24 ม.ค. 2020 เวลา 13:24 • ธุรกิจ
หนีกับดักประเทศรายได้ปานกลางด้วย "Sense of Survival"
สัญชาติญาณที่ติดตัวอยู่ในมนุษย์ทุกคน คือ สัญชาติญาณเพื่อความอยู่รอด (Sense of Survial : SS.) มนุษย์สามารถดำรงค์เผ่าพันธุ์ให้ดำรงค์อยู่มาได้
จากยุคหินมาจนถึงยุคเทคโนโลยี ก็เพราะการใช้สัญชาติญาณดังกล่าว
คิดค้น สร้าง หรือ ประดิษฐ์ เครื่องมือรวมไปถึงองค์ความรู้เพื่อให้อยู่รอด
หรืออยู่ร่วมกับธรรมชาติ ซึ่งถ้ามนุษย์เราไม่รู้จักนำเอาสัญชาติญาณ
การเอาตัวรอดมาใช้ เราก็คงไม่ต่างจาก ไดโนเสาร์
ตัวอย่างของ sense of survival ถ้าถอยไปตั้งแต่ยุคหิน เช่น การทำขวานหินใช้ล่าสัตว์ มาจนถึงการทำลูกดอกอาบยาพิษ การทำกับดักล่าสัตว์
มนุษย์สะสมองค์ความรู้และพัฒนามากขึ้น ก็รู้จักวิธีที่จะอยู่ร่วมกับธรรมชาติ
(เราไม่มีทางเอาชนะธรรมชาติได้) จึงกลายเป้นการรู้จักใช้คอนกรีตสร้างที่
อยู่อาศัยให้แข็งแรงทนลม ทนฝน ทนแดดร้อน
ตัวอย่างข้างต้นเป็นสัญชาติญาณระดับปัจเจก ถ้าขยับขึ้นมาให้เห็นเป็นระดับ องค์กร (corporate) รวมไปถึงระดับประเทศ มีให้เห็นมากมาย เช่น
เนเธอแลนด์ ดินแดนกังหันและดอกทิวลิป ที่มีแผ่นดิน 60% ของประเทศอยู่ต่ำกว่าระดับน้ำทะเล จึงคิดค้นหาวิธีการที่จะอยู่ร่วมกับธรรมชาติให้ได้
ก็ใช้ SS. เป็นแรงขับเคลื่อนจนเกิดโครงการ Delta Works อันน่าทึ่งซึ่งเป็น
โครงการป้องกันน้ำท่วมที่ รัฐบาลจากหายประเทศทั่วโลกต้องไปศึกษา
ดูงาน
Delta Works โครงการป้องกันน้ำท่วมทั้งเนเธอร์แลนด์
สิงคโปร์ เป็นอีกประเทศที่จะไม่กล่าวถึงไม่ได้เลย หากพูดถึงการเอาตัวรอด
นับจากถูกขับออกจากสหพันธ์รัฐมาลายา ในปี 2508 ทำให้ มีผู้คนถูกขับรวมถึงอพยพให้ออกจาก มาเลเชียไปอยู่เกาะที่ไม่มีทรัพยากรธรรมชาติอะไรเลย ซึ่งใครจะไปคิดว่า วันหนึ่งจากประเทศที่ไม่มีอะไรสักกะอย่าง กลับกลายเป็นประเทศที่มีความเจริญก้าวหน้าแซงหน้าประเทศเพื่อนบ้านในภูมิภาคเดียว
กัน สิงคโปร์จากประเทศที่ต้องนำเข้าน้ำจืดจาก มาเลฯ ก็สามารถผลิตน้ำจืด
เองได้ , ไม่มีทรัพยากรธรรมชาติให้ส่งออก แต่สามารถพัฒนาสินค้าบริการ
เช่น ระบบบริหารจัดการเมือง (smart city) , ส่งออกคนที่มีคุณภาพไป
ทำงานในประเทศต่าง ๆ
ลี กวนยู อดีตนายกรัฐมนตรีคนแรกของ สิงคโปร์
เยอรมัน ญี่ปุ่น จากประเทศแพ้สงครามต้องจ่ายค่าปฏิกรรมสงคราม ด้วย
จำนวนเงินมากมาย แต่จะไปหาเงินจากไหนได้ สุดท้ายแรงขับจาก SS ทำ
ให้ทั้งสองประเทศเป็นผู้ส่งออกเทคโนโลยีไปทั่วโลก
เยอรมันเจ้าแห่งวิศวกรรมเครื่องกล
การพัฒนาอย่างต่อเนื่องของญี่ปุ่น
หันกลับมามองประเทศไทย โดยเฉพาะภาคธุรกิจซึ่งเป็นหัวหอกสำคัญใน
การขับเคลื่อนประเทศ ทุกวันนี้ไทยมีรายได้หลักจากการส่งออกและ
การท่องเที่ยว สินค้าหลักที่ส่งออกคือ สินค้าเกษตรแปรรูป และ สินค้าที่รับ
จ้างผลิต (OEM.) จากเจ้าของเทคโนโลยีที่อยู่ต่างประเทศ
https://www.efinancethai.com/Advertorial/AdvertorialMain.aspx?name=ad_201901241159
จากภาพ 10 อันดับสินค้าส่งออกของไทย ลองมาวิเคราะห์และวิพากษย์กัน
ว่า 2 อันดับแรกที่มีมูลค่าส่งออกเป็น ล้านล้านบาท ..."เราส่งออกเทคโนโลยีของเราเองหรือเปล่า" ? .......คำตอบคือ "ไม่" เราผลิตรถยนต์ส่งออกมาก
เป็นอันดับต้นๆของโลก และเป็นที่ 1 ของอาเซียน แต่.....เทคโนโลยี
เครื่องยนต์ หรือ คนคิดค้น คือ "ญี่ปุ่น" .....คอมพิวเตอร์/ แผงวงจรต่าง ๆ ที่ใช้ในเครื่องใช้ไฟฟ้า smartphone ถามว่าไทยเราคิดค้นนวัตกรรมเองใช้หรือไม่ คำตอบคือ "เปล่า" เป็น USA. , เกาหลีใต้, ญี่ปุ่น, ไต้หวัน.....ประเทศไทยมีหน้าที่ "ผลิตตามสั่ง" ส่นเทคโนโลยีการผลิต เครื่องจักรต่าง ๆ ถูกถ่ายทอดมาจากประเทศผู้จ้างผลิต
สิ่งที่จะเน้นย้ำให้คิดไม่ใช่ด่าประเทศ คือ "เมื่อไรเราถึงจะมีเทคโนโลยีเป็น
ของตัวเอง" ถ้าเรามีเป็นของตนเอง สินค้าส่งออกของเราจะไม่ใช่แค่ รถเป็นคัน คอมพิวเตอร์เป็นเครื่อง แผงวงจรเป็นอัน แต่เราจะ "ส่งออก knowhow" ซึ่ง จะเพิ่มมูลค่าให้กับการส่งออกเป็นหลายเท่าตัว
เคยได้แลกเปลี่ยนพูดคุยกับผู้จัดการโรงงานชาวญี่ปุ่นและวิศวกรคนไทย สิ่งที่ "ขำไม่ออก" คือ คนญี่ปุ่นตั้งคำถามว่า ประเทศไทยจะเรียนวิศวกรรมไปถึงระดับปริญญาตรีทำไมในเมื่อ เรียนจบออกไปก็ไปทำงานกับ เทคโนโลยีที่
ไม่ใช่ของตนเอง!!! ใช่ เพราะเราไม่มีเทคโนโลยีเป็นของตัวเองจริงๆ
เชื่อว่าคนไทยหลายคนไม่เคยรู้ว่า เราเคยมีรถยนต์ที่เป็นเทคโนโลยีของคน
ไทยเอง เป็นรถกระบะยี่ห้อ VMC ...อยากรู้รายละเอียดเพิ่มเติม ให้ไปหาดู
จาก youtube รายการ สามัญชนคนไทยของ คุณซัน มาโนช พุฒตาล
https://rabbitfinance.com/blog/vmc-pickup
เชื่อว่าในยุคที่ธุรกิจถูก disrup จากความก้าวหน้าของเทคโนโลยี ผู้ประกอบธุรกิจในประเทศไทยมีการตระหนักและหาทางปรับตัวให้ตัวเองอยู่รอด ซึ่งผู้บริหารทุกคนใช้พลังจากภายใน โดยอาศัยแรงขับจาก sense of survival
https://disruptionhub.com/five-stage-tech-disruption/
สิ่งที่นำไปสู่คำถามสุดท้ายเชิงวิพากษ์ก็คือ "อะไรคือ อุปสรรคที่ขัดขวางการส่งออก sense of survival ของประเทศไทย? ......คุณภาพของคน? ,
การสนับสนุนของภาครัฐ?, มัวแต่เล่นการเมือง? หรือ .... ?
ถ้าเราขจัดอุปสรรคเหล่านี้ออกไปได้ คำว่าประเทศรายได้ปานกลางคงจะไม่มีชื่อ Thailand อยู่ในสารบบนั้น
โฆษณา