24 ม.ค. 2020 เวลา 03:00 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
วิทยาศาสตร์ของการตด!! ทำไมกินถั่วแล้วถึงตดบ่อยกว่าเดิม?!!💩
การตดหรือการผายลมนั้นเป็นเรื่องปกติที่ทุกคนต้องเคยทำหรือแอบทำในบางสถานการ์ณ ซึ่งระดับเสียงและกลิ่นนั้นก็ต่างกันออกไป
โดยเฉลี่ยแล้วคนเราตดวันละ15ครั้ง ตราบใดที่เรายังกินอาหารก็ต้องมีการตด เนื่องจากการตดเป็นผลพวงของกระบวนการย่อยอาหารในลำไส้ โดยตดนั้น99%เป็นแก๊สไนโตรเจน ออกซิเจน คาร์บอนไดออกไซด์ ไฮโดรเจน และมีเทน
แล้วแก๊สที่กลายมาเป็นตดนั้นมาจากไหนกัน? แน่นอนว่าไม่ได้มาจากการหายใจเพราะเป็นคนละระบบกันกับการย่อยอาหาร ในการกินอาหารนั้นนอกจากคนเราจะตักหรือหยิบอาหารเข้าปากก็มีการกลืนอากาศเข้าไปด้วย, การที่ในลำไส้เล็กของเรามีแบคทีเรียเจริญเติบโตอยู่มากมายทำให้เกิดการสร้างแก๊สได้ และคาร์โบไฮเดรตบางชนิดที่ไม่สามารถย่อยได้หมดโดยเอนไซม์ในลำไส้เล็กทำให้เมื่อเดินทางไปถึงลำไส้ใหญ่ก็จะถูกแบคทีเรียทำการเปลี่ยนบางส่วนของคาร์โบไฮเดรตที่เหลือเป็นไฮโดรเจนและคาร์บอนไดออกไซด์
เมื่อเกิดแก๊สทั้งหลายขึ้นในลำไส้จากกระบวนการย่อยอาหารแล้ว ร่างกายก็ต้องหาทางปลดปล่อยแก๊สนี้ออกไป บางส่วนสามารถดูดซับไปโดยร่างกายได้ แต่เมื่อแก๊สรวมตัวกันมากขึ้นและชักจะมากเกินกว่าจะดูดซับไหวแก๊สเหล่านี้ก็ต้องหาทางออกทางอื่น ซึ่งทางที่ใกล้ที่สุดก็คือก้นของเรานั่นเอง ปู้ดดด.... และนี่ก็คือการเดินทางของตดในร่างกายมนุษย์ ซึ่งสัตว์อื่นๆก็มีกระบวนการคล้ายๆกัน
แล้วทำไมเวลากินถั่วเข้าไปถึงตดได้ตดดี? จากที่กล่าวไปแล้วว่าคาร์โบไฮเดรตบางชนิดนั้นเอนไซม์ในลำไส้ใหญ่ไม่อาจย่อยมันได้สมบูรณ์ ซึ่งถั่วนั้นมีคาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อนชื่อว่าโอลิโกแซกคาไรด์(Oligosaccharides) ซึ่งลำไส้เล็กย่อยได้ไม่หมดจึงต้องผลักดันให้ลำไส้ใหญ่ต่อไป และเมื่อมันไปพบปะกับแบคทีเรียในลำไส้ใหญ่เข้าก็เกิดการย่อยและเกิดแก๊สตามมา ซึ่งแต่ละคนก็มีการตดมากน้อยต่างกันไปตามปริมาณและชนิดของแบคทีเรียในลำไส้
อย่างไรก็ตามถั่วนั้นมีประโยนช์ต่อร่างกาย แต่หากใครกลัวตดต่อหน้าประชาชนคนมากมายก็อาจต้องเลือกเวลากินกันหน่อย...
โฆษณา