Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
เทรดมั่วทัวร์ดอย
•
ติดตาม
26 ม.ค. 2020 เวลา 11:42 • การศึกษา
“Financial statement”
CASHFLOW - Classic : [เทรดมั่วทัวร์ดอย]
EP.3 - “Financial statement”
CASHFLOW - Classic : [เทรดมั่วทัวร์ดอย]
สวัสดีเพื่อนๆชาว BD ทุกท่าน กับวันหยุดท่ามกลางความหวาดกลัวจาก coronavirus ทางผมเพจ [เทรดมั่วทัวร์ดอย] ก็ได้แต่หวังว่า เราจะสามารถผ่านเหตุการณ์เลวร้ายครั้งนี้ไปได้ภายในเร็ววัน และก็อยากให้เพื่อนๆรักษาสุขภาพกันด้วยนะครับผม
สำหรับวันนี้ ผมจะพากลับมาต่อกันที่เกม CASHFLOW กัน ซึ่งจาก Ep. ก่อน ผมได้มีการพูดถึงกติกา และส่วนประกอบของเกมคร่าวๆไปแล้ว
วันนี้ก็จะขอเข้ามาสู่อีกหนึ่งเรื่องสำคัญของเกม นั่นก็คือการดู Financial statement หรืองบการเงินบุคคลของผู้เล่นกันครับ ว่าแต่ละส่วนคืออะไร มีความสัมพันธ์กันอย่างไรบ้าง มาเริ่มกันเลยครับ
เมื่อเกมเริ่มขึ้น เราสามารถเข้าสู่การดู financial statement ได้ ด้วยการกดชื่อเมนูล่างซ้ายของจอได้เลยครับ
การเข้าเมนู Financial Statement
เมนู financial statement จะประกอบมาจาก 2 งบหลักๆ ได้แก่ งบการแสเงินสด และงบดุลส่วนบุคคลครับ
งบกระแสเงินสดและงบดุลส่วนบุคคล
ผมขอเริ่มตรง”งบกระแสเงินสด”ก่อนเลย โดยงบกระแสเงินสด จะมีชื่อที่เราเข้าใจง่ายๆ คือ งบ"รายรับ-รายจ่าย"
จากแนวคิดของเกมนี้ การที่ผู้เล่นวิ่งอยู่บนวงล้อหนู เปรียบเหมือนการทำงานที่ต้องเอาแรงกาย แรงใจ เอาเวลาเพื่อได้มาซึ่ง "เงินเดือน" อีกทั้งทุกคนล้วนมีค่าใช้จ่ายต่างๆเกินขึ้นมากมาย
ซึ่งสิ่งแรกที่เราต้องทำเพื่อให้หลุดออกจากวงล้อหนูได้ นั่นก็คือการบริหารรายรับ-รายจ่าย ให้เงินเหลือต่อเดือน เป็น"บวก"ให้ได้ก่อน
โดยในเกม จะจำลองรายได้-รายจ่าย และเริ่มให้ผู้เล่นมีเงินเหลือเป็นบวกอยู่แล้วครับ
ในเกมนี้ ผมได้มีการสวมบทบาทเป็นอาชีพ"ทนายความ" ด้วยแฮะ มาดูต่อกันเลยครับ
รายรับ - รายจ่าย = payday
อาชีพของผม มีข้อมูลพื้นฐานคือ
รายได้จากการทำงานที่ 7,500$
ค่าใช้จ่ายรวมที่ 5,030$ และ
มี payday (เงินเหลือ) ที่ 2,470$
แปลว่าทุกๆ รอบที่ผมเดินผ่าน ฃ่อง "Payday" ในกระดาน ผมจะมีเงินสดในประเป๋าเพิ่มขึ้น 2,470$ นั่นเองครับ
และการออกจากวงล้อหนูนี้ มีแนวทาง คือ การสะสมเงิน แล้วเอาเงินไปสร้างสินทรัพย์ แต่ต้องเป็นสินทรัพย์ที่สร้าง Cashflow ให้กับผู้เล่น ถ้าหากผู้เล่นสามารถสะสม Cashflow จนมากกว่ารายจ่ายได้เมื่อไหร่ ผู้เล่นก็จะสามารถหลุดออกจากวงล้อหนูได้
โดยรายจ่ายผมอยู่ที่ 5,030$ นี่จึงเป็นเป้าหมายที่ผมต้องสร้าง cashflow ให้มากกว่า 5,030$
ในส่วนของ”งบดุลส่วนบุคคล” จะแบ่งหน้าต่างออกเป็น 2 ส่วน คือ "สินทรัพย์" กับ "หนี้สิน"
สินทรัพย์ คือ สิ่งที่ผู้เล่นถือแล้วสามารถสร้างกระแสเงินสดหรืออาจจะมีราคาสูงขึ้นในอนาคตได้ แต่ด้านหนี้สินนั้น คือ สิ่งที่ทำให้ผู้เล่นเกิดรายจ่าย ซึ่งจะส่งผลต่อ payday ที่ลดน้อยลงไปด้วย
สินทรัพย์ในเกม Cashflow จะถูกแบ่งออกเป็น 2 แบบ ได้แก่
• หุ้น / กองทุน ซึ่งสินทรัพย์ส่วนนี้จะใช้เงินในจำนวนที่ไม่มากในการได้มา และก็เป็นสินทรัพย์ที่สร้าง Cashflow ให้กับผู้เล่นได้น้อยเช่นกัน โดยในเกม ผู้เล่นจะหาสินทรัพย์นี้ได้จากการเดินตกแอคชั่น "โอกาส" แล้วเลือก "โอกาสเล็ก - Small deals"
• อสังหาริมทรัพย์ / ธุรกิจ สินทรัพย์ประเภทนี้ อาจจะต้องมีเงินทุนที่สูงในการได้มา แต่ก็จะสร้าง Cashflow ที่สูงกับผู้เล่นเช่นเดียวกัน ผู้เล่นจึงพบเจอสินทรัพย์เหล่านี้ได้ผ่านแอคชั่น "โอกาสใหญ่ - Big deals"
ความสำคัญของการซื้อสินทรัพย์ คือ การสะสม Cashflow จากสินทรัพย์ให้มากเกินรายจ่าย ผู้เล่นจะสามารถหลุดออกจากวงล้อหนูได้
ส่วน"หนี้สิน"นั้น จะทำให้เกิดภาระดอกเบี้ยจ่าย ซึ่งเกมได้กำหนดหนี้สินของผู้เล่นแต่ละคนตามหน้าที่การงานอาชีพตั้งแต่แรกเริ่ม และหนี้สินเหล่านี้จะส่งผลกระทบไปยังรายจ่ายใน"งบกระแสเงินสด"เช่นกัน ดังรูป
หนี้สินกับรายจ่าย
กรณีผู้เล่นต้องการคืนหนี้ ก็จะทำให้รายจ่ายส่วนดอกเบี้ยจ่ายลดลงได้ครับ ทำให้ payday สูงขึ้น
แต่ตรงกันย้าม หากผู้เล่นกู้ยืมเงินเพิ่ม รายจ่ายดอกเบี้ยก็จะเพิ่มตามไปด้วย (แต่ต้องบอกไว้ก่อนนะครับ เกมนี้ดอกเบี้ยสุดโหด 10% ของเงินต้นเลย)
สรุปได้ว่า...
รายจ่ายที่ลดลง/เพิ่มขึ้น จะส่งผลต่อ payday ในทางตรงข้ามกัน อีกทั้งรายจ่ายรวมยังเป็นตัวกำหนดเป้าหมายในการหลุดออกจากวงล้อหนูให้สั่นลงหรือยาวขึ้น เงินหนี้สินจึงมีความสำคัญสำหรับเกมเช่นเดียวกัน
เชื่อว่ามาถึงต้องนี้ เพื่อนๆน่านึกภาพไม่ออกกันบ้างเนอะ งั้นผมขอยกตัวอย่างผ่านการเล่นเกมเลยละกันครับ
การเริ่มเกม ผู้เล่นสามารกด "Roll" เพื่อทำการทอยลูกเต๋าได้เลย และในเทิร์นของเรา ผู้เล่นสามารถเลือกที่จะ "คืนหนี้-Repay" หรือ "กู้ยืม-Borrow" ได้เช่นกัน
เริ่มเกมกันเล้ยย
มาดูกันที่การรับเงินเดือน
เมื่อผมเดินผ่านช่อง Payday ผมจะได้เงินสดในมือเพิ่มขึ้นมา +2,470$ ตามเงินเหลือจากรายรับ-รายจ่าย
เงินออกแล้ว
มาดูความสัมพันธ์ของหนี้สินและรายจ่ายจากดอกเบี้ยกันครับ
ถ้าผมอยากมี payday มากขึ้นครับ ผมก็ต้องหารายได้ ไม่ก็ลดรายจ่าย การหารายได้ คือ การสะสมเงิน แล้วเอาเงินไปซื้อสินทรัพย์ที่สร้างรายได้ (ส่วนนี้ผมจะพูด ใน EP หน้านะครับ) แต่คิดซะว่า ตอนนี้ผมไม่สามารถหารายได้เพิ่มได้ งั้นผมจะมาลองลดรายจ่ายกัน
เมื่อพิจารณาที่รายจ่าย พบว่าผมมีรายจ่ายที่เกิดจาก "Retail debt" และ "Credit card" เป็นรายจ่ายกว่า 230$ ต่อเดือน ด้วยมูลค่าหนี้สินอยู่ที่ 7,000$
เดี๋ยวผมจะลองเก็บเงินมาปลดหนี้ก้อนนี้กัน มาดูผลกันครับ..ว่าเราจะมี payday ที่มากขึ้นได้หรือไม่??
จ่ายหนี้เพิ่มpayday
เอื้อออ เดินไปได้ 3 เทิร์น เก็บเงินได้เพียง 2 เดือน ดันไปกดทีวีจอใหญ่ซะได้ โถ่วว "ของมันต้องมี!!" จริงๆ โดนไป 4,000$ เลยครับ T^T
TV จอใหญ่ T^T
เหลือเงินเก็บ 1,340$ กลับมาเริ่มต้นกันใหม่ ห้าๆๆ ไม่เป็นไร เก็บใหม่ก็ได้แว้ ฮึบๆๆ!!
เงินหาย 4,000$
เอิ้มม โดนอีกแล้ว -450$ วู้ววว -*-
อีกแล้ว ลาก่อย~ 450$
8 เทิร์นผ่านไป
เย้!! เก็บเงินได้ 8,300$ แล้วครับ งั้นลองมาลดหนี้ 7,000$ นี้กันดูครับ
การจ่ายหนี้ กด Repay > เลือกหนี้ที่ต้องการคืน > Pay ก็เป็นอันเสร็จครับ
วันนี้ที่รอคอย
มาดูผลจากการคืนหนี้กันครับ
แก้จาก 250$ เป็น 230$ นะครับ ><
เงินสดหายไป 7,000$ เพราะเป็นการนำเงินก้อนนี้ไปคืนหนี้เงินกู้ยืมครับ ผลที่ตามมา คือ ภาระดอกเบี้ยจ่ายก็จะลดลงเช่นเดียวกัน ส่งผลให้เงินเหลือต่อเดือน Payday ของผมสูงขึ้น +230$ จาก 2,470$ เป็น 2,700$
และที่สำคัญ เป้าหมายการสร้าง cashflow ก็ลดลงตามรายจ่ายที่ลดลงครับ ลดลงจาก 5,030$ เหลือ 4,800$
ในทางตรงกันข้าม ถ้าผมทำการกู้ยืมหนี้เพื่อหวังจะไปสร้างโอกาสในการเปิด โอกาสใหญ่ - bigdeals ผมก็จะต้องแบกภาระดอกเบี้ยจ่าย10% ของเงินกู้เช่นกัน
จะทำให้ payday ผมลดลง และเป้าหมาย cashflow ผมก็มากขึ้นตามรายจ่ายดอกเบี้ยเพิ่มขึ้น
กู้มา 20,000 ดูสิ๊
ตัวอย่างเช่น
ผมต้องการกู้เงิน 20,000$ ดอกเบี้ย 10% = 2,000$
เอื้อ ดอกเบี้ย 2,000$ เหลือ payday 700$
ผมจะได้เงิน 20,000$ มาอยู่ในเงินสดทันที
แต่จะถูกบันทึกดอกเบี้ยจ่าย 2,000$ เป็นรายจ่าย ทำให้ payday ต่อเดือนผมหายไป -2,000$ และเป็นการเพิ่มเป้าหมาย cashflow จาก 4,800$ เป็น 6,800$ ทำให้ผมหลุดออกจากวงล้อหนูนี้ได้ยากขึ้นอีกด้วย
คิดว่าเพื่อนๆ น่าจะพอเห็นภาพในส่วนองค์ประกอบของเกมในเมนู "Financial Statement" ที่นับว่าเป็นส่วนสำคัญที่สุดของเกม Cashflow ที่ผู้เล่นต้องทำความเข้าใจ และจะสามารถเอาแนวคิดเหล่านี้ มาปรับใช้ในชีวิตจริงได้อย่างแน่นอนครับ
เขียนมาถึงตรงนี้ คิดว่าคงจะยาวไปสักหน่อยละ งั้นผมขอจบ EP ไว้แต่เพียงเท่านี้ก่อนนะครับ
เป็นยังไงบ้างครับ เพื่อนๆได้มีการลองเล่นเกม CASHFLOW - Classic นี้แล้วบ้างหรือยังครับ เห็นแล้วน่าสนุกใช่ไหมหล้า!! ลองเอาไปเล่นกับเพื่อนๆดูได้นะครับ ผมเชื่อว่ามีประโยชน์อย่างแน่นอน
และใน EP. หน้า ผมจะมาเขียนในเรื่องเกี่ยวกับ "โอกาส" โอกาสทั้งเล็กและโอกาสใหญ่ ในการสร้างรายได้จากสินทรัพย์กันครับ รอติดตามกันได้เลย
Link เข้าเล่นเกม
richdad.com
CASHFLOW® Classic—How Quickly Can You Become A Millionaire?
Play the best online investing game—CASHFLOW® Classic—to plan your exit from the Rat Race… for free!
การสมัครเพื่อเข้าเล่นเกม
blockdit.com
เทรดมั่วทัวร์ดอย
″เริ่มต้น วนในวงล้อหนู” CASHFLOW - Classic : [เทรดมั่วทัวร์ดอย] EP.1 - ”เริ่มต้น วนในวงล้อหนู”
ถ้าชอบ กด Like กด Share และกดติดตามกันให้กำลังใจกันได้เลยครับ :))
เยี่ยมชม
blockdit.com
เทรดมั่วทัวร์ดอย
3.4K ผู้ติดตาม Economic Finance Business ศึกษาหาแนวทางแบบไม่ปิดกั้น เพื่อเอาตัวรอดและหาทางทำกำไรจากตลาดหุ้น “Trade Diary” #เทรดมั่วทัวร์ดอย
facebook.com
เทรดมั่วทัวร์ดอย
เทรดมั่วทัวร์ดอย. 78 likes. จะเทรดมั่วๆเพื่อทัวร์ทุกดอย
เยี่ยมชม
#เทรดมั่วทัวร์ดอย
1 บันทึก
6
5
5
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
CASHFLOW - Classic : [เทรดมั่วทัวร์ดอย]
1
6
5
5
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย