานวิจัยที่บอกว่า ยิ่งเราทำงานยาวนานมากเท่าไหร่ก่อนพักเบรก การพักเบรกนั้นยิ่งมีประโยชน์น้อยลงเท่านั้น เราควรพักเบรกในช่วงต้นของวัน เพื่อเติมพลังงาน สมาธิ หรือแรงกระตุ้น
งานวิจัยชิ้นเดียวกันนี้พบด้วยว่า เราไม่จำเป็นต้องทำกิจกรรมที่ไม่เกี่ยวกับงานในช่วงเบรก แต่ให้ทำอะไรก็ได้ที่อยากทำและสนุกกับมัน การทำงานที่คุณตื่นเต้นในช่วงพัก อาจทำให้คุณฟื้นจากการเหนื่อยล้าได้มากกว่าการนั่งไถหน้าจออ่านโซเชียลมีเดียเสียอีก
1
7. ฟังเพลงขณะทำงานที่ใช้สมาธิ
เราอาจรู้สึกว่าทำงานได้เพิ่มขึ้น เมื่อฟังเพลงขณะทำงานที่ต้องใช้สมาธิ แต่แท้จริงแล้วอาจไม่เป็นเช่นนั้น
มีงานวิจัยที่พบว่า พฤติกรรมการทำงาน ที่ต้องใช้สมาธิสูง เช่น การอ่านหนังสือ หรือการเขียนหนังสือ ถูกรบกวนได้ง่ายเมื่อคุณฟังเพลงไปด้วย มีข้อยกเว้นคือ เมื่อคุณต้องทำงานที่ต้องทำซ้ำ ๆ หรือเป็นงานเดิม ๆ เช่น ขับรถเป็นเวลานาน ๆ ในกรณีนี้ การฟังเพลงจะช่วยให้คุณสดชื่นขึ้น
ถ้าจะให้ดี เราควรฟังเพลงประมาณ 10 – 15 นาทีก่อนเริ่มงานที่ต้องใช้สมาธิ เพราะจะทำให้คุณอารมณ์ดีและผ่อนคลาย
1
8. กินอาหารที่ดูจะมีประโยชน์ แต่จริงๆแล้วไม่ใช่เลย
อย่ากินอาหารเพียงเพราะทำตามกระแส ให้หาข้อเท็จจริงเกี่ยวกับอาหารที่กิน รายการอาหารที่เราคิดว่าดีต่อร่างกาย จริงๆแล้วอาจแย่สำหรับเรา และรายการอาหารที่ดูแย่สำหรับเรา จริงๆแล้วมันอาจดีก็ได้ ยกตัวอย่าง เช่น น้ำผลไม้กล่อง และชาไข่มุกอาจดูมีประโยชน์ แต่แท้จริงแล้ว เต็มไปด้วยน้ำตาลและแคลอรี ในขณะเดียวกัน คนคิดว่ากินไข่มีคอเลสเตอรอลสูง ซึ่งจริง ๆแล้ว การหลีกเลี่ยงการกินไข่ เหมาะกับบางคนเท่านั้น
1
9. การไถหน้าจอโซเชียลมีเดียอย่างไร้จุดหมาย
ข้อนี้ใครไม่โดนยกมือขึ้น!
นักวิทยาศาสตร์กล่าวไว้ว่า การใช้เฟซบุ๊ก (หรือโซเชียลมีเดียอื่น ๆ) ทำได้สองวิธี คือแบบทางตรง กับแบบทางอ้อม การใช้แบบทางตรง เป็นการแลกเปลี่ยนข้อมูลโดยตรงกับผู้อื่น เช่น การโพสต์สเตตัสอัพเดท และการคอมเมนต์ในโพสต์ของคนอื่น เป็นต้น แต่การใช้แบบทางอ้อม เป็นการบริโภคข้อมูลข่าวสาร เช่น การไถหน้าจอเพื่ออ่านนิวส์ฟีด
เราส่วนใหญ่ใช้เวลาเกือบทั้งหมดในการใช้เฟซบุ๊กทางอ้อม แต่มีงานวิจัยชิ้นหนึ่งที่แนะนำว่า การเล่นเฟซบุ๊กแบบทางอ้อม ทำให้เรารู้สึกแย่ลง เป็นเพราะเราอาจรู้สึกอิจฉาคนอื่นที่ใช้ชีวิตอย่างหรูหรา และโพสต์ให้ทุกคนได้เห็น ดังนั้น แทนที่จะใช้เฟซบุ๊กเพื่ออ่านข้อมูลอย่างเดียว ให้ลองไปเน้นใช้เพื่อการสื่อสารถึงเพื่อนเก่า หรือคอมเมนต์รูปครอบครัวสุขสันต์ของเพื่อนแทน
10. นอนดึกเกินไป
การไม่เข้านอนในเวลาที่เหมาะสม แต่ง่วนทำกิจกรรมที่ไม่มีเหตุผลเพียงพอให้คุณอดนอน เช่น คุณเริ่มติดนิสัยทู่ซี้ดูซีรีย์ที่ไม่น่าติดตามเอพิโสดแล้วเอพิโสดเล่า หรือนั่งไถหน้าจอมือถืออย่างไร้จุดหมาย ไม่ใช่เรื่องเล็กน้อย แต่เป็นเรื่องอันตรายต่อร่างกาย มีรายงานกล่าวถึงการอดนอน ว่ามีอันตรายพอๆกับการสูบบุหรี่เลยทีเดียว ดังนั้น จึงควรปิดโทรทัศน์ โทรศัพท์มือถือ และเตรียมตัวเข้านอน แล้วคุณจะตื่นนอนในวันรุ่งขึ้นอย่างแจ่มใส
1
โฆษณา