24 ม.ค. 2020 เวลา 12:09 • ธุรกิจ
เราจะรับมือ คลื่นแห่ง e-commerce ได้อย่างไร??
ต้องบอกว่าชั่วโมงนี้ การซื้อของผ่านช่องทางออนไลน์ ได้เข้ามาเปลี่ยนพฤติกรรมของคนเป็นอย่างมาก
2
เราสามารถสั่งของได้ทุกอย่างง่ายๆ เพียงปลายนิ้ว แต่ผู้ให้บริการส่วนใหญ่ เป็นชาวต่างชาติ (โดยเฉพาะจีน)
ซึ่งการที่เราจะวางแผนรับมือ ได้ถูกต้องนั้น สิ่งที่สำคัญอย่างยิ่งก็คือ การทำความเข้าใจในสิ่งที่กำลังเกิดขึ้น และมองเห็นเทรนด์ในอนาคต
แอดมินได้มีโอกาสมาฟัง คุณภาวุธ เจ้าพ่อ e-commerce บรรยาย ได้เห็นภาพมากๆ ฟังแล้วรู้สึกกลัว กับโลกที่กำลังเปลี่ยนแปลงไป
1
แต่อีกด้าน ก็เป็นสิ่งที่บีบ ให้เราต้องเร่งปรับตัว!
บทความนี้ จึงเป็นการสรุปประเด็นสำคัญ มาแชร์เพื่อนๆ...
หากพร้อมแล้วไปติดตามกันเลย
ภาพรวม e-commerce ไทย มูลค่าปี 2561 ทั้งสิ้น 3.15 ล้านล้านบาท โดยสัดส่วน B2B 1.7 ล้านล้านบาท B2C 0.9 ล้านล้านบาท และ B2G 0.6 ล้านล้านบาท
โดยปีนี้ธุรกิจอาหารจะเติบโตอย่างรุนแรงมาก ส่งอาหารออนไลน์ จะมีการลงทุนในระบบ Cloud Kitchen อีกเยอะ คือ เปิดครัวกลาง ตามจังหวัดต่างๆ ทางแบรนด์ ก็สามารถส่งพ่อครัวแม่ครัว ไปทำอาหารได้
เช่น ผัดไทยประตูผี อาจไปขายที่เชียงใหม่ ผ่าน Cloud Kitchen ก็เป็นไปได้
ตรงจุดนี้สำคัญ คือ ร้านอาหารต้องมีแบรนด์แข็งแรง
1
และต่อไปนี้คือ 12 เทรนด์ ของ e-commerce ที่กำลังมาแรงในปี 2020 นี้
1
1. JSL กำลังทำรายได้เพิ่มมากขึ้น
ตัวย่อที่เราต้องรู้จัก คือ "JSL"
J - JD Central
S - Shopee
L-Lazada
Shopee เริ่มเก็บค่าธรรมเนียม 2% และจะค่อยๆ เพิ่มค่าธรรมเนียม ทำให้พ่อค้าแม่ค้า เตรียมตัวต้นทุนเพิ่มได้
สวนทางการ Lazada ที่เอาโมเดลจีนใช้ ลดค่าธรรมเนียม! เลียนแบบ Taobao
Lazada ขาดทุนรวมกันย้อนหลัง 5 ปีเกือบๆ หมื่นล้านบาท, Shopee ขาดทุนปี 2561 กว่า 4 พันล้านบาท, ส่วน JD ขาดทุน 9 ร้อยกว่าล้าน
ปัจจุบันแต่ละเจ้า จะเริ่มลงทุนระบบขนส่งเพิ่มขึ้น โดย Lazada ก็เงินทุนหนา ลงทุนมาอย่างต่อเนื่องก่อนคู่แข่ง
1
2. สงคราม e-wallet
ยอดใช้งานกระเป๋าเงินอิเล็กทรอนิกส์ ในไตรมาสแรก ไตรมาสเดียว ของปี 2562 สูงถึง 67,000 ล้านบาท รวมกว่า 473 ล้านรายการ
เทียบกับปี 2560 ทั้งปี 126,000 ล้านบาท หรือโตขึ้นกว่า 4 เท่า ใน 2 ปี เท่านั้น!!
กลุ่มที่มีพลังสูงสุด ก็ยังเป็น "Bank Wallet" เพราะว่าเป็นกระเป๋าเงิน ที่เราๆ ท่านๆ ใช้รับเงินเดือน ซึ่งจุดนี้ประเทศไทยแตกต่างจากประเทศจีนมากๆ เพราะ Bank Wallet ที่จีนคุณภาพแย่ สู้ Alipay หรือ WeChat pay ไม่ได้
คุณภาวุธ คิดว่าผู้ชนะในไทย ก็คือ กลุ่ม Bank Wallet โดยธนาคารในไทย ก็พยายามทำตัวเป็น Super App หรือ Everyday App ซึ่งใครได้ข้อมูลไป จะเป็นผู้ชนะ
3. การแข่งขันด้าน โลจิสติกส์ ของ e-commerce
การแข่งขันรุนแรงมาก จริงๆ แล้วบริษัทใหญ่ก็อยู่เบื้องหลัง บริษัทจนส่งใหม่ๆ หลายเจ้า เช่น Alibaba สนับสนุนทั้ง Best Inc., Flash express
ส่วน Lalamove ใช้กลยุทธ์อยู่เบื้องหลังสนับสนุน แพลตฟอร์มใหญ่ๆ เช่น ส่งอาหารให้ LINE MAN
4. Fulfilment หรือบริการแพ็ค-ส่งของ กำลังเติบโต
เนื่องจากพ่อค้าแม่ค้าออนไลน์ โตมากขึ้น จะแพ็คเองก็ไม่สะดวก ก็เลยมีผู้ให้ช่วยแพ็ค ส่งสินค้าให้
Lazada, Shopee เองก็เปิดให้บริการ Fullfilment ของตัวเอง แต่ข้อจำกัดก็คือ ส่งได้เฉพาะเจ้าใครเจ้ามันนะ
Bonded warehouse เชื่อมระบบ Warehouse ไปต่างประเทศได้ คนที่ทำ e-commerce ในระดับท้องถิ่นเก่งแล้ว น่าจะลองมองไปตลาดต่างประเทศ
1
5. Brand กระโดดเข้ามาทำ e-commerce
JSL ทุกเจ้า เริ่มเปิด Mall ของตัวเอง ทำให้ Brand Owner สามารถขายสินค้าตรงถึงผู้บริโภคได้ ไม่ต้องผ่านยี่ปั๊ว ซาปั๊ว ทำให้สามารถลดต้นทุน เลยทำโปรโมชั่น ลดราคาได้ แบบนี้คนกลางจะตาย
(ต้องบอกว่าคนกลางเปลี่ยนรูปแบบกลายเป็นคนกลางกลุ่ม JSL แทน)
2
ที่สำคัญคือ Brand Owner ได้ข้อมูลลูกค้าว่าใครซื้อสินค้าด้วย ทำให้เข้าใจลูกค้ามากขึ้น กว่าการขายผ่านตัวกลางแบบเดิมๆ
Channel conflict เป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ คือ Brand ขายแข่งกับตัวแทนจำหน่ายตัวเอง
6. การเติบโตของ Cross Border
มอง 2 มุม คือ ส่วนของ Out-bound คือส่งออก และส่วนของ In-bound สินค้าต่างประเทศทะลักเข้าไทย
1
ในส่วน In-bound พวก JSL เหล่านี้ ยังเปิดให้พ่อค้าต่างประเทศขายสินค้าตรงเข้ามาในไทยด้วย!
ข้อมูลจาก PriceZa สินค้าจากจีนเข้ามาไทยทาง e-commerce เพิ่มจาก 60 ล้านชิ้น ในปี 2561 เป็น 135 ล้านชิ้น ปี 2562 โดยสินค้าเหล่านั้น 77% มาจากพ่อค้าจีนเพียง 81,000 รายเท่านั้น
และมีกราฟหนึ่ง น่ากลัวมาก สินค้าจีนกำลังถล่มสินค้าแฟชั่น มือถือ อิเล็กทรอนิกส์ อุปกรณ์กีฬา
ส่วนที่ยังต้องการความเป็น Local เช่น อาหาร สุขภาพ ความงาม คือของมี อย. คนไทยยังแข่งขันได้
น่ากลัวกว่านั้น ของจากจีน มาไทย เร็วขึ้นเยอะ จาก 12 วัน เหลือเพียง 5-6 วัน! และราคาสินค้าก็ถูกลงต่อเนื่อง โดยสาเหตุเนื่องมาจาก
1. สินค้ามาจากโรงงานโดยตรง มาร์จิ้นสูงมาก
2. ส่งจากจีนมาเป็น Bulk pallet ใหญ่ ราคาส่งคิดเหมาตัน เข้าในไทย มีบริษัททำ Dispatch
1
จริงๆ แล้ว ธุรกิจ e-commerce จุดที่ชี้เป็นชี้ตายคือ จำนวนสินค้าในระบบ ยิ่งมีสินค้าหลากหลาย เท่าไหร่ ยิ่งมีโอกาสที่ลูกค้าจะเลือกใช้บริการ โดยหากเรามองในภาพใหญ่ ปัจจัยที่สินค้าจีนทะลักเข้ามามากขึ้นเรื่อยๆ ก็คือ
1. การแข่งขันของ JSL สินค้าหลากหลาย
2. รัฐบาลไทย สนับสนุน เพราะกลัว Alibaba ไปมาเลเซีย
3. ผู้บริโภคต้องการของถูก
1
ตัวเลขสำคัญ คือ คนซื้อสินค้าออนไลน์ 44% กทม., 56% คนต่างจังหวัด ที่น่ากังวล คือ กำลังซื้อต่างจังหวัด จะลดลง เพราะเงินส่วนหนึ่ง ไหลเข้าระบบออนไลน์ เงินไปจีน ถูกสูบออกจากระบบ!!
ร้านโชว์ห่วย ต่างจังหวัด ของแพง ตัวเลือกไม่เยอะ เจอ JSL เข้าไป สู้ไม่ได้แน่นอน รอวันเจ๊ง! เศรษฐกิจชุมชนกำลังจะพัง!!
หากมองอีกด้านหนึ่ง คือ ฝั่งส่งออก หรือ Outbound Cross-border
เหมาะกับผู้ที่มีแบรนด์สินค้าของตัวเอง ทั้ง Amazon ขายเข้า US, Singapore เอาของไปกองให้เค้าจัดการให้ได้เลย แต่ก็ต้องดูว่ามีคนซื้อไหม?
แพลตฟอร์มอื่นๆ ก็มีอีกเยอะ เช่น E-bay , Wish.com, Rakuten
(แอดมินแนะนำ ให้ลองศึกษา Thaitrade.com จัดทำโดยภาครัฐ สนับสนุนสินค้าไทย ไปทั่วโลก ใครสนใจ ทักแอดมินมาคุยกันได้นะ)
คุณภาวุธ กำลังทำแบรนด์สินค้า ไปขายที่จีนเหมือนกัน โดยหากใครจะไปจีน มีคำแนะนำคือ ให้จดยี่ห้อ Trademark ตราสัญลักษณ์ รอไว้ก่อน เพราะว่าแบรนด์ดังๆของไทย ทางคนจีนจดรอไว้ล่วงหน้าแล้ว
7. การค้าผ่าน Social Commerce ผ่าน Social Ads
กาค้าในไทย ผ่าน Social commerce มูลค่ากว่า 320,000 ล้านบาท ขณะที่แพลตฟอร์ม e-marketplace เพียง 110,000 ล้านบาท แต่ marketplace ก็พยายามตีตื้น
พ่อค้าแม่ค้ามือใหม่ที่ยังไม่มีฐานลูกค้า ก็ลองเข้าไปอยู่ในกลุ่มเฟสบุ๊ก ในห้องที่มีคนเยอะๆอยู่แล้ว แล้วแชร์ไลฟ์ขายของไปในกลุ่ม (ต้องดูว่าแอดมินอนุญาตด้วยหรือไม่)
1
8. Live & Conversational Commerce
คนชอบดูไลฟ์มากขึ้น และก็มีแพลตฟอร์ม e-commerce เข้ามาเริ่มทำมากขึ้นเช่น ไลฟ์ขายของบน Lazada, Shopee ทำให้คนขายโน้มน้าวลูกค้าได้
1
เทคนิคการไลฟ์ให้ได้ผล
1. มีคาแรกเตอร์ชัดเจน - เรื่องธรรมดาคนไม่จำ
2. วางแผนล่วงหน้า มีสคริป มีธีม - เช่น ฮาซันไลฟ์ ไม่เกิน 30 นาที
3. มีเวลาออกอากาศ ที่ชัดเจน บอกล่วงหน้า - จะไลฟ์ช่วงเวลาไหน ขึ้นกับกลุ่มเป่าหมาย
4. เนื้อหาน่าสนใจ พูดจามีน้ำหนัก
5. อธิบายสินค้า และบริการแบบลงลึก มีอารมณ์ ความรู้สึก (Over Acting)
6. ทักทายผู้ชม
7. ชวนคนแชร์ แล้วแจกของ (ให้แคปหน้าจอ)
8. วางสินค้าเพื่อดึงดูด ให้โดดเด่น น่าสนใจ
9. มีโปรโมชั่นในการดึงดูด (โอนเงิน 3 คนแรก)
10. กระตุ้นให้เค้ารู้สึกว่า สามารถซื้อให้คนอื่นได้ (แม่ฉันต้องได้กินกุ้ง)
2
แต่ก็คนเริ่มไลฟ์เยอะ คุณภาวุธก็น่าเป็นห่วงคุณฮาซัน เหมือนกัน คงต้องหาอะไรแปลกๆใหม่ๆ
9. ข้อมูล e-commerce นำไปสู่ธุรกิจอื่นๆ
มีการจับมือกันมากมาย ระหว่าง e-commerce กับ ธนาคารต่างไป
คนมีข้อมูลได้เปรียบ โดย Big Data มีคุณค่า ไม่เฉพาะกับบริษัทใหญ่เท่านั้น
ยกตัวอย่าง ร้านอาหารตามสั่งเล็กๆ ก็ใช้ Big Data เก็บ้ขอมูล 1 อาทิตย์ ได้ข้อมูลว่า การทำผัดกะเพราหมู 1 จาน ใช้เวลา 3 นาที นานไป ไข่ดาว ก็ต้องรอสั่งค่อยทอดเสียเวลา
กะเพราหมูก็ Pre-cook เอาไว้ก่อน ลดเวลา ผัดจาก 3 นาที เหลือ 1 นาที ส่วนไข่ดาวก็ทอดไว้ก่อน ทำให้ Turnover เร็วขึ้น คนออกจากร้านเร็วขึ้น ยอดขายเพิ่มขึ้น
10. ยุคของ e-commerce เฉพาะทาง หรือ Vertical e-commerce
การจับตลาดเฉพาะจะทำให้โดดเด่น เช่น Konvy, Pomelo, Noc-Noc, Builk
Lazada กำลังทดลอง Youpik ซึ่งก็คือ group buying รวมกลุ่มกันซื้อ ทำให้ได้ของถูกลง เกิดการซื้อและแชร์ออกไป
11. Omni Channel
การผสานช่องทางทั้ง ออนไลน์และออฟไลน์
ตัวอย่างเช่น JiB ขายคอมพิวเตอร์ มีทุกช่องทาง ทั้งร้านค้า, website, เฟสบุ๊ก โดยยอดขายออนไลน์ เติบโตสูงมาก และยังเปิดให้บริการ 3 ชั่วโมงส่งถึงที่
อีกตัวอย่างคือ 7-eleven ที่เรารู้จักกันดี ออนไลน์ ก็มี 24 Shopping เปิดขายในจีนด้วย
12. กฎหมายด้านดิจิทัล ออกมาครบชุด
1
มี 6 กฎหมายด้วยกัน
หนึ่ง พรบ. ภาษีอีเพย์เมนต์
อันนี้เลื่อน โล่งอกกันไป
สอง พรบ. ภาษี e-Business (on process)
ประเทศไทยจะเริ่มเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม จากบริการออนไลน์ ในต่างประเทศ ซึ่งทางมาเลเซีย ประกาศใช้แล้ว
สาม พรบ. ว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์
เอกสารออนไลน์เอามาใช้เป็นหลักฐานในขั้นศาลได้
สี่ พรบ.ว่าด้วยการกระทำผิดคอมพิวเตอร์
ห้า พรบ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
กำลังจะบังคับใช้ หากลูกค้าไม่ยินยอม แต่ผู้ให้บริการเอาไปใช้โทรหาลูกค้า ส่งอีเมล ถือว่าผิด
หก พรบ.ว่าด้วยการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์
อันนี้เกี่ยวข้องกับคาามมั่นคงของรัฐ ซึ่งกากเจ้าหน้าที่ จะใช้อำนาจต้องผ่านศาลก่อน
Bonus!
1. ข้อมูลงบประกอบการ กำไรขาดทุนของบริษัท นอกจากดูใน DBD ได้แล้ว ทางคุณภาวุธ เองก็ตั้ง Startup ของตัวเอง ชื่อ Creden.co เอาไว้ดูข้อมูลบริษัทต่างๆได้หลายมิติมากๆ
เราสามารถใช้ข้อมูลใน Creden.co เพื่อวิเคราะห์ข้อมูลเครดิตของคู่ค้าได้แบบง่ายๆ (ใช้ฟรีนะ ลองใช้กันดูได้เลย)
2. สำหรับคนที่อยากเริ่มธุรกิจใหม่ ลองไปดูขั้นตอน แนวทางตั้งเป้าหมายธุรกิจ และเครื่องมือต่างๆ ลองดูบทความนี้ได้เลย
1
3. Voice commerce
พวกอุปกรณ์อัจฉริยะ สั่งงานด้วยเสียง ทั้งของค่าย Amazon, Google, Apple, และค่ายจีน จะเข้ามาเกี่ยวพันในชีวิตเรา สั่งของ เป็นเทรนด์ ที่ต้องศึกษาเอาไว้ เรากำลังเข้าสู่ยุค Internet of Things (IoT) กันแล้ว
4. การมาถึงของ 5G
จะทำให้ลูกค้าหลักของ Mobile Operator (AIS, DTAC, True) ไม่ใช่คนอีกต่อไป กลายเป็นเครื่องจักร จำนวนข้อมูลมากมายมหาศาล
5. รับมือคนจีน ทำอย่างไรดี??
(ดูรูปประกอบ)
6. จุดอ่อนของ SMEs ไทย??
คือ ไม่ทำ สักที ต้องเริ่มทำเลย ถึงจะมีโอกาสสำเร็จ
การเปลี่ยนแปลงทุกอย่าง ก็มองเป็นได้ทั้งภัย และโอกาส แต่สำหรับผู้บริหารและเจ้าของธุรกิจ ที่มีโอกาสถูกเทคโนโลยีมา Disrupt หรือทำลายล้าง ก็ไม่ควรนิ่งนอนใจ
1
บางคนอาจบอกว่ามองเป็นโอกาส ก็ค่อยๆ คิด ค่อยๆ ดู ค่อยๆ ปรับตัวไป?
แต่จริงๆ แล้ว เจ้าของธุรกิจ ควรให้ความสำคัญ และมองการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีเป็น "ภัยอันตราย" เพื่อให้ทั้งบริษัทตื่นตัว และเร่งปรับตัว...
ปรับวันนี้ ก่อนที่จะสายเกินไป!
ก็ต้องขอขอบคุณ คุณภาวุธ และแบงค์กรุงเทพ สำหรับงานสัมนนาดีๆ แบบนี้
💡ไม่อยากพลาดข้อมูลสำคัญเกี่ยวกับการค้าระหว่างประเทศ และกลยุทธ์ทางธุรกิจ
กดติดตาม "นำเข้าส่งออก สุดขอบฟ้า"
1
และ เชิญเข้าร่วมกลุ่มผู้นำเข้าส่งออก ได้ที่

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา