Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
ผมเป็นวิศวกรการบิน - I Am Aerospace Engineer
•
ติดตาม
22 ม.ค. 2020 เวลา 13:48 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
ปัญหา PM 2.5 กับอุตสาหกรรมการบินและอวกาศ
หลายวันมานี้ ประเทศไทยต้องเผชิญกับปัญหาใหญ่ระดับชาติที่กลับมาราวีพวกเราอีกครั้ง นั่นก็คือปัญหาอนุภาคฝุ่นละอองขนาดเล็ก หรือที่เรารู้จักกันดีในชื่อ PM 2.5 ที่เป็นอันตรายอย่างมากต่อสุขภาพของพวกเราทุก ๆ คน
เกร็ดความรู้ >>> PM ย่อมากจาก Particulate Matter หมายถึงอนุภาคของสสารที่มีขนาดเล็ก ส่วน PM 2.5 หมายถึงอนุภาคที่มีขนาดเฉลี่ยประมาณ 2.5 ไมโครเมตร หรือประมาณ 1 ใน 25 ของเส้นผ่านศูนย์กลางของเส้นผมของมนุษย์ครับ
ในปี 2556 องค์การอนามัยโลก หรือ WHO (ใคร??? #เล่นมุก) ได้จำแนกให้ PM 2.5 เป็นสารก่อมะเร็งกลุ่มที่ 1เพราะเป็นสาเหตุให้ 1 ใน 8 ของประชากรโลกต้องเสียชีวิตก่อนวัยอันควร
เป็นที่ทราบกันดี ปัญหา PM 2.5 นั้น มีสาเหตุหลัก ๆ ส่วนหนึ่งมาจากการเผาไหม้ที่ไม่สมบูรณ์ ไม่ว่าจะเป็นจากโรงงานอุตสาหกรรม, โรงไฟฟ้า, ยานพาหนะ, หรือการเผาในที่โล่งในภาคการเกษตร และภาคครัวเรือน
แน่นอนว่าอุตสาหกรรมการบินและอวกาศ เป็นอีกหนึ่งภาคอุตสาหกรรม ที่มีส่วนในการปล่อย PM 2.5 สู่ชั้นบรรยากาศเนื่องจากเครื่องบินในปัจจุบัน ยังคงใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลเป็นแหล่งพลังงานหลัก ซึ่งการเผาไหม้ที่ไม่สมบูรณ์ของเชื้อเพลิงฟอสซิลนั้น ทำให้เกิดมลพิษต่าง ๆ มากมาย เช่น ออกไซด์ของไนโตรเจน (NOx) ซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (SO2) รวมถึง PM 2.5 อีกด้วย
ในปี 2019 องค์กรการบินพลเรือนระหว่างประเทศ หรือ International Civil Aviation Organization (ICAO) ได้เผยแพร่งานวิจัย ชื่อว่า “Environmental Trends in Aviation to 2050” มีเนื้อหาเกี่ยวกับการคาดการณ์ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมของอุตสาหกรรมการบินในด้านต่าง ๆ เช่น เสียงรบกวน การใช้เชื้อเพลิง การปล่อยก๊าซพิษ และการปล่อยอนุภาคฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM) ในระยะยาว ไปจนถึงปี ค.ศ. 2050 หรือ พ.ศ. 2593 ครับ
ในที่นี้ ผมจะขอกล่าวถึงเฉพาะส่วนที่เป็นการปล่อย PM เท่านั้นนะครับ
งานวิจัยระบุว่าในช่วงเวลาตั้งแต่ปี 2553 ถึง 2593 การปล่อย PM จากภาคการบินระหว่างประเทศรวมทั้งโลก จะมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง จากข้อมูลในปี 2558 ภาคการบินระหว่างประเทศได้ปล่อย PM สู่บรรยากาศในปริมาณที่สูงถึง 1,243 ตัน และจากการคาดการ หากเทคโนโลยีทางด้านการบินไม่มีการพัฒนาในอนาคต ในปี 2588 การปล่อย PM ของภาคการบินระหว่างประเทศอาจพุ่งสูงถึง 3,572 ตัน ซึ่งสูงขึ้นกว่าปี 2558 เกือบ ๆ สามเท่าตัว
แค่เห็นตัวเลขนี้ ผมก็แทบหายใจไม่ออกแล้ว
แต่ตัวเลข 3,572 ตัน ของภาคการบินระหว่างประเทศรวมทั้งโลก (ย้ำ) ในปี 2588 นั้น คิดเป็นเพียงแค่ 1% ของปริมาณ PM 2.5 ที่เกิดจากสาเหตุหลักอื่น ๆ ในประเทศไทยในปัจจุบันรวมกัน ซึ่งก็คือ 357,000 ตัน #โอ้มายก้อด
ดังนั้น ผมจึงขอสรุปว่าการบินระหว่างประเทศ มีส่วนทำให้เกิดปัญหา PM 2.5 ในสัดส่วนที่น้อยมาก ๆ เมื่อเทียบกับสาเหตุหลักอื่น ๆ ที่เราพบในปัจจุบัน
อย่างไรก็ตาม แม้ว่าอุตสาหกรรมการบินและอวกาศจะไม่ใช่ปัจจัยหลักที่ทำให้เกิดปัญหา PM 2.5 แต่วิศวกรการบินทั่วโลก ต่างตระหนักถึงความสำคัญของการป้องกันไม่ให้เกิดมลพิษทางอากาศ โดยการตั้งใจพัฒนาเครื่องยนต์ของเครื่องบินให้มีประสิทธิภาพที่สูงขึ้น และปล่อยไอเสียให้น้อยลง
ยิ่งไปกว่านั้น ในปัจจุบัน ได้มีการทดลองและพัฒนาเครื่องบินรูปแบบใหม่ ที่ใช้พลังงานไฟฟ้า แทนการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิล หากสำเร็จปัญหาสิ่งแวดล้อมที่เกิดจากอุตสาหกรรมการบินและอวกาศจะลดลงอย่างมาก และทำให้คุณภาพชีวิตของทุก ๆ คนบนโลกพัฒนาไปในทางที่ดีขึ้น
สุดท้ายนี้ ผมขอฝากความห่วงใย ถึงทุก ๆ คน ให้ดูแลรักษาสุขภาพ ออกไปไหนก็อย่าลืมใส่หน้ากากที่สามารถกรอง PM 2.5 ได้ด้วยนะครับ แล้วพบกันใหม่บทความหน้าครับ ^^
ขอขอบคุณแหล่งข้อมูลที่มีประโยชน์
https://thestandard.co/pm-2-5-environmental-nano-pollutants/
https://www.icao.int/environmental-protection/Documents/EnvironmentalReports/2019/ENVReport2019_pg17-23.pdf
นอกจากทาง Blockdit แล้ว อย่าลืมติดตามผมทาง Facebook ในลิงค์ด้านล่างนี้ กันด้วยนะครับ
facebook.com
ผมเป็นวิศวกรการบิน - I Am Aerospace Engineer
ผมเป็นวิศวกรการบิน - I Am Aerospace Engineer. 54 likes · 57 talking about this. วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และ ข่าว ที่เกี่ยวข้องกับวิศวกรรมการบินและอวกาศ
บันทึก
5
2
2
5
2
2
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย